หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินการจัดการคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยี

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-TJGG-350A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินการจัดการคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยี

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2421 นักวิเคราะห์ด้านการบริหารและองค์การ


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

   หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับทักษะและความรู้ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับประเมินผลการจัดการคลังสินค้า ตั้งแต่วิเคราะห์การคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยี และประเมินผลการวางแผนการจัดการคลังสินค้า โดยใช้ระบบเทคโนโลยีช่วยในการประเมินการจัดการคลังสินค้า


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
030102.1 วิเคราะห์การจัดการคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยี

1.กำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินการจัดการคลังสินค้า

2.รวบรวมผลข้อมูลการปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ในการประเมินการจัดการคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยี

3.วิเคราะห์ข้อมูลการปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ในการประเมินการจัดการคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยี

030102.2 ประเมินผลการจัดการคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยี

1.กำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายในการประเมินตามวัตถุประสงค์

2. ประเมินผลการจัดการคลังสินค้าเทียบกับเป้าหมาย

3. นำเสนอรายงานสรุปผลการประเมินการจัดการคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยี


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1) ทักษะในการใช้เทคโนโลยีในวิเคราะห์และการประเมินการจัดการคลังสินค้า

(2) ทักษะในการเขียนรายงานสรุปการประเมินผลการจัดการคลังสินค้า


(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1) ความรู้ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการประเมินผลการจัดการคลังสินค้า

(2) ความรู้ด้านการประเมินผลการจัดการคลังสินค้า



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินผลและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   (1)  หนังสือรับรองการทำงานจากหน่วยงาน/สถานประกอบการ หรือ

   (2)  หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคลังสินค้าจากหน่วยงาน/สถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   (1) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรแสดงถึงการผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคลังสินค้า หรือ

   (2) ใบรับรองผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคลังสินค้า 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

   (1) ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่สอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

(ง) วิธีการประเมิน

   (1) การประเมินความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

   (2) การประเมินความรู้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้พิจารณาจากการสัมภาษณ์



15. ขอบเขต (Range Statement)

   ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

   (1) ผู้รับการประเมินจะต้องสามารถกำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินการจัดการคลังสินค้าได้ 

   (2) ผู้รับการประเมินจะต้องสามารถรวบรวมผลข้อมูลการปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ในการประเมินการจัดการคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยีได้ 

   (3) ผู้รับการประเมินจะต้องสามารถวิเคราะห์ข้อมูลการปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ได้ 

   (4) ผู้รับการประเมินจะต้องสามารถกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายในการประเมินตามวัตถุประสงค์ได้ 

   (5) ผู้รับการประเมินจะต้องสามารถประเมินผลการจัดการคลังสินค้าเทียบกับเป้าหมายได้ 

   (6) ผู้รับการประเมินจะต้องสามารถนำเสนอรายงานสรุปผลการประเมินการจัดการคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยีได้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   (1) การกำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินการจัดการคลังสินค้า เช่น การจัดการคลังสินค้า, การใช้พื้นที่คลังสินค้า, การวางแผนทรัพยากรบุคคลภายในคลังสินค้า, การจัดการสินค้าไม่เคลื่อนไหว, ระยะเวลาถือครองสินค้า, อัตราการหมุนเวียนสินค้าภายในคลัง เป็นต้น และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินการจัดการคลังสินค้า

   (2) การรวบรวมผลข้อมูลการปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ในการประเมินการจัดการคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยี เช่น ระบบการวางแผนทรัพยากรขององค์กรโดยรวม (Enterprise Resource Planning  : ERP), ระบบจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System : WMS), RFID (Radio Frequency Identification), Barcode, ระบบจัดเก็บสินค้าอัตโนมัติ (Automated Storage and Retrieval System : AS/RS) และระบบเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 

   (3) การวิเคราะห์ข้อมูลการปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ในการประเมินการจัดการคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยี เช่น ERP, WMS, Business Intelligence (BI), SPSS (Statistical Package for the Social Science for Windows) หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

   (4) กำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายในการประเมินตามวัตถุประสงค์ เช่น สัดส่วนพื้นที่คลังที่ใช้ประโยชน์, สัดส่วนสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว, อัตราจำนวนสินค้าสำเร็จรูปขาดมือ, สัดส่วนมูลค่าสินค้าที่ถูกตีกลับต่อยอดขาย, อัตราความแม่นยำของสินค้าคงคลัง, ต้นทุนการบริหารคลังสินค้าต่อยอดขาย เป็นต้น 

   (5) การประเมินผลการจัดการคลังสินค้าเทียบกับเป้าหมาย มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น สัดส่วนมูลค่าสินค้าที่ถูกตีกลับต่อยอดขาย ต้องไม่เกิน 10% ของยอดขาย, อัตราจำนวนสินค้าสำเร็จรูปขาดมือ ต้องไม่เกิน 5% ของยอดเบิกจ่าย เป็นต้น 

   (6) การนำเสนอรายงานสรุปผลการประเมินการจัดการคลังสินค้าด้วยระบบเทคโนโลยี เช่น BI (Business Intellengce), ERP, WMS ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1 เครื่องมือการประเมินการวิเคราะห์การจัดการคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยี

  (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  (2) การสอบสัมภาษณ์

2. เครื่องมือการประเมินผลการจัดการคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยี

  (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  (2) การสอบสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ