หน่วยสมรรถนะ
กำหนดกลยุทธ์ของซัพพลายเชน
สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | LOG-WQGV-363A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | กำหนดกลยุทธ์ของซัพพลายเชน |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
1213 ผู้จัดการด้านนโยบายและแผน |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ของซัพพลายเชน และประสานงานด้านการให้คำปรึกษา แนะนำด้านนโยบาย ประสานการดำเนินนโยบายและการปฏิบัติงานของซัพพลายเชน จัดทำตัวชี้วัดการดำเนินงาน และความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน รวมถึงควบคุมและบริหารจัดการกิจกรรมของผู้ปฏิบัติงานด้านการพัฒนานโยบายและการวางแผนกลยุทธ์ในระดับซัพพลายเชน |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) |
---|---|
010201.1 กำหนดขอบเขตการดำเนินงานของซัพพลายเชน |
1.กำหนดขอบเขตของการดำเนินงานของซัพพลายเชนที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางที่ลูกค้า 2.ระบุองค์ประกอบในการดำเนินงานที่ตอบสนองความต้องการของธุรกิจและสอดคล้องกับนโยบายของบริษัท |
010201.2 วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของซัพพลายเชน |
1.วิเคราะห์ปัจจัยทางด้านการตลาดและการแข่งขันที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของซัพพลายเชน 2.วิเคราะห์ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของซัพพลายเชน 3. วิเคราะห์ความต้องการของตลาดและความพึงพอใจของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของซัพพลายเชน |
010201.3 วิเคราะห์ความสามารถขององค์กรภายใน ซัพพลายเชน |
1.รวบรวมข้อมูลของหน่วยงานภายในซัพพลายเชน โดยใช้ข้อมูลจากการทำงานจริงและเป็นปัจจุบัน 2.วิเคราะห์ความสามารถขององค์กรภายในซัพพลายเชนที่สอดคล้องกับเป้าหมายและความต้องการด้านผลิตภัณฑ์และบริการ |
010201.4 กำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของซัพพลายเชน |
1.กำหนดวัตถุประสงค์ในภาพรวมของซัพพลายเชนที่มีความชัดเจน และวัดผลได้ 2.กำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของหน่วยงานย่อยในซัพพลายเชนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลัก |
010201.5 กำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานของซัพพลายเชน |
1.วิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าทั้งภายใน และภายนอก 2. วิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิภาพในการดำเนินงานเพื่อใช้ในการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน 3. กำหนดเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวที่สอดคล้องกับนโยบายและวิสัยทัศน์ของบริษัท 4. กำหนดกรอบระยะเวลาในการดำเนินงานที่เหมาะสม |
010201.6 กำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของซัพพลายเชน |
1.กำหนดตัวชี้วัดที่สะท้อนถึงผลการทำงานจริง 2. กำหนดตัวชี้วัดมีความเหมาะสมกับอุตสาหกรรม และสอดคล้องกับเป้าหมายและกลยุทธ์ของซัพพลายเชน 3. เปรียบเทียบข้อมูลตัวชี้วัดทั้งภายในและภายนอกซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
(1) ประสบการณ์ในการบริหารซัพพลายเชน (2) ความรู้ทั่วไปในการใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ (1) ทักษะในการบริหารงานแต่ละด้านในซัพพลายเชน (2) ทักษะในการใช้ความคิดเชิงกลยุทธ์ (3) ทักษะในการใช้ความคิดเชิงระบบ (4) ทักษะในการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาการบริหารทรัพยากรบุคคล (5) ทักษะในการบริหารทรัพยากรบุคคล (6) ทักษะในการบริหารการเปลี่ยนแปลง (7) ทักษะในการบริหารผู้มีส่วนร่วม (ข) ความต้องการด้านความรู้ (1) ความรู้ในเรื่องลักษณะของงานและข้อจำกัด (2) ความรู้เรื่องหลักการสร้างกลยุทธ์ (3) ความรู้เรื่องกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการ (4) ความรู้เรื่องหน้าที่ และความสำคัญของแต่ละส่วนงาน |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) (1) แฟ้มสะสมผลงานที่แสดงถึงประสบการณ์ในการมีส่วนร่วมในการกำหนดกลยุทธ์ของซัพพลายเชน (2) หลักฐานการผ่านงานจากสถานประกอบการ และใบบันทึกผลการปฏิบัติงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) (1) หลักฐานการอบรมความรู้และหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการกำหนดกลยุทธ์ (ค) คำแนะนำในการประเมิน (1) ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่สอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้ (ง) วิธีการประเมิน (1) การประเมินความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับความรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น (2) การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน หรือการสัมภาษณ์ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ก) คำแนะนำ (1) ข้อมูลมีการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ด้วยวิธีการและเครื่องมือทางสถิติที่ถูกต้อง (2) ข้อมูลที่ใช้มีที่มาชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ (3) ข้อมูลขององค์กรที่เป็นสมาชิกในซัพพลายเชนรวมถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจ ความสามารถหลัก รวมถึงข้อมูลการตลาด และข้อมูลคู่แข่ง (4) วัตถุประสงค์ และเป้าหมายรวมถึงแนวทางในการทำงาน และกรอบระยะเวลาในการทำงาน (5) การปฏิบัติงานในทุกขั้นตอนต้องเป็นไปตามนโยบายขององค์กร กฎระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ข) คำอธิบายรายละเอียด ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานประกอบด้วย (1) วัดผลด้านความพึงพอใจของลูกค้า (2) วัดผลด้านประสิทธิภาพของกระบวนการ (3) วัดผลด้านการเงินและการควบคุมงบประมาณ (4) วัดผลด้านการเรียนรู้และการพัฒนางาน (5) วัดผลด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. เครื่องมือการประเมินการกำหนดขอบเขตการดำเนินงานของซัพพลายเชน (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก (2) แฟ้มสะสมผลงาน (3) การสอบสัมภาษณ์ 2. เครื่องมือการประเมินการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของซัพพลายเชน (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก (2) แฟ้มสะสมผลงาน (3) การสอบสัมภาษณ์ 3. เครื่องมือการประเมินการวิเคราะห์ความสามารถขององค์กรภายในซัพพลายเชน (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก (2) แฟ้มสะสมผลงาน (3) การสอบสัมภาษณ์ 4. เครื่องมือการประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของซัพพลายเชน (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก (2) แฟ้มสะสมผลงาน (3) การสอบสัมภาษณ์ 5. เครื่องมือการประเมินกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานของซัพพลายเชน (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก (2) แฟ้มสะสมผลงาน (3) การสอบสัมภาษณ์ 6. เครื่องมือการประเมินกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของซัพพลายเชน (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก (2) แฟ้มสะสมผลงาน (3) การสอบสัมภาษณ์
|