หน่วยสมรรถนะ
สื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส
สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | FPC-OJFW-217A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | สื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
7515 ผู้ชิมรสและจัดระดับชั้นคุณภาพของอาหารและเครื่องดื่ม |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในเรื่องการมีสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยสมรรถนะนี้เหมาะกับผู้เข้ารับการประเมินที่มีความรู้และทักษะบริหารจัดการการดำเนินงานการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้านอาหาร |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ
|
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
กฎกระทรวง เรื่อง สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 หมวดที่ 4 เรื่อง สุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบกิจการ ผู้สัมผัสอาหาร |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) |
---|---|
50121 นำเสนอผลการดำเนินงาน |
1.นำเสนอผลการปฏิบัติงานในการบริหารได้อย่างครบถ้วนตามวัตถุประสงค์การดำเนินงานให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง 2.รายงานผลการดำเนินงานรวมถึงแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานของผู้ปฏิบัติงานด้านต่างๆได้อย่างครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง 3.ทบทวนแผนการดำเนินงานเพื่อวางแผนในการปฏิบัติงานการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัสต่อไป |
50122 เขียนขั้นตอนการปฏิบัติงาน |
1.เขียนขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส 2. วางแผนการคงอยู่ของสมรรถนะของผู้ประเมินให้สอดคล้องกับการดำเนินงาน |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ไม่ระบุ
|
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ทักษะในการนำเสนอ 2. ทักษะในการรายงานผลการดำเนินงาน 3. ทักษะในการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน 4. ทักษะในการเขียนขั้นตอนการปฏิบัติงาน 5. ทักษะในวางแผน (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติงานการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส 2. ความรู้และเข้าใจพื้นฐานทางสรีรวิทยาและจิตวิทยาของบุคคลที่จะมาเป็นผู้ประเมิน |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) ไม่มี (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) ไม่มี (ค) คำแนะนำในการประเมิน N/A (ง) วิธีการประเมิน - การสอบข้อเขียน - การสัมภาษณ์ผู้ขอรับการประเมิน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ก) คำแนะนำ หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้นๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ (ข) คำอธิบายรายละเอียด - การวางแผนการคงอยู่ของสมรรถนะของผู้ทดสอบทางประสาทสัมผัส หมายถึง การวางแผนการฝึกอบรมให้กับผู้ทดสอบ การทบทวนความรู้ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ
|
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ
|
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. การใช้ข้อสอบข้อเขียน 2. การใช้ข้อสอบสัมภาษณ์ |