หน่วยสมรรถนะ
ผ่านพิธีการศุลกากร และตรวจปล่อยสินค้าผ่านแดน
สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | LOG-VUWA-393A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ผ่านพิธีการศุลกากร และตรวจปล่อยสินค้าผ่านแดน |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ผู้ชำชาญการผ่านพิธีการศุลกากร |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้ผ่านพิธีการศุลกากรรับอนุญาต ซึ่งจะต้องปฏิบัติการตรวจสอบเอกสารการส่งมอบสินค้าผ่านแดนและควบคุมการเคลื่อนย้ายขนถ่ายสินค้าผ่านแดน |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
3313 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านบัญชี |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
ระเบียบการขออนุญาตผ่านพิธีการศุลกากรการนำสินค้าผ่านแดน |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) |
---|---|
03451 ตรวจสอบเอกสารการส่งมอบสินค้าผ่านแดน |
1.จัดทำเอกสารการส่งมอบสินค้าส่งออกผ่านแดนตามขั้นตอนที่กำหนด 2 ตรวจสอบเอกสารการส่งมอบสินค้าส่งออกผ่านแดนตามข้อกำหนด |
03452 ควบคุมการเคลื่อนย้ายขนถ่ายสินค้าผ่านแดน |
1.ประเมินการเคลื่อนย้ายขนถ่ายสินค้าส่งออกผ่านแดนไปยังท่าส่งออกตามวิธีการปฏิบัติ 2.ตรวจสอบการเคลื่อนย้ายขนถ่ายสินค้าส่งออกผ่านแดนไปยังท่าส่งออกเพื่อผ่านพิธีการศุลกากรตามขั้นตอนที่กำหนด |
03453 กำหนดวงเงินวางประกัน |
1.ประเมินภาษีอาการและละการตรวจปล่อยสินค้าตามข้อกำหนด 2. ตรวจสอบเอกสารการชำระเงินค่าธรรมเนียมภาษีอากรตามขั้นตอนการปฏิบัติ |
03454 จัดการตรวจสอบสิทธิประโยชน์ |
1.รวบรวมเอกสารรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามข้อกำหนด 2.ตรวจสอบรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามข้อกำหนด |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ไม่ระบุ |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ปฏิบัติการตรวจสอบเอกสารการส่งมอบสินค้าผ่านแดน 1.1 สามารถจัดทำเอกสารการส่งมอบสินค้าส่งออกผ่านแดนตามขั้นตอนที่กำหนด 1.2 สามารถตรวจสอบเอกสารการส่งมอบสินค้าส่งออกผ่านแดนตามข้อกำหนด 2. ปฏิบัติการควบคุมการเคลื่อนย้ายขนถ่ายสินค้าผ่านแดน 2.1 สามารถประเมินการเคลื่อนย้ายขนถ่ายสินค้าส่งออกผ่านแดนไปยังท่าส่งออกตามวิธีการปฏิบัติ 2.2 สามารถตรวจสอบการเคลื่อนย้ายขนถ่ายสินค้าส่งออกผ่านแดนไปยังท่าส่งออกเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร ตามขั้นตอนที่กำหนด 3. ปฏิบัติการกำหนดวงเงินวางประกัน 3.1 สามารถประเมินภาษีอาการและละการตรวจปล่อยสินค้าตามข้อกำหนด 3.2 สามารถตรวจสอบเอกสารการชำระเงินค่าธรรมเนียมภาษีอากรตามขั้นตอนการปฏิบัติ 4.ปฏิบัติการจัดการตรวจสอบสิทธิประโยชน์ 4.1 สามารถรวบรวมเอกสารรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามข้อกำหนด 4.2 สามารถตรวจสอบรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามข้อกำหนด (ข) ความต้องการด้านความรู้ พิธีการศุลกากรและการตรวจปล่อยสินค้าผ่านแดน |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. เอกสารการส่งมอบสินค้าผ่านแดน 2. เอกสารการควบคุมการเคลื่อนย้ายขนถ่ายสินค้าผ่านแดน 3. เอกสารการชำระเงินค่าธรรมเนียมภาษีอากร (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ใบผ่านการอบรมการผ่านพิธีการศุลกากร และตรวจปล่อยสินค้าผ่านแดน 2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน (ค) คำแนะนำในการประเมิน 1. ผู้ประเมินสามารถจัดทำเอกสารการส่งมอบสินค้าส่งออกผ่านแดนตามขั้นตอนที่กำหนดและตรวจสอบ เอกสารการส่งมอบสินค้าส่งออกผ่านแดนตามข้อกำหนด 2. ผู้ประเมินสามารถประเมินการเคลื่อนย้ายขนถ่ายสินค้าส่งออกผ่านแดนไปยังท่าส่งออกตามวิธีการปฏิบัติและสามารถประเมินตรวจสอบการเคลื่อนย้ายขนถ่ายสินค้าส่งออกผ่านแดนไปยังท่าส่งออกเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร ตามขั้นตอนที่กำหนด 3. ผู้ประเมินสามารถประเมินภาษีอาการและละการตรวจปล่อยสินค้าตามข้อกำหนดและตรวจสอบเอกสารการชำระเงินค่าธรรมเนียมภาษีอากรตามขั้นตอนการปฏิบัติ 4. ผู้ประเมินสามารถรวบรวมเอกสารรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามข้อกำหนดและตรวจสอบรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามข้อกำหนด (ง) วิธีการประเมิน 1.พิจารณาหลักฐานความรู้ 2.พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ข) คำอธิบายรายละเอียด 1) การตรวจสอบการสำแดงพิกัดอัตราศุลกากร (1.1) ให้เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจปล่อย ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบการสำแดงประเภทพิกัดอัตราศุลกากร ให้เป็นไปตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (1.2) หากพบเหตุสงสัยในพิกัดอัตราอัตราศุลกากรที่ผู้นำของเข้าสำแดง เจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถเรียกเอกสาร เช่น รายละเอียดของสินค้า (Specification) หนังสือรับรอง (Certificate) หนังสือรับรองผลการตรวจสอบ (Certificate of Analysis) แคตตาล็อกของสินค้า (Catalogue) หรือคำชี้แจงเพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณา โดยอาจทำเป็นหนังสือแจ้งผู้นำของเข้า เพื่อให้มาชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับของ หรือเรียกเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาตรวจปล่อยก็ได้ใบขนสินค้าขาเข้าที่พบว่ามีเหตุอันควรสงสัยข้างต้น ให้หลุดพ้นจากเงื่อนไขการประกันเวลาการให้บริการ (1.3) กรณีเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจปล่อยเห็นว่าพิกัดอัตราศุลกากรที่ผู้นำของเข้าสำแดงอาจไม่ถูกต้องและได้แจ้งเหตุแห่งความสงสัยนั้น ให้ผู้นำของเข้าหรือตัวแทนทราบ หากผู้นำของเข้ายืนยันว่าพิกัดอัตราศุลกากรที่ได้สำแดงไว้นั้นถูกต้องแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรผู้ทำการตรวจปล่อยรวบรวมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และชักตัวอย่าง หรือถ่ายภาพของ หรือหลักฐานอื่นประกอบเรื่อง ส่งให้คณะทำงานให้คำปรึกษาปัญหาทางศุลกากรของแต่ละสำนักงาน/ด่านศุลกากร ซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยผู้อำนวยการสำนักงาน/นายด่านศุลกากร เป็นผู้พิจารณาการจำแนกพิกัดศุลกากรดังกล่าว ๓๖๒ ให้คณะทำงานให้คำปรึกษาปัญหาทางศุลกากร พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน ตัวอย่างของ ภาพถ่าย หากมีความจำเป็น ให้เรียกเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจปล่อย หรือผู้นำของเข้าหรือตัวแทน มาชี้แจงข้อมูล เหตุผล และข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ประกอบการพิจารณาหากผลการพิจารณาได้ข้อยุติ หรือมติที่ประชุมคณะทำงานเห็นตรงกันในการจำแนกพิกัดอัตราศุลกากรได้ หรือเป็นของที่เคยมีคำวินิจฉัยของสำนักพิกัดอัตราศุลกากรอยู่ก่อนแล้ว ให้คณะทำงาน ดังกล่าวแจ้งผลการพิจารณาให้เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจปล่อย และผู้นำของเข้าทราบ (1.4) เมื่อคณะทำงานให้คำปรึกษาปัญหาทางศุลกากร แจ้งผลการพิจารณาแก่เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจปล่อยแล้ว หากเป็นกรณีต้องส่งเรื่องไปยังสำนักพิกัดอัตราศุลกากร ให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรผู้ตรวจปล่อยประเมิน ราคาและค่าภาษีอากรใหม่ (Reassessment) ในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร โดยให้มีการวางประกันค่าภาษีอากรให้คุ้มค่าอากร ก่อนส่งเรื่องไปยังสำนักพิกัดอัตราศุลกากรและให้ปฏิบัติตามประมวลฯ ข้อ 2 01 07 02 (1.5) กรณีเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจปล่อยเห็นว่าพิกัดศุลกากรที่ผู้นำของเข้าสำแดงอาจไม่ถูกต้อง และได้แจ้งเหตุแห่งความสงสัยนั้น ให้ผู้นำของเข้าหรือตัวแทนทราบ หากผู้นำของเข้ายอมรับว่าได้สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรไม่ถูกต้องจริง ให้ปฏิบัติตามประมวลฯ ข้อ 2 01 13 12 การตรวจสอบพบความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. เครื่องมือการประเมิน 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน 3. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 2. เครื่องมือการประเมิน 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน 3. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 3 เครื่องมือการประเมิน 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน 3. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 4 เครื่องมือการประเมิน 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน 3. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
|