หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารด้านประสาทสัมผัส

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-VYPH-209A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารด้านประสาทสัมผัส

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
7515 ผู้ชิมรสและจัดระดับชั้นคุณภาพของอาหารและเครื่องดื่มไม่ระบุ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการประเมินความแตกต่างของคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์อาหาร สามารถอธิบายลักษณะพื้นฐานของอาหาร ด้านลักษณะปรากฏ กลิ่น กลิ่นรสและรสชาติพื้นฐานของอาหารสามารถใช้อุปกรณ์และแบบทดสอบที่เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสได้อย่างถูกวิธี หน่วยสมรรถนะนี้เหมาะกับผู้เข้ารับการประเมินที่มีความรู้และทักษะการปฏิบัติงานด้านการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสตามมาตรฐาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
กฎกระทรวง เรื่อง สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 หมวดที่ 4 เรื่อง สุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
20101 ดำเนินงานตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน

1.ปฏิบัติตามคำแนะนำและกรอกข้อมูลในแบบประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส ได้อย่างครบถ้วนทุกขั้นตอน

2. ดำเนินงานตามขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการประเมินได้ถูกต้องตามมาตรฐาน/วิธีการที่กำหนด

20102 แยกความแตกต่างของผลิตภัณฑ์อาหาร

1.อธิบายลักษณะพื้นฐานของอาหาร

2. ระบุรสชาติพื้นฐานของอาหาร

3. แยกความแตกต่างลักษณะพื้นฐานของอาหาร

4. ใช้อุปกรณ์และแบบประเมินได้อย่างเหมาะสมตามรูปแบบและวิธีการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับระบบประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการใช้อุปกรณ์และแบบทดสอบในการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส
2. ทักษะในการแยกแยะความแตกต่างของคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์อาหารได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส
2. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และแบบประเมิน ที่ใช้ในการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส
3. ความรู้เกี่ยวกับลักษณะพื้นฐานของอาหาร ด้านลักษณะปรากฏ กลิ่น กลิ่นรส รสชาติพื้นฐาน และเนื้อสัมผัสของอาหาร

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
ไม่มี
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
ไม่มี
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
  N/A
(ง) วิธีการประเมิน
- การสัมภาษณ์ผู้ขอรับการประเมิน
- สอบปฏิบัติ

15. ขอบเขต (Range Statement)
      ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 
(ก) คำแนะนำ
      หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้นๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
- คุณลักษณะพื้นฐานของอาหาร  หมายถึง ลักษณะปรากฏ กลิ่น กลิ่นรส รสชาติ เนื้อสัมผัสของอาหาร
- รสชาติพื้นฐานของอาหาร  หมายถึง รสเปรี้ยว รสเค็ม รสหวาน รสขม และรสอูมามิ
- อุปกรณ์ หมายถึง กระบอกน้ำร้อน ถาดเสิร์ฟ อาหารพาหะ  ดินสอ แบบทดสอบ และ ถ้วยบ้วนตัวอย่าง คูหาประเมินเพื่อให้ผู้ทดสอบแต่ละคนประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส หลอดไฟที่ให้ความสว่างและบังสีตัวอย่าง สัญญาณในการสื่อสารเพื่อที่ผู้ทดสอบสามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้โดยไม่ต้องใช้เสียง

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)
1. การใช้ข้อสอบสัมภาษณ์
2. การสาธิตการปฏิบัติงาน
 

ยินดีต้อนรับ