หน่วยสมรรถนะ
ดำเนินการขนส่งสินค้าทางถนน
สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | LOG-KURP-410A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ดำเนินการขนส่งสินค้าทางถนน |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2562 |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ผู้ปฏิบัติการขนส่งสินค้าทางถนน |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
บุคคลที่ทำหน้าที่ปฏิบัติการขนส่งสินค้าทางถนน ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดเตรียมเอกสารการขนส่งสินค้าทางถนน การประสานงานกับพนักงานขับรถขนส่งและพนักงานประจำรถ การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การประเมินความพร้อมของยานพาหนะการขนส่งและตรวจสอบสินค้า การตรวจสอบสินค้าตามสถานที่จัดส่ง และการขนถ่ายสินค้าขึ้นยานพาหนะและจัดวาง |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
กลุ่มวิชาชีพโลจิสติกส์ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) |
---|---|
210091 จัดเตรียมเอกสารการขนส่งสินค้าทางถนน |
1.จัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารในการขนส่งสินค้าทางถนนถูกต้องตามมาตรฐานการขนส่งทางถนนที่กำหนด 2. จัดทำเอกสารในการขนส่งและส่งมอบสินค้าทางถนนอย่างถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนด |
210092 ประสานงานกับพนักงานขับรถขนส่งและพนักงานประจำรถ |
1.จัดเตรียมพนักงานขับรถขนส่งและพนักงานประจำรถตามปริมาณสินค้าที่จะส่งมอบ 2. ชี้แจงรายละเอียดวันเวลา จุดหมาย เส้นทางลักษณะสินค้าให้กับพนักงานขับรถขนส่งและพนักงานประจำรถได้รับการอย่างชัดเจน 3. สรุปผลรายงานการขนส่งสินค้าอย่างถูกต้อง ครบถ้วน |
210093 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
1. ชี้แจงรายละเอียดแผนงานการขนส่งสินค้าให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องครบถ้วน 2. สรุปผลรายงานการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน |
210094 ประเมินความพร้อมของยานพาหนะการขนส่งและตรวจสอบสินค้า |
1.ประเมินความพร้อมของยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างถูกต้อง 2. จัดทำใบรายการตรวจสอบสินค้าอย่างครบถ้วน |
210095 ตรวจสอบสินค้าตามสถานที่จัดส่ง |
1.ตรวจสอบข้อมูลของสินค้าที่จะส่งมอบตามใบรายการการส่งมอบสินค้า 2. จัดเรียงสินค้าที่จะส่งมอบอย่างถูกต้องตามลำดับปลายทางที่จะส่งมอบ |
210096 ขนถ่ายสินค้าขึ้นยานพาหนะและจัดวาง |
1.จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายและขนถ่ายสินค้าได้อย่างถูกต้อง 2.คัดแยกสินค้าไปยังพาหนะได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามใบรายการสินค้า 3. จัดวางสินค้าในตำแหน่งที่กำหนดให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย 4. ตรวจสอบจำนวนสินค้า และสภาพสินค้าตรงตามใบรายการการส่งมอบสินค้า |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ (ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ปฏิบัติการจัดเตรียมเอกสารการขนส่งสินค้าทางถนน 1.1 สามารถจัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารในการขนส่งสินค้าทางถนนถูกต้องตามมาตรฐานการขนส่งทางถนนที่กำหนด 1.2 สามารถจัดทำเอกสารในการขนส่งและส่งมอบสินค้าทางถนนอย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนด 2. ปฏิบัติการประสานงานกับพนักงานขับรถขนส่งและพนักงานประจำรถ 2.1 สามารถจัดเตรียมพนักงานขับรถขนส่งและพนักงานประจำรถตามปริมาณสินค้าที่จะส่งมอบ 2.2 สามารถชี้แจงรายละเอียดวันเวลา จุดหมาย เส้นทาง ลักษณะสินค้าให้กับพนักงานขับรถขนส่งและพนักงานประจำรถได้รับการอย่างชัดเจน 2.3 สามารถสรุปผลรายงานการขนส่งสินค้าอย่างถูกต้อง ครบถ้วน 3. ปฏิบัติการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.1 สามารถชี้แจงรายละเอียดแผนงานการขนส่งสินค้าให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องครบถ้วน 3.2 สามารถสรุปผลรายงานการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน 4. ปฏิบัติการประเมินความพร้อมของยานพาหนะการขนส่งและตรวจสอบสินค้า 4.1 สามารถประเมินความพร้อมของยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างถูกต้อง 4.2 สามารถจัดทำใบรายการตรวจสอบสินค้าอย่างครบถ้วน 5. ปฏิบัติการตรวจสอบสินค้าตามสถานที่จัดส่ง 5.1 สามารถตรวจสอบข้อมูลของสินค้าที่จะส่งมอบตามใบรายการการส่งมอบสินค้า 5.2 สามารถจัดเรียงสินค้าที่จะส่งมอบอย่างถูกต้อง ตามลำดับปลายทางที่จะส่งมอบ 6. ปฏิบัติการขนถ่ายสินค้าขึ้นยานพาหนะและจัดวาง 6.1 สามารถจัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายและขนถ่ายสินค้าได้อย่างถูกต้อง 6.2 สามารถคัดแยกสินค้าไปยังพาหนะได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามใบรายการสินค้า 6.3 สามารถจัดวางสินค้าในตำแหน่งที่กำหนดให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย 6.4 สามารถตรวจสอบจำนวนสินค้า และสภาพสินค้าตรงตามใบรายการการส่งมอบสินค้า (ข) ความต้องการด้านความรู้ (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. เอกสารการขนส่งสินค้าทางถนน 2. เทคนิคการประสานงาน 3. การประเมินความพร้อมของพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสินค้าทางถนน 4. คุณสมบัติของสินค้า 5. การเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายและขนถ่ายสินค้า |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการขนส่งสินค้าทางถนน 2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้ (ค) คำแนะนำในการประเมิน ประเมินเกี่ยวกับการดำเนินการขนส่งสินค้าทางถนน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาหลักฐานความรู้ 2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ก) คำแนะนำ การปฏิบัติดำเนินการขนส่งสินค้าทางถนน ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงเกี่ยวกับการจัดเตรียมเอกสารการขนส่งสินค้าทางถนน การประสานงานกับพนักงานขับรถขนส่งและพนักงานประจำรถ การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การประเมินความพร้อมของยานพาหนะการขนส่งและตรวจสอบสินค้า การตรวจสอบสินค้าตามสถานที่จัดส่ง และการขนถ่ายสินค้าขึ้นยานพาหนะและจัดวาง (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. การจัดเตรียมเอกสารการขนส่งสินค้าทางถนน จะต้องจัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารในการขนส่งสินค้าทางถนนถูกต้องตามมาตรฐานการขนส่งทางถนนที่กำหนด และการจัดทำเอกสารในการขนส่งและส่งมอบสินค้าทางถนน ซึ่งเอกสารการขนส่งทางถนน เป็นเอกสารเกี่ยวกับการขนส่งมีความสำคัญและประโยชน์ที่จะบอกได้ถึงวิธีการขนส่งทางถนน ได้แก่ ใบรายการสินค้า ใบรับส่งสินค้า-ใบตรวจรับสินค้า ใบควบคุมสินค้า ใบจองตู้ ใบชอ ใบTally Sheet ใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย 2. การประสานงาน หมายถึง การจัดให้คนในองค์กรทำงานสัมพันธ์สอดคล้องกัน โดยจะต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และมาตรฐานการปฏิบัติขององค์กรเป็นหลัก ต้องมีการจัดระเบียบ วิธีการทำงาน อีกทั้งความร่วมมือในการปฏิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อให้เกิดความคิดความเข้าใจตรงกันในการร่วมมือปฏิบัติงานให้สอดคล้องทั้งเวลา และกิจกรรมที่ต้องกระทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยไม่ทำให้เกิดความสับสน ขัดแย้งหรือเหลื่อมล้ำกันทั้งนี้เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่น ทำให้ได้มาซึ่งงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 3. การประสานงานกับพนักงานขับรถขนส่งและพนักงานประจำรถ จะต้องจัดเตรียมพนักงานขับรถขนส่งและพนักงานประจำรถตามปริมาณสินค้าที่จะส่งมอบ และชี้แจงรายละเอียดวันเวลา จุดหมาย เส้นทาง ลักษณะสินค้าให้กับพนักงานขับรถขนส่งและพนักงานประจำรถได้รับการอย่างชัดเจน 3.1 พนักงานขับรถขนส่ง หมายถึง ผู้ที่มีอาชีพบังคับควบคุมยานพาหนะที่ใช้ขนส่งสินค้า ประเภทสินค้าเทกอง สินค้าเบ็ดเตล็ด สินค้ารักษาอุณหภูมิ สินค้าเกษตร สินค้าอันตราย เป็นต้น เพื่อให้ส่งมอบสินค้าอย่างปลอดภัยภายในเวลาที่กำหนด รวมถึงเป็นผู้ดูแลบำรุงรักษายานพาหนะที่ใช้ขนส่งสินค้าเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ 3.2 พนักงานประจำรถ หมายถึง ผู้ตรวจสอบสินค้าขึ้นรถ และสามารถยกสินค้าขึ้นรถและลงรถ รวมถึงเป็นผู้ดูแลบำรุงรักษายานพาหนะที่ใช้ขนส่งสินค้าเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ 4. การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหน่วยงาน หมายถึง กลุ่มคนที่รวมตัวกันเพื่อดำเนินการในกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ในการรวมตัวจะต้องมีการจัดระเบียบการติดต่อ การแบ่งงานกันทำและต้องมีการประสานประโยชน์ของแต่ละบุคคลด้วย มีวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือและทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน มีการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มาร่วมปฏิบัติงาน จะต้องชี้แจงรายละเอียดแผนงานการขนส่งสินค้าให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องครบถ้วน และสรุปผลรายงานการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน 5. การประเมินความพร้อมของยานพาหนะการขนส่งและตรวจสอบสินค้า จะต้องประเมินความพร้อมของปัจจัยเสี่ยงที่จะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุมีทั้งหมด 3 ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยด้านคน ปัจจัยด้ายยานพาหนะและอุปกรณ์ใน รถขนส่งสินค้า และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงจัดทำใบรายการตรวจสอบสินค้าอย่างครบถ้วน 6. การตรวจสอบสินค้าตามสถานที่จัดส่ง โดยการตรวจสอบสินค้าตามสถานที่จัดส่งก่อนส่งมอบให้กับลูกค้า หมายถึง การตรวจสอบจำนวนและสภาพของสินค้า ก่อนการขนส่งสินค้าให้กับลูกค้า โดยจะต้องตรวจสอบคุณภาพของสินค้าให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ และเป็นไปตามข้อลูกที่ลูกค้ากำหนดหรือไม่ เช่น จำนวน ขนาด สภาพสินค้า เป็นต้น จะต้องตรวจสอบข้อมูลของสินค้าที่จะส่งมอบตามใบรายการการส่งมอบสินค้า และจัดเรียงสินค้าที่จะส่งมอบอย่างถูกต้อง ตามลำดับปลายทางที่จะส่งมอบ และจะต้องคัดแยกสินค้าตามประเภทสินค้าเพื่อความปลอดภัยของสินค้ารวมถึงป้องกันอันตรายจากการจัดส่งสินค้า และการจัดเรียงที่ถูกต้องจะง่ายต่อการลำเลียงสินค้าขึ้นยานพาหนะรวมถึงการจัดเรียงสินค้าบนยานพาหนะอีกด้วย 7. การขนถ่ายสินค้าขึ้นยานพาหนะและจัดวาง จะต้องจัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายและขนถ่ายสินค้า คัดแยกสินค้าไปยังพาหนะได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามใบรายการสินค้า จัดวางสินค้าในตำแหน่งที่กำหนดให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย และตรวจสอบจำนวนสินค้า และสภาพสินค้าตรงตามใบรายการการส่งมอบสินค้า |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. เครื่องมือการประเมิน 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 2. แบบประเมินผลจากการจำลองสถานการณ์ ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 2. เครื่องมือการประเมิน 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 2. แบบประเมินผลจากการจำลองสถานการณ์ ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 3. เครื่องมือการประเมิน 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 2. แบบประเมินผลจากการจำลองสถานการณ์ ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 4. เครื่องมือการประเมิน 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 2. แบบประเมินผลจากการจำลองสถานการณ์ ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 5. เครื่องมือการประเมิน 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 2. แบบประเมินผลจากการจำลองสถานการณ์ ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 6. เครื่องมือการประเมิน 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 2. แบบประเมินผลจากการจำลองสถานการณ์ ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน |