หน่วยสมรรถนะ
รับมอบสินค้าสำหรับการนำเข้า
สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | LOG-WEIF-391A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | รับมอบสินค้าสำหรับการนำเข้า |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ผู้ผ่านชำนาญการพิธีการศุลกากร |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้ผ่านพิธีการศุลกากรรับอนุญาต ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารการรับมอบสินค้านำเข้าเพื่อเป็นหลักฐานการรับมอบให้แก่ลูกค้าประสานงานบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศเพื่อรับส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้าตามที่กำหนด |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
3313 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านบัญชี |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
ระเบียบการผ่านพิธีการศุลกากรการนำเข้าสินค้า |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) |
---|---|
03431 จัดทำเอกสารการรับมอบสินค้านำเข้าเพื่อเป็นหลักฐานการรับมอบให้แก่ลูกค้า |
1.จัดเตรียมรับมอบเอกสารสินค้านำเข้าตามขั้นตอนการปฏิบัติ 2. จัดทำหลักฐานการรับมอบเอกสารสินค้านำเข้าตามขั้นตอนการปฏิบัติ |
03432 ประสานงานบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศ เพื่อรับส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้าตามที่กำห |
1.การประสานงานกับบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศเพื่อรับส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้าตามวิธีการปฏิบัติ 2.จัดประเภทการขนส่งสินค้า ให้ถูกต้องตามลักษณะการปฏิบัติงาน |
03433 จัดทำเอกสารควบคุมสินค้าในการขนส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้า |
1.ตรวจสอบรายการสินค้าที่รับจากท่านำเข้าตามรายการสินค้าที่กำหนด 2.จัดทำรายการสินค้าที่รับจากท่านำเข้าตามรายการสินค้าที่กำหนด |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ไม่ระบุ |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ปฏิบัติการจัดทำเอกสารการรับมอบสินค้านำเข้าเพื่อเป็นหลักฐานการรับมอบให้แก่ลูกค้า 1.1 สามารถจัดเตรียมรับมอบเอกสารสินค้านำเข้าตามขั้นตอนการปฏิบัติ 1.2 สามารถจัดทำหลักฐานการรับมอบเอกสารสินค้านำเข้าตามขั้นตอนการปฏิบัติ 2. ปฏิบัติการประสานงานบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศ เพื่อรับส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้าตามที่กำหนด 2.1 สามารถการประสานงานกับบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศเพื่อรับส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้าตามวิธีการปฏิบัติ 2.2 สามารถจัดประเภทการขนส่งสินค้า ให้ถูกต้องตามลักษณะการปฏิบัติงาน 3. ปฏิบัติการจัดทำเอกสารควบคุมสินค้าในการขนส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้า 3.1 สามารตรวจสอบรายการสินค้าที่รับจากท่านำเข้าตามรายการสินค้าที่กำหนด ถ 3.3 สามารถจัดทำรายการสินค้าที่รับจากท่านำเข้าตามรายการสินค้าที่กำหนด (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. การจัดทำเอกสารการรับมอบสินค้านำเข้า 2. การวิเคราะห์ประเภทการขนส่งสินค้า 3. คุณสมบัติเฉพาะของสินค้า |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. เอกสารการรับมอบสินค้านำเข้าเพื่อเป็นหลักฐานการรับมอบให้แก่ลูกค้า 2. เอกสารการประสานงานกับบริษัทขนส่งได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ใบผ่านการอบรมการจัดทำเอกสารส่งออกและนำเข้าสินค้า 2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน (ค) คำแนะนำในการประเมิน ประเมินเกี่ยวกับการรับมอบสินค้าสำหรับการนำเข้า (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาหลักฐานความรู้ 2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ข) คำอธิบายรายละเอียด (1) การตรวจสอบของที่มีคำสั่งไม่ต้องตรวจสอบ พิกัด ราคา และของ (Green Line)ใบขนสินค้าที่ไม่ถูกกำหนดเงื่อนไข (Profile) ให้เปิดตรวจและไม่เป็นของประเภทที่ต้องตรวจปล่อยออกไปจากอารักขาของศุลกากรโดยวิธีเปิดตรวจตามประมวลฯ ข้อ 2 01 13 06 จะยกเว้นการตรวจ๓๕๗ โดยระบบคอมพิวเตอร์ศุลกากร จะบันทึกข้อมูล “ไม่ต้องตรวจสอบพิกัด ราคา และของ” (Green Line) พร้อมกับเปลี่ยนสถานะใบขนสินค้าขาเข้าเป็น “ใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมส่งมอบของ” โดยอัตโนมัติ และระบบคอมพิวเตอร์ศุลกากรจะแจ้งข้อมูลการสั่งปล่อยไปยังโรงพักสินค้า (1.1) ให้ผู้นำของเข้าแจ้งเลขที่ใบตราส่งให้เจ้าหน้าที่โรงพักสินค้าทราบเพื่อติดต่อรับสินค้ากับโรงพักสินค้า (1.2) กรณีของที่ใช้สิทธิลด/ยกเว้นอัตราอากร หรือของที่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า หรือของที่ต้องดำเนินการอื่นใดตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ผู้นำของเข้ายื่นเอกสาร เช่น เอกสารแสดงการได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ , ใบอนุญาต/ ใบทะเบียน/ หนังสืออนุญาต หรือหนังสือรับรองตามเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้องในรูปแบบเอกสารแก่หน่วยบริการศุลกากร ก่อนการน าของออกจากโรงพักสินค้าเว้นแต่กรมศุลกากรได้อนุมัติให้ไม่ต้องยื่นเอกสาร เนื่องจากได้เชื่อมโยงข้อมูลในระบบ National Single Window (NSW) แล้ว (1.3) ให้หน่วยบริการศุลกากรลงรับเอกสารไว้ และจัดเจ้าหน้าที่ศุลกากรเพื่อทำการตรวจสอบเบื้องต้นกับข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร หากตรวจพบว่าเอกสารไม่ตรงกับข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า ให้พิจารณาดำเนินการเป็นการเฉพาะรายทันที (1.4) กรณีของที่ต้องผ่านการตรวจสอบสินค้าจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้นำเอกสารหรือหลักฐานใดๆที่แสดงว่าเจ้าหน้าที่หน่วยงานเจ้าของกฎหมายนั้น ได้ตรวจสอบและอนุญาตให้นำเข้าแล้ว มายื่นต่อเจ้าหน้าที่ โดยให้ปฏิบัติตามข้อ (1.3) ด้วย (1.5) ให้หน่วยบริการศุลกากรรวบรวมเอกสารตามข้อ (1.3) ส่งฝ่ายทบทวนหลังการตรวจปล่อยของสำนักงาน/ด่านศุลกากร เพื่อใช้ประกอบการทบทวนหลังการตรวจปล่อยต่อไป (1.6) กรณีผู้นำของเข้านำเอกสารตามข้อ (1.2) มายื่นต่อหน่วยบริการศุลกากรหลังจากรับของจากอารักขาของศุลกากรไปแล้ว ให้หน่วยบริการศุลกากรส่งพิจารณาความผิดด้วย |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. เครื่องมือการประเมิน 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน 3. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 2 เครื่องมือการประเมิน 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน 3. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 3. เครื่องมือการประเมิน.3 เครื่องมือการประเมิน 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน 3. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
|