หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบสินค้าก่อนเข้าสู่ที่จัดเก็บ

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-GXPK-426A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบสินค้าก่อนเข้าสู่ที่จัดเก็บ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ควบคุมคลังสินค้า


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้ควบคุมคลังสินค้า ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การตรวจสอบการเคลื่อนย้ายสินค้าเข้าสู่ที่จัดเก็บ และตรวจสอบตำแหน่งจัดเก็บสินค้า


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

4321 เสมียนคลังสินค้า

4322 เสมียนด้านการผลิต



9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
510061 ตรวจสอบการเคลื่อนย้ายสินค้าเข้าสู่ที่จัดเก็บ

1.ตรวจสอบเอกสารก่อนนำสินค้าเข้าสู่ที่จัดเก็บได้ถูกต้อง และครบถ้วน

2. ตรวจสอบสินค้า และจำนวนของสินค้าตามเอกสารอย่างถูกต้อง ครบถ้วน

510062 ตรวจสอบตำแหน่งจัดเก็บสินค้า

1.กำหนดตำแหน่งที่จัดเก็บสินค้า ตามระเบียบปฏิบัติอย่างถูกต้อง

2. จัดทำรายงานการรับสินค้าเข้าก่อนจัดเก็บ อย่างถูกต้อง ครบถ้วน


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการตรวจรับสินค้าตามใบรับสินค้าจากผู้ส่งมอบ

  1.1 สามารถตรวจสอบเอกสารรายละเอียดของสินค้านำส่ง

  1.2 สามารถตรวจสอบรายละเอียดสินค้าที่ส่งมอบ

  1.3 สามารถจัดทำรายงานการตรวจรับสินค้าตามใบตรวจรับสินค้าจากผู้ส่งมอบ

2. ปฏิบัติการบันทึกการรับสินค้า

  2.1 สามารถบันทึกข้อมูลการตรวจรับสินค้าจากเอกสารการรับสินค้า

  2.1 สามารถบันทึกข้อมูลรายการสินค้าเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล

3 ปฏิบัติการขนถ่ายสินค้าที่ตรวจรับเข้าสู่ตำแหน่งที่จัดเก็บสินค้า

  3.1 สามารถขนถ่ายสินค้าเข้าสู่ตำแหน่งที่จัดเตรียม

  3.2 สามารถติดฉลากวัสดุ สินค้า และพาเลท

  3.3 สามารถจัดทำบันทึกตำแหน่งสินค้า


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. คุณสมบัติเฉพาะของสินค้า

2. การตรวจรับสินค้า

3. การเคลื่อนย้ายสินค้า

4. การใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในงานคลังสินค้า

5. การจัดเก็บสินค้า



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

   2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคลังสินค้า

   2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

   ประเมินเกี่ยวกับการตรวจรับสินค้าจากผู้ส่งมอบ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

   1. พิจารณาหลักฐานความรู้

   2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    1. ตรวจสอบสินค้าก่อนเข้าสู่ที่จัดเก็บ เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารใบจัดเก็บสินค้าก่อนที่จะจัดเก็บสินค้าเข้าที่จะจัดเก็บ และดำเนินการตรวจพิสูจน์ทราบเพื่อรับรองความถูกต้องในเรื่องของชื่อ แบบ หมายเลข หรือข้อมูลอื่น ๆ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสินค้า ตรวจสอบสภาพ จำนวน และคุณสมบัติของสินค้าที่จะเข้าจัดเก็บตรงตามเอกสารหรือไม่ 

    2. ตรวจสอบตำแหน่งจัดเก็บสินค้า ขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบตำแหน่งจัดเก็บสินค้าตามขั้นตอนที่กำหนดโดยอาศัยหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับปัจจัยพิจารณาในการวางแผนและแบบต่าง ๆ ของการเก็บรักษา เริ่มจากตรวจสอบตำแหน่งที่จะจัดเก็บสินค้าแต่ละรายการที่เป็นประเภทเดียวกัน และสินค้าที่มีน้ำหนักมากหรือใหญ่กว่าปกติ



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)
1. เครื่องมือการประเมิน
  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
  2. แบบประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน
  3. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา
     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 
2. เครื่องมือการประเมิน
  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
  2. แบบประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน
  3. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา
    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน


ยินดีต้อนรับ