หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารความปลอดภัยตามหลักอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-GZQF-437A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารความปลอดภัยตามหลักอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้บริหารคลังสินค้า


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

   บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้บริหารงานคลังสินค้าซึ่งจะต้องกำหนดแนวทางการบริหารความปลอดภัยตามหลักอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ประเมินและทบทวนการบริหารความปลอดภัยตามหลักอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

1321 ผู้จัดการด้านการผลิต

1324 ผู้จัดการด้านการจัดหาและจัดส่งสินค้า



9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
510171 กำหนดแนวทางการบริหารความปลอดภัยตามหลักอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม

1.กำหนดแนวทางปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัย หลักอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามข้อกำหนดทางกฎหมายอย่างถูกต้อง

2. สร้างความร่วมมือในด้านความปลอดภัย หลักอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพ

510172 ประเมินและทบทวนบริหารความปลอดภัยตามหลักอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

1.นโยบายการป้องกันความปลอดภัย หลักอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างถูกต้อง

2. ทบทวนการจัดการปลอดภัย หลักอาชีว อนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน อย่างถูกต้องครบถ้วน


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. กำหนดแนวทางการบริหารความปลอดภัยหลักอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม

   1.1 สามารถกำหนดแนวทางปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัย หลักอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามข้อกำหนดทางกฎหมาย

   1.2 สามารถสร้างความร่วมมือในด้านความปลอดภัย หลักอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

2. ประเมินและทบทวนบริหารความปลอดภัยตามหลักอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

   2.1 สามารถนโยบายการป้องกันความปลอดภัย หลักอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

   2.2 สามารถทบทวนการจัดการปลอดภัย หลักอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความปลอดภัยในการทำงาน

2. หลักอาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน

3. กฎหมาย และข้อกำหนดด้านความปลอดภัยตามหลักอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

4. การบริหารด้านความปลอดภัย



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

   2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยตามหลักอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

   2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้

   3. เอกสารการนำเสนองานหรือการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความปลอดภัยตามหลักอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

   4. หนังสือ คู่มือ บทความ งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความปลอดภัยตามหลักอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    ประเมินเกี่ยวกับความปลอดภัยตามหลักอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

(ง) วิธีการประเมิน

   1.พิจารณาหลักฐานความรู้

   2.พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. กำหนดแนวทางปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัย หลักอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามข้อกำหนดทางกฎหมาย

   2. สร้างความร่วมมือในด้านความปลอดภัย หลักอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 

   3. กำหนดนโยบายการป้องกันความปลอดภัย หลักอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

   4. ทบทวนการจัดการปลอดภัย หลักอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล

  3. แฟ้มสะสมผลงาน

  4. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล

  3. แฟ้มสะสมผลงาน

  4. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ