หน่วยสมรรถนะ
ดำเนินงานตามแผนการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส
สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | FPC-UQBX-211A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ดำเนินงานตามแผนการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
7515 ผู้ชิมรสและจัดระดับชั้นคุณภาพของอาหารและเครื่องดื่ม |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการจัดเตรียมการประเมินทางประสาทสัมผัสด้านอาหาร ได้แก่ การเตรียมตัวอย่างและเสิร์ฟตัวอย่าง การจัดสภาพแวดล้อมในการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส การเตรียมผู้ประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส การรวบรวมผลและบันทึกผลการประเมินเบื้องต้น หน่วยสมรรถนะนี้เหมาะกับผู้เข้ารับการประเมินที่มีความรู้และทักษะการจัดเตรียมและดำเนินงานการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้านอาหาร |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
กฎกระทรวง เรื่อง สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 หมวดที่ 4 เรื่อง สุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) |
---|---|
30101 จัดเตรียมตัวอย่าง |
1. เตรียมตัวอย่างตามใบงาน(Work Sheet)ได้อย่างถูกต้องตามรูปแบบการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส 2. เขียนเลขรหัสลงในแบบประเมินได้ครบถ้วนชัดเจนและถูกต้องตามขั้นตอนการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส 3.เตรียมตัวอย่างในปริมาณและขนาดที่ตรงกับชนิดของผลิตภัณฑ์และวิธีประเมิน 4. ควบคุมสภาวะการเตรียมของตัวอย่างให้เหมาะสมกับประเภทอาหาร 5. ทำความสะอาด และจัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินให้พร้อมใช้งาน |
30102 จัดเสิร์ฟตัวอย่าง |
1.ควบคุมสภาวะการเสิร์ฟของตัวอย่างให้เหมาะสมกับประเภทอาหาร 2. จัดแบบประเมิน และตัวอย่าง สำหรับเสิร์ฟได้ถูกต้องตามใบงาน 3. จัดเสิร์ฟให้ถูกต้องตามใบงาน |
30103 จัดสภาพแวดล้อมในการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส |
1.เลือกและจัดหาภาชนะ และอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับตัวอย่างและวิธีการประเมิน 2. เตรียมภาชนะ และอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับตัวอย่างและวิธีการประเมิน 3. ควบคุมอุณหภูมิห้อง เสียงแสงสว่างและสีหลอดไฟในบริเวณสถานที่ประเมินให้ถูกต้องตามที่กำหนดในวัตถุประสงค์ของแผนการดำเนินงาน |
30104 เตรียมผู้ประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส |
1.นัดหมายและติดตามผู้ประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส 2.คัดกรองคุณสมบัติของผู้ประเมินตามที่กำหนดในวัตถุประสงค์ของแผนการดำเนินงาน 3.ตรวจสอบจำนวนผู้ประเมินให้ครบถ้วนตามที่กำหนดในวัตถุประสงค์ของแผนการดำเนินงาน |
30105 รวบรวมผลและบันทึกผลการประเมินเบื้องต้น |
1.ตรวจสอบข้อมูลให้ครบถ้วนและถูกต้องในแบบประเมินตามที่กำหนด 2. ตรวจและบันทึกผลการประเมินตามใบงานได้ถูกต้อง 3.ส่งผลการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัสครบถ้วนทันเวลาตามที่กำหนดในวัตถุประสงค์ของแผนการดำเนินงาน |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ไม่ระบุ |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ทักษะการเตรียมตัวอย่างและเสิร์ฟตัวอย่าง 2. ทักษะการใช้อุปกรณ์ในการเตรียมตัวอย่าง 3. ทักษะการติดต่อ สื่อสาร และประสานงาน 4. ทักษะการบันทึกผลการประเมินตามใบงาน (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดเลขรหัส สุ่มลำดับการเสิร์ฟในใบงาน 2. ความรู้เกี่ยวกับการจัดเตรียมตัวอย่าง และสภาวะที่เหมาะสมกับวิธีการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส 3. ความรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับตัวอย่างและวิธีการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส 4. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจผลการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัสตามใบงาน |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) ไม่มี (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) ไม่มี (ค) คำแนะนำในการประเมิน N/A (ง) วิธีการประเมิน - การสัมภาษณ์ผู้ขอรับการประเมิน - การสาธิตการปฏิบัติงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ก) คำแนะนำ หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้นๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ (ข) คำอธิบายรายละเอียด - คุณสมบัติของผู้ประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส ได้แก่ 1. สุขภาพแข็งแรง 2. มีความสนใจและกระตือรือร้น 3.มีเวลาเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม 4. ความสามารถในการสื่อสาร 5. ทัศนคติที่ดี 6. ความซื่อสัตย์ 7. ปัจจัยอื่นๆ เช่น อาชีพ เชื้อชาติ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ประสบการณ์ด้านการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการสูบบุหรี่ - อุปกรณ์ หมายถึง คูหาประเมินเพื่อให้ผู้ทดสอบแต่ละคนประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส หลอดไฟที่ให้ความสว่างและบังสีตัวอย่าง ระบบการถ่ายเทอากาศ ระบบปรับอุณหภูมิและความชื้น สัญญาณในการสื่อสารเพื่อที่ผู้ทดสอบสามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้โดยไม่ต้องใช้เสียง อุปกรณ์การชั่งและตวงถ้วยบ้วนตัวอย่าง กระบอกน้ำร้อน ถาดเสิร์ฟ อาหารพาหะ ดินสอ แบบทดสอบแบบกระดาษ/แบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ใช้ในการปรุง หรือเตรียมตัวอย่าง - ใบงาน (Work sheet) หมายถึง เอกสารที่แสดงถึงลำดับผู้ทดสอบ เลขรหัสที่ใช้แทนตัวอย่าง รูปแบบการเสิร์ฟตัวอย่าง ลำดับการเสิร์ฟตัวอย่าง - เลขรหัสในการประเมิน หมายถึง เลขรหัส 3 หลัก ที่ใช้เป็นตัวแทนของตัวอย่างเมื่อทำการเสิร์ฟ - การควบคุมอุณหภูมิ หมายถึง ห้องปฏิบัติการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสควรเป็นห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ สามารถควบคุมอุณหภูมิห้องได้ในช่วงประมาณ 22-25 องศาเซลเซียส โดยมีความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 45-55% |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ
|
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ
|
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. การสัมภาษณ์ผู้ขอรับการประเมิน 2. การสาธิตการปฏิบัติงาน |