หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดตามผลการดำเนินงานของซัพพลายเชน

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-BRVY-359A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดตามผลการดำเนินงานของซัพพลายเชน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

1219 ผู้จัดการด้านการบริการธุรกิจและการบริหารจัดการ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

    ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการติดตามผลการดำเนินงานทั้ง 5 ด้านของซัพพลายเชน ได้แก่ ผลการดำเนินงานด้านความพึงพอใจของลูกค้า ด้านประสิทธิภาพของกระบวนการ ด้านการเงินและการควบคุมงบประมาณ ด้านการเรียนรู้และการพัฒนางาน และด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร ขอบเขตความรับผิดชอบรวมถึงการเก็บ หรือจัดให้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานที่องค์กรกำหนดไว้ในขั้นตอนการวางแผนกลยุทธ์และเป้าหมายในการดำเนินงาน การทบทวนผลการดำเนินงานโดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่เป็นนโยบายขององค์กร การรายงานผลการดำเนินงานไปยังผู้บริหารในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งควบคุมดูแล ประสานงานกับผู้ที่รับผิดชอบ เพื่อให้มีการแก้ไขปรับปรุงการทำงานในกรณีที่ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
010103.1 เก็บข้อมูลผลการดำเนินงาน

1.รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานจากหน่วยงานต่างๆ

2.ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลผลการดำเนินงานของหน่วยงานในซัพพลายเชน

010103.2 วิเคราะห์ผลการดำเนินงาน

1.วิเคราะห์ผลการดำเนินงานโดยประเมินสถานะของการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานในซัพพลายเชน

2. กำหนดทางเลือกในการพัฒนาวิธีการดำเนินงาน

010103.3 สรุปผลการดำเนินงาน

1.สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงาน

2. จัดทำรายงานผลการดำเนินงานด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นปัจจุบันและตรงตามกลุ่มเป้าหมาย

010103.4 วางแผนการปรับปรุงผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย

1.กำหนดวัตถุประสงค์การปรับปรุงเพื่อให้ผลการดำเนินการด้านต่างๆเป็นไปตามเป้าหมาย

2. กำหนดผู้รับผิดชอบในการปรับปรุงผลการดำเนินงาน

3. กำหนดระยะเวลาในการปรับปรุงผลการดำเนินงานให้ชัดเจน


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1) ทักษะในการจัดลำดับความสำคัญ

(2) ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล

(3) ทักษะในการบริหารความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง 

(4) ทักษะในการตัดสินใจด้วยข้อมูลที่มีอยู่


(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1) ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของแต่ละกิจกรรมในซัพพลายเชน

(2) ความรู้เกี่ยวกับตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการบริหารซัพพลายเชน



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   (1) แฟ้มสะสมผลงานที่แสดงถึงประสบการณ์ในการบริหารซัพพลายเชน

   (2) หลักฐานการผ่านงานจากสถานประกอบการ และใบบันทึกผลการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   (1) หลักฐานการอบรมในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการวัดผลการดำเนินงานของซัพพลายเชน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

   (1) ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่สอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

(ง) วิธีการประเมิน

   (1) การประเมินความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับความรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

   (2) การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน หรือการสัมภาษณ์ 



15. ขอบเขต (Range Statement)

   ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

   (1) ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงถึงความเข้าใจในหลักการในการวัดผลการดำเนินงานทุกด้านของซัพพลายเชน

   (2) การปฏิบัติงานในทุกขั้นตอนต้องเป็นไปตามนโยบายขององค์กร กฎระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานประกอบด้วย

   (1) วัดผลด้านความพึงพอใจของลูกค้า 

   (2) วัดผลด้านประสิทธิภาพของกระบวนการ 

   (3) วัดผลด้านการเงินและการควบคุมงบประมาณ 

   (4) วัดผลด้านการเรียนรู้และการพัฒนางาน

   (5) วัดผลด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมินการเก็บข้อมูลผลการดำเนินงาน   

  (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  (2) แฟ้มสะสมผลงาน

  (3) การสอบสัมภาษณ์

2. เครื่องมือการประเมินการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน

  (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  (2) แฟ้มสะสมผลงาน

  (3) การสอบสัมภาษณ์

3. เครื่องมือการประเมินการสรุปผลการดำเนินงาน

  (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  (2) แฟ้มสะสมผลงาน

  (3) การสอบสัมภาษณ์

4. เครื่องมือการประเมินการวางแผนการปรับปรุงผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย

  (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  (2) แฟ้มสะสมผลงาน

  (3) การสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ