หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานภายในคลังสินค้า

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-BZWW-435A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานภายในคลังสินค้า

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้บริหารงานคลังสินค้า


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

   บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้บริหารคลังสินค้า ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวางแผนการควบคุมการปฏิบัติการคลังสินค้า และการกำหนดแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหา


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

1321 ผู้จัดการด้านการผลิต

1324 ผู้จัดการด้านการจัดหาและจัดส่งสินค้า



9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
510151 วางแผนการควบคุมการปฏิบัติการคลังสินค้า

1.วางแผนการควบคุมการปฏิบัติการคลังสินค้าจากข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมได้อย่างถูกต้อง

2. ติดตาม และประเมินแผนการควบคุมการปฏิบัติการคลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

510152 กำหนดแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหา

1. ตรวจสอบ และวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

2. กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตมีการป้องกันอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการวางแผนการควบคุมการปฏิบัติการคลังสินค้า

  1.1 สามารถวางแผนการควบคุมการปฏิบัติการคลังสินค้า จากข้อมูลที่ได้จากการรวบรวม

  1.2 สามารถติดตาม และประเมินแผนการควบคุมการปฏิบัติการคลังสินค้า

2. ปฏิบัติการกำหนดแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหา

  2.1 สามารถตรวจสอบ และวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน

  2.2 สามารถกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต มีการป้องกันอย่างเป็นระบบ


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การบริหารจัดการคลังสินค้า

2. การบริหารความขัดแย้ง

3. การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน

4. การประเมินระดับความรุนแรงของปัญหา

5. การบริหารความเสี่ยง

6. การแก้ไขปัญหาและการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

   2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานภายในคลังสินค้า

   2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

   ประเมินเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางปฏิบัติงานภายในคลังสินค้า โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

   1. พิจารณาหลักฐานความรู้

   2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. วางแผนการควบคุมการปฏิบัติการคลังสินค้า เนื้อที่การเก็บรักษาเป็นทรัพยากรพื้นฐานของการจัดเก็บรักษาสินค้ากิจการคลังสินค้า ค่าใช้จ่ายในการรักษาและควบคุมเนื้อที่การเก็บรักษานับเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของต้นทุน ในการประกอบกิจการคลังสินค้า การปฏิบัติงานเก็บรักษาอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับการใช้เนื้อที่ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ด้วยการก่อให้เกิดต้นทุนในการยกสินค้าและการปฏิบัติอื่นอันเกิดกับงานเก็บสินค้าต่ำสุด การที่จะให้บรรลุผลดังกล่าวต้องมีการวางแผนเก็บรักษาอย่างดี โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้มาทำการวางแผนปฏิบัติงานรวมทั้งติดตามการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้ 

   2. กำหนดแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหาในการปฏิบัติงานได้อย่างเป็นระบบ เป็นการพิจารณาปัจจัยที่อาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาขึ้นในคลังสินค้า เช่น พื้นที่จัดเก็บ เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการขนย้ายสินค้า นอกจากนี้กำหนดแนวทางในการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล

  3. แฟ้มสะสมผลงาน

  4. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล

  3. แฟ้มสะสมผลงาน

  4. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ