หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการจัดเตรียมพื้นที่ภายในคลังสินค้า

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-DTNY-434A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการจัดเตรียมพื้นที่ภายในคลังสินค้า

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้บริหารคลังสินค้า


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

   บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้บริหารคลังสินค้า ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การวางแผนจัดผังพื้นที่ในคลังสินค้า ระบุสถานที่ตำแหน่งการจัดเก็บสินค้า และกำหนดรหัสสินค้าจากสินค้าจากผู้ส่ง


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

1321 ผู้จัดการด้านการผลิต

1324 ผู้จัดการด้านการจัดหาและจัดส่งสินค้า



9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
510141 วางแผนจัดผังพื้นที่ในคลังสินค้า

1.วางแผนกำหนดพื้นที่ในคลังสินค้าได้อย่างชัดเจน

2. กำกับ ดูแลการใช้พื้นที่ในคลังสินค้าได้อย่างถูกตรง ชัดเจน

3. ประเมินแผนการใช้พื้นที่ในคลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

510142 ระบุสถานที่ตำแหน่งการจัดเก็บสินค้า

1.วางแผนข้อมูลสินค้าที่จะรับเข้าคลังสินค้าอย่างถูกต้อง และเป็นระบบ

2. ประเมินสถานที่และตำแหน่งการจัดเก็บสินค้าอย่างถูกต้องและเพียงพอ

3.จัดการสถานที่และตำแหน่งการจัดเก็บสินค้าตามแผนการบริหารจัดการคลังสินค้าได้อย่างถูกต้อง

510143 กำหนดรหัสสินค้าจากสินค้าที่ได้รับการส่งมอบ

1.วางแผนข้อมูลรายการสินค้าเป็นระบบอย่างถูกต้อง ครบถ้วน

2. กำหนดรหัสสินค้าอย่างเป็นระบบ และถูกต้อง

3. ออกแบบคู่มือรหัสสินค้าได้อย่างถูกต้อง ง่ายต่อการนำไปใช้งาน


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการวางแผนจัดผังพื้นที่ในคลังสินค้า

1.1 สามารถวางแผนกำหนดพื้นที่ในคลังสินค้า

1.2 สามารถกำกับ ดูแลการใช้พื้นที่ในคลังสินค้า

1.3 สามารถประเมินแผนการใช้พื้นที่ในคลังสินค้า

2. ปฏิบัติการระบุสถานที่ ตำแหน่งการจัดเก็บสินค้า 

2.1 สามารถวางแผนข้อมูลสินค้าที่จะรับเข้าคลังสินค้า

2.2 สามารถประเมินสถานที่และตำแหน่งการจัดเก็บสินค้า

2.3 สามารถจัดการสถานที่และตำแหน่งการจัดเก็บสินค้าตามแผนการบริหารจัดการคลังสินค้า

3. ปฏิบัติการกำหนดรหัสสินค้าจากสินค้าที่ได้รับการส่งมอบ

3.1 สามารถวางแผนข้อมูลรายการสินค้าเป็นระบบ

3.2 สามารถกำหนดรหัสสินค้าอย่างเป็นระบบ

3.3 สามารถออกแบบคู่มือรหัสสินค้า


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การจัดผังพื้นที่ในคลังสินค้า

2. การกำหนดรหัสสินค้า

3. คุณสมบัติเฉพาะของสินค้า

4. การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการกำหนดรหัสสินค้า

5. การจัดเก็บสินค้า



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

   2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมพื้นที่ภายในคลังสินค้า

   2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

   ประเมินเกี่ยวกับการวางแผนการจัดเตรียมพื้นที่ในคลังสินค้า โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

   1. พิจารณาหลักฐานความรู้

   2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. วางแผนการจัดผังพื้นที่ในคลังสินค้า เนื้อที่การเก็บรักษาเป็นพื้นฐานของการจัดเก็บรักษาสินค้าของกิจการคลังสินค้า ค่าใช้จ่ายในการรักษาและควบคุมเนื้อที่การเก็บรักษาก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งของต้นทุน ในการปฏิบัติงานเก็บรักษาอย่างมีประสิทธิภาพนั้นก็ขึ้นอยู่กับการใช้เนื้อที่ที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด การที่จะทำให้เกิดผลดังกล่าวได้นั้นจำเป็นจะต้องมีการวางแผนกำหนดการใช้สอยพื้นที่ในคลังสินค้าอย่างชัดเจน

   2. ระบุสถานที่ตำแหน่งการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า การกำหนดระบบบอกตำแหน่งสินค้าที่เหมาะสมจะทำให้สามารถค้นหาสินค้าเพื่อนำออกจ่ายกระทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ทำให้การรับสินค้าเข้ารับการรักษาทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้เนื้อที่เก็บรักษาได้ประโยชน์สูงสุด และสะดวกรวดเร็วต่อการตรวจสอบ การควบคุมระบบการเบิกจ่ายสินค้าสามารถดำเนินการได้ง่ายๆด้วยการบันทึกตำแหน่งจัดเก็บสินค้า

   3. กำหนดรหัสสินค้าจากสินค้าที่ได้รับการส่งมอบอย่างเป็นระบบ ตำแหน่งเก็บรักษาส่วนใหญ่กำหนดขึ้นโดยใช้ตารางกริดที่สร้างขึ้นบนพื้นที่เก็บรักษาตามขนาดด้านยาวของพาเลทมาตรฐานที่ใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยในการเก็บรักษาสินค้านั้นบวกด้วย 10 เซนติเมตร เป็นเกณฑ์เผื่อสำหรับการจัดเก็บ ระบบการบอกตำแหน่งเก็บรักษาสินค้าส่วนใหญ่จะมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญอยู่สองประการ ได้แก่การกำหนดตำแหน่งโครงสร้างรหัสตำแหน่งจัดเก็บ รหัสตำแหน่งจัดเก็บรักษาส่วนใหญ่ประกอบด้วยตัวเลขและตัวอักษร 9 หลัก และการทำเครื่องหมายตำแหน่งเก็บในพื้นที่รักษา หากสามารถทำได้พื้นที่ภายในอาคารต้องสร้างกริดลงไว้อย่างถาวรโดยการตีเส้นด้วยสีอย่างชัดเจนในพื้นที่เก็บรักษา



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล

  3. แฟ้มสะสมผลงาน

  4. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล

  3. แฟ้มสะสมผลงาน

  4. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

3. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล

  3. แฟ้มสะสมผลงาน

  4. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ