หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ผ่านพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-SIWR-385A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ผ่านพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

เจ้าหน้าที่อาวุโสส่งออกและนำเข้า (Export/Import Senior Officer)


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

     บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นผู้ชำนาญการพิธีการศุลกากรรับอนุญาต ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารการรับมอบสินค้านำเข้าเพื่อเป็นหลักฐานการรับมอบให้แก่ลูกค้าประสานงานบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศเพื่อรับส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้าตามที่กำหนดจัดทำใบเคลมสินค้าเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกรณีสินค้าเสียหาย และตรวจนับจำนวนสินค้า และตรวจสภาพสินค้าเพื่อนำขึ้นรถบรรทุกจัดส่งไปให้ผู้นำเข้าลงนามรับสินค้า


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

3313 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านบัญชี


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ระเบียบการผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้า


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
03241 ส่งข้อมูลการส่งออกผ่านระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร

1.จัดทำเอกสารการสั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิต ผู้ขายที่ต้นทางในประเทศ

2.จัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่จะส่งออกไว้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนด

03242 ติดตาม ตรวจสอบ หรือ ปรับแก้ข้อมูลเพื่อให้ได้สถานะตอบรับจากกรมศุลกากร

1.ติดตามเอกสารและรวบรวมการสั่งซื้อเพื่อเตรียมการส่งออกสินค้าได้อย่างถูกต้องตามวิธีการปฏิบัติ

2. จัดทำข้อมูลการสั่งซื้อในใบขนสินค้าขาออกตามรายการสินค้าตามข้อกำหนด

03243 ส่งข้อมูลการนำเข้าผ่านระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร

1.จัดทำเอกสารการสั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตผู้ขายที่ต้นทางต่างประเทศ

2.จัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่จะนำเข้าไว้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนด

03244 จองยานพาหนะเพื่อนำเข้า

1. จองยานพาหนะสำหรับการนำเข้าสินค้าตามลักษณะการปฏิบัติ

2.ตรวจสอบวันเวลาของยานพาหนะสำหรับการนำเข้าสินค้ามีตามตารางการปฏิบัติงานที่กำหนด


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการการส่งข้อมูลการส่งออกผ่านระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรตรวจสอบการผ่านพิธีการศุลกากร

     1.1 สามารถจัดทำเอกสารการสั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิต ผู้ขายที่ต้นทางในประเทศ

     1.2 สามารถจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่จะส่งออกไว้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนด

2. ปฏิบัติการติดตาม ตรวจสอบ หรือ ปรับแก้ข้อมูลเพื่อให้ได้สถานะตอบรับจากกรมศุลกากร

     2.1 สามารถติดตามเอกสารและรวบรวมการสั่งซื้อเพื่อเตรียมการส่งออกสินค้าได้อย่างถูกต้องตามวิธีการปฏิบัติ

    2.2 สามารถจัดทำข้อมูลการสั่งซื้อในใบขนสินค้าขาออกตามรายการสินค้าตามข้อกำหนด

3. ปฏิบัติการจองยานพาหนะเพื่อส่งออก-นำเข้า

    3.1 สามารถจัดทำเอกสารการสั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตผู้ขายที่ต้นทางต่างประเทศ

    3.2 สามารถจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่จะนำเข้าไว้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนด

4. ปฏิบัติการจองยานพาหนะเพื่อส่งออก-นำเข้า

     4.1 สามารถจองยานพาหนะสำหรับการนำเข้าสินค้าตามลักษณะการปฏิบัติ

     4.2 สามารถตรวจสอบวันเวลาของยานพาหนะสำหรับการนำเข้าสินค้ามีตามตารางการปฏิบัติงานที่กำหนด

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ประมวลฯระเบียบพิธีการศุลกากรหมวดพิธีการส่งออก-นำเข้า

2. ระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์

3. พิกัดอัตราศุลกากร

4. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า

5. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

      (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารใบขนสินค้าขาออก-ขาเข้า

          2. เอกสารหลักฐานใบจองยานพาหนะในการขนส่งสินค้า

      (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. ใบผ่านการอบรมเกี่ยวกับการตรวจสอบสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรพิกัดอัตราศุลกากร

          2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน

          3. เอกสารการนำเสนองานหรือการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรพิกัดอัตราศุลกากร

          4. หนังสือ คู่มือ บทความ งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรพิกัดอัตราศุลกากร

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ประเมินเกี่ยวกับการใบขนสินค้าขาออก-ขาเข้า

          ประเมินสถานการณ์ตอบรับจากกรมศุลกากร

     (ง) วิธีการประเมิน

          1.พิจารณาหลักฐานความรู้        

          2.พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

     การปฏิบัติพิธีการศุลกากร ผู้ได้รับอนุมัติให้ลงทะเบียนเป็นผู้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรหรือดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากรโดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถปฏิบัติพิธีการได้โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์พร้อมลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) ของเจ้าของลายมือชื่อผ่านบุคคลที่เป็นสื่อกลางผู้ให้บริการรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรฐานที่ศุลกากรกำหนด (ebXML/XML Format) แทนการจัดทำ ยื่น ส่ง รับ และการลงลายมือชื่อในรูปแบบเอกสาร

     1. วิธีการส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า การส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้ากระทำได้ 4 ช่องทาง ดังนี้

          1.ผู้นำของเข้าส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าด้วยตนเอง

          2.ผู้นำของเข้ามอบหมายให้ตัวแทนออกของ (Customs Broker) เป็นผู้ส่งข้อมูลแทน

          3.ผู้นำของเข้าให้เคาน์เตอร์บริการ (Service Counter) เป็นผู้ส่งข้อมูล

          4.ผู้นำของเข้ายื่นใบขนสินค้าขาเข้าในรูปแบบเอกสาร 

     ผู้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรหรือดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากรโดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถปฏิบัติพิธีการได้โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์พร้อมลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) ของเจ้าของลายมือชื่อผ่านบุคคลที่เป็นสื่อกลางผู้ให้บริการรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานที่ศุลกากรกำหนด (ebXML/XML Format) แทนการจัดทำ ยื่น ส่ง รับ และการลงลายมือชื่อในรูปแบบเอกสาร 



17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน

     1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

     2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน

     3. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

18.2 เครื่องมือการประเมิน

     1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

     2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน

     3. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือการประเมิน

     1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

     2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน

     3. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.4 เครื่องมือการประเมิน

     1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

     2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน

     3. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน


ยินดีต้อนรับ