หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ผลิตยางเครพตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-LFBV-270A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ผลิตยางเครพตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการแปรรูปผลผลิตยางพารา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการผลิตยางเครพตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจใน มาตรฐานผลิตยางเครพกรมวิชาการเกษตร วิธีการผลิตยางเครพตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร วิธีการรักษาคุณภาพผลผลิตยางเครพ หลักการขั้นพื้นฐานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของการผลิตยางเครพ และทีทักษะได้แก่ สามารถกำหนดและเลือกวัสดุ อุปกรณ์ การผลิตยางเครพได้อย่างถูกต้อง สามารถผลิตยางเครพได้อย่างเหมาะสม สามารถกำหนดสารเคมีในการรักษาคุณภาพผลผลิตยางเครพได้อย่างถูกต้อง สามารถกำหนดสถานที่จัดเก็บผลผลิตยางเครพได้อย่างเหมาะสม สามารถกำหนดและเลือกวิธีการและอุปกรณ์ตามหลักการขั้นพื้นฐานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของการผลิตยางเครพได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
C151 ผลิตยางเครพตามได้มาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร

1) อธิบายมาตรฐานผลิตยางเครพของกรมวิชาการเกษตรได้

2) อธิบายวิธีการผลิตยางเครพตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตรได้

3) กำหนดวัสดุ อุปกรณ์ การผลิตยางเครพได้อย่างถูกต้อง

4) เลือกวัสดุ อุปกรณ์ การผลิตยางเครพได้อย่างถูกต้อง

5) ดำเนินการผลิตยางเครพได้อย่างถูกวิธี

C152 รักษาคุณภาพผลผลิตยาง เครพ

1) อธิบายวิธีการรักษาคุณภาพผลผลิตยางเครพได้

2) ระบุสารเคมีในการรักษาคุณภาพผลผลิตยางเครพได้อย่างถูกต้อง

3) กำหนดสถานที่จัดเก็บผลผลิตยางเครพได้อย่างถูกต้อง

4) ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพยางเครพได้อย่างถูกต้อง

C153 ปฏิบัติตามสุขอนามัยขั้นพื้นฐานในการผลิตยางเครพ

1) อธิบายหลักการขั้นพื้นฐานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของการผลิตยางเครพได้

2) กำหนดวิธีการและอุปกรณ์ตามหลักการขั้นพื้นฐานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของการผลิตยางเครพได้อย่างถูกต้อง

3) เลือกวิธีการและอุปกรณ์ตามหลักการขั้นพื้นฐานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของการผลิตยางเครพได้อย่างถูกต้อง


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การทดสอบ และการสรุปผลการจัดการผลิตยางเครพตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร
2) มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น กำหนด รักษาและตัดสินใจเลือกในการจัดการผลิตยาง
เครพตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตรได้แก่ ผลิตและรักษาคุณภาพยางเครพ
3) มีทักษะในการสื่อสาร อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานให้ถูกต้อง
4) มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) มีความรู้ในผลิตยางเครพตามได้มาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร
2) มีความรู้ในการรักษาคุณภาพผลผลิตยางเครพ
3) มีความรู้ในสุขอนามัยขั้นพื้นฐานในการผลิตยางเครพ

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)
          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้
2) ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา
2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ
3) ผลการสอบข้อเขียน
4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน
2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน
3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด
(ง) วิธีการประเมิน
1) การสอบข้อเขียน
2) การสอบสัมภาษณ์
3) การสอบปฏิบัติ

15. ขอบเขต (Range Statement)
          ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และและนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการการผลิตยางเครพตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
          1. ผลิตยางเครพตามได้มาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร
          1) ยางเครพ หมายถึง ยางที่ผลิตจากเครื่องรีดเครพมีลักษณะติดกันเป็นผืนยาว พื้นผิวอาจจะเรียบหรือขรุขระ หรืออาจมีช่องว่างในผืนนั้น ๆ ได้ ส่วนสีของยางเครพมีตั้งแต่สีขาว สีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลแก่ และสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ ถ้าเป็นยางเครพขาว กำหนดความหนาไว้ 3–6 มม. ความยาวอยู่ที่ระดับ 1.5–2.5 เมตร มีความกว้าง 35–45 ซม.
เครื่องเครพ เป็นเครื่องจักรที่ประกอบด้วยลูกกลิ้ง 2 ลูก วางขนาดกันและหมุนเข้าหากันด้วยความเร็วต่างกัน ผิวของลูกกลิ้งเซาะร่องเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมีขนาดของดอกและความลึกต่างกัน ยางที่ผ่านเข้าไประหว่างลูกกลิ้งจะถูกบด อัด ฉีก ขณะเดียวกันเหนือผิวลูกกลิ้งจะมีน้ำฉีด ซึ่งจะช่วยชะล้างสิ่งสกปรกให้หลุดออกจากเนื้อยาง ทำให้ยางสะอาดขึ้น ยางที่ผ่านเครื่องเครพหลายๆครั้ง เนื้อยางติดกันเป็นผืนยาว
          2) การผลิตยางเครพจากยางก้อนถ้วยคุณภาพดี
          2.1 การผลิตยางเครพที่มีกำลังการผลิตวันละ 1–3 ตัน
          นำยางก้อนถ้วยคุณภาพดีน้ำหนักประมาณ 15 ถึง 20 กิโลกรัม ผ่านเครื่องรีดเครพหยาบ 8–12 ครั้ง ติดต่อกันโดยแผ่นยางที่ได้มีความหนา 5 – 10 มิลลิเมตร จากนั้นนำมาผ่านเครื่องรีดเครพละเอียดอีก 5–10 ครั้งติดต่อกัน โดยแผ่นยางที่ได้มีความหนา 1–3 มิลลิเมตร จะสังเกตได้ว่ายางที่รีดผ่านเครื่องรีดเครพในระยะแรกๆ จะค่อยๆ จับตัวติดกัน มีความสม่ำเสมอกันมากขึ้นและผสมเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อยางผ่านเครื่องเครพ หลายๆครั้ง จะได้ยางที่ติดกันเป็นผืนยาว จากนั้นนำยางเครพมาพับเพื่อนำไปผึ่งให้แห้งต่อไป
          ลักษณะภายนอกของยางเครพที่รีดใหม่ เนื้อยางเป็นสีขาวอมเทาเล็กน้อย มีความหนาของแผ่นโดยเฉลี่ย 1–3 เมตร มีปริมาณเนื้อยางแห้งเฉลี่ย 60% ยางเครพที่ผลิตได้นำไปผึ่งให้แห้งในโรงเรือนที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกนาน 12-15 วัน หากปริมาณการผลิตเพิ่มมากขึ้นมากกว่าวันละ 3 ตัน ควรเพิ่มเครื่องรีดเครพดอกหยาบเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการผลิต
          การวางเครื่องรีดเครพแบบเคลื่อนที่ไปข้างหน้าค่อนข้างเหมาะสมกับการใช้สายพาน (Belt Conveyor) ในการรับส่งยางจากเครื่องแรกไปยังเครื่องถัดไป ซึ่งการวางเครื่องเครพวิธีนี้มักใช้ในโรงงานขนาดใหญ่ ส่วนการวางเครื่องเครพแบบเคลื่อนที่ด้านข้างเหมาะสำหรับการรีดเครพที่ใช้แรงงานคน สามารถรีดซ้ำๆ ได้ตามจำนวนครั้งที่ต้องการ ยางที่รีดแล้วจะจัดกองไว้ด้านข้างคนงาน และนำยางเข้ารีตในเครื่องถัดไปได้เลย
          2.2 การผลิตยางเครพที่มีกำลังผลิตวันละ 5–10 ตัน
          การผลิตยางเครพที่มีกำลังผลิตสูงกว่า 5 ตันนั้น จำเป็นต้องเลือกใช้เครื่องจักรที่เหมาะสมมาเพิ่มในกระบวนการผลิตจะทำให้การผลิตยางเครพมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเครื่องจักรแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ เครื่องจักรหลักและเครื่องจักรเสริม
          เครื่องจักรหลัก ได้แก่ เครื่องตัดลดขนาด (Slab cutter) เป็นเครื่องจักรลดขนาดยางให้มีขนาดเล็กลง โดยการทำงานของใบมีดชนิดเคลื่อนที่ที่ยึดติดกับแกนหมุนไปตามความยาวของแกนจำนวน 7–9 ใบมีด ใบมีดบนแกนหมุนจะหมุนผ่านใบมีดชนิดไม่เคลื่อนที่ ซึ่งยึดติดอยู่กับห้องตัดอย่างมั่นคงและแข็งแรง เมื่อส่งก้อนยางเข้าไปในห้องตัด ก้อนยางจะถูกตัดให้เล็กลง จนผ่านรูตะแกรงขนาด 1 นิ้ว, 2 นิ้ว หรือ 3 นิ้ว ตามต้องการ ยางที่ตัดแล้วจะตกลงในบ่อกวนเพื่อล้างให้สะอาด
          เครื่องจักรเสริม ได้แก่ เครื่องจักรชนิดลำเลียง เช่น ตะกร้าตักยาง (Bucket elevator) และสายพานลำเลียง (Belt elevator) สามารถทำงานหนักแทนแรงคนได้เป็นอย่างดี ตะกร้าตักยางจะตักยางครั้งละ 10–15 กก. เทลงในเครื่องเครพที่บดผสมและล้างให้สะอาดตามลำดับ โดยมีสายพานลำเลียงเป็นตัวนำยางจนยางจับตัวเป็นผืนเครพ ซึ่งในเครื่องเครพตัวสุดท้ายจะได้ยางเครพเป็นผืนยาว กว้างประมาณ 30–40 ซม. ความหนา 1–3 มิลลิเมตร ความยาว 5–10 เมตร แต่สามารถตัดให้มีความยาวตามความเหมาะสมของโรงหรือรถตากได้
          3) ข้อกำหนดยางเครพจากยางก้อนถ้วยคุณภาพดี
3.1 ต้องผลิตจากยางก้อนถ้วยสดคุณภาพดีที่มีอายุการเก็บไม่เกิน 3 วัน
3.2 มีขนาดความกว้างประมาณ 50 ซม. หนาประมาณ 3–5 ซม. และยาว 1–2 เมตร
3.3 ไม่มีสิ่งปลอมปนใดๆ ปรากฏบนแผ่นยาง
3.4 มีปริมาณความชื้นไม่เกินกว่า 3%
          4) มาตรฐานยางเครพจากยางก้อนถ้วยคุณภาพดี
4.1 ยางเครพชั้น 1
- ความหนาของแผ่นยางตลอดทั้งแผ่นต้องไม่เกิน 5 มิลลิเมตร
- ลักษณะเม็ดยางในแผ่นมีขนาดไม่เกิน 3 มิลลิเมตร และมีขนาดสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น
- ผิวของแผ่นยางดูเรียบ สวยงาม ไม่ขรุขระจนเกินไปและไม่เหนียวเยิ้ม
- ไม่มีจุดขาวบนแผ่นยาง และเนื้อยาง
- แผ่นยางมีสีน้ำตาลตลอดทั้งแผ่น
- มีความสะอาดตลอดแผ่น ไม่มีวัตถุปลอมปนและสิ่งปนเปื้อนใดๆ
- แผ่นยางมีความยาว 5-10 เมตร
- มีความชื้นในแผ่นยางไม่เกิน 1.5%
- แผ่นยางมีความเหนียวแน่นดีไม่เปื่อยขาดง่าย
4.2 ยางเครพชั้น 2
- ความหนาของแผ่นยางตลอดทั้งแผ่นต้องไม่เกิน 5 มิลลิเมตร
- ลักษณะเม็ดยางในแผ่นมีขนาดไม่เกิน 3 มิลลิเมตร และมีขนาดสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น
- ผิวของแผ่นยางดูเรียบ สวยงาม ไม่ขรุขระจนเกินไปและไม่เหนียวเยิ้ม
- อนุญาตให้มีจุดขาวบนแผ่นยางได้ไม่เกินขนาดเมล็ดถั่วเขียว
- แผ่นยางมีสีน้ำตาล อนุญาตให้มีริ้วรอยได้บ้างเล็กน้อย
- มีความสะอาดตลอดแผ่นยาง อนุญาตให้มีเปลือกไม้ละเอียดปนเปื้อนได้บ้างเล็กน้อย
- แผ่นยางมีความยาว 5-10 เมตร
- แผ่นยางมีความเหนียวแน่นดี ไม่เปื่อยขาดง่าย
4.3 ยางเครพชั้น 3
- ความหนาของแผ่นยางตลอดทั้งแผ่น ต้องไม่เกิน 5 มิลลิเมตร
- ลักษณะเม็ดยางในแผ่นมีขนาดไม่เกิน 3 มิลลิเมตร หรือใหญ่กว่าปะปนอยู่ได้บ้างเล็กน้อย
- ผิวของแผ่นยางดูเรียบพอประมาณ และยางมีความเหนียวแน่น แข็งแรงดี ไม่มีรอยเหนียวเยิ้ม
- อนุญาตให้มีจุดขาวบนแผ่นยางได้ไม่เกินขนาดเมล็ดถั่วเขียว
- แผ่นยางมีสีน้ำตาล มีจุดดำคล้ำ และริ้วรอยได้บ้างกระจายอยู่ทั่วไป
- แผ่นยางมีความสะอาด อนุญาตให้มีเปลือกไม้ละเอียดปนเปื้อนได้บ้างเล็กน้อย
- แผ่นยางมีความยาว 5-10 เมตร
- แผ่นยางมีความเหนียวแน่นดี ไม่เปื่อยขาดง่าย
          5) การใช้ประโยชน์จากยางเครพ ยางเครพเป็นยางดิบประเภทหนึ่งที่ผลิตจากยางก้อนถ้วย ยางก้อน เศษยาง จนถึงยางที่มีคุณภาพต่ำกว่า จึงทำให้เกิดยางเครพคุณภาพต่าง ๆ มากมายไว้สำหรับให้ผู้ใช้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม เช่น นำมาใช้แปรรูปเป็นวัตถุดิบเริ่มต้นในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางพาราโดยตรง ได้แก่ ยางเครพขาวหรือยางเครพสีจาง ซึ่งสามารถนำมาใช้ผลิตอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการสีสัน ส่วนยางเครพสีน้ำตาลชนิดบางสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบเริ่มต้นในการผลิตยางยางแท่งมาตรฐานที่ไม่ต้องใช้กระบวนการอบด้วยความร้อน ซึ่งยางแท่งที่ได้จากกระบวนการนี้มีสมบัติด้านความยืดหยุ่นดีกว่ายางแท่งที่มีกระบวนการผลิตโดยผ่านการอบด้วยความร้อน และถ้ามีการควบคุมการผลิตที่ดี สามารถผลิตเป็นยางแท่งคุณภาพสูง เช่น ยางแท่งเกรด STR 5 หรือ STR 10 ได้
          นอกจากนี้ เมื่อพิจารณากระบวนการผลิตยางเครพชนิดบาง (thin crepe) จากยางก้อนถ้วยคุณภาพดีต่อเนื่องไปจนถึงกระบวนการนำยางเครพที่ได้ไปผลิตเป็นยางแท่งมาตรฐาน จะเห็นได้ว่ากระบวนการดังกล่าวก่อให้เกิดมลภาวะน้อยกว่า และพลังงานที่ใช้ในการผลิตก็น้อยกว่าการผลิตยางแท่งมาตรฐานปกติ เนื่องมาจากเมื่อเกษตรกรผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพดีแล้วจากนั้นนำไปผลิตเป็นยางเครพสีน้ำตาลชนิดบางเลย ก็จะมีโอกาสที่จะเกิดการปนเปื้อนของสิ่งสกปรกน้อยลง จึงทำให้ลดขั้นตอนการหมักของวัตถุดิบและลดพลังงานในการคัดแยกสิ่งสกปรกออกจากวัตถุดิบของกระบวนการผลิตยางแท่ง ผลพลอยได้ที่ตามมาคือทำให้เกิดกลิ่นลดลง และเมื่อไม่ต้องใช้ความร้อนในการอบให้แห้งก็จะลดการใช้พลังงานด้วย
          2. การรักษาคุณภาพผลผลิตยางเครพ
          คุณภาพยางเครพ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบและกระบวนการผลิต  โดยยางเครพที่ผลิต จากน้ำยางสดโดยตรง ได้แก่ ยางเครพขาวและเครพสีจาง (White and Pale crepe) จะเป็น ยางเครพที่มีคุณภาพดี ส่วนยางเครพที่ผลิตจากยางก้อนถ้วย (cup lump) ที่สะอาดก็จะได้ยางเครพ คุณภาพดีเช่นกัน ส่วนเศษยางจากคลองกรีด (tree lace) เศษยางตามเปลือกไม้ (bark scrap) ผลิต ได้เป็นยางเครพคุณภาพต่ำ จึงทำให้ยางเครพที่ได้มีหลากหลายชนิดตามแต่ชนิดของวัตถุดิบและ กระบวนการผลิตตลอดจนถึงความต้องการของลูกค้า แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยผลิต ยางเครพในรูปแบบทางการค้าน้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะผลิตเป็นยางเครพขาว แต่ในปัจจุบันเกษตรกร ชาวสวนยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 65 หันกลับมาผลิตยางก้อนถ้วย เนื่องจากในหลายท้องที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำที่จะนำมาใช้กระบวนการผลิต อีกทั้งกระบวนการผลิตยางก้อน ถ้วยมีขั้นตอนในการผลิตที่ง่ายกว่าการผลิตยางแผ่นดิบ อย่างไรก็ตามการที่เกษตรกรหันมาแปรรูปยาง ด้วยการผลิตยางก้อนถ้วยนั้นยังมีจุดอ่อนในเรื่องการหาปริมาณเนื้อยางแห้งที่ถูกต้องสำหรับใช้ในการซื้อ ขาย และส่วนใหญ่การประเมินราคาซื้อขายยางก้อนถ้วยนั้น เกษตรกรมักจะได้ราคาต่ำกว่าความเป็น จริงประมาณร้อยละ 10 – 15 เสมอ ดังนั้นฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยางจึงมีนโยบายที่จะ พัฒนาการผลิตยางก้อนถ้วยของเกษตรกรให้ได้ยางดิบที่มีมาตรฐานและมีศักยภาพทางการตลาด ตลอดจนสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบเริ่มต้นของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางต่อไป ซึ่งจะเห็นได้ว่าการ ผลิตยางเครพจากยางก้อนถ้วยคุณภาพดีจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่น ามาใช้พัฒนาการผลิตยางก้อนถ้วย คุณภาพดีและยังเป็นการแปรรูปเพิ่มมูลค่ายางพาราให้แก่เกษตรกร ตลอดจนยังลดปัญหาและข้อจำกัด ในเรื่องการประเมินราคาซื้อขายในยางก้อนถ้วยอีกด้วย
ปัจจัยในการรักษาคุณภาพของผลผลิตยางเครพ
1) ต้องผลิตจากยางก้อนถ้วยสดคุณภาพดีที่มีอายุการเก็บไม่เกิน 3 วัน
2) มีขนาดความกว้างประมาณ 50 ซม. หนาประมาณ 3 – 5 ซม. และยาว 1 –2 เมตร
3) ไม่มีสิ่งปลอมปนใด ๆ ปรากฏบนแผ่นยาง
4) มีปริมาณความชื้นไม่เกินกว่า 3% ขั้นตอนการผลิตยางเครพจากยางก้อนถ้วยคุณภาพดีก าลังการผลิตวันละ 5 – 10 ตัน
          3. ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยขั้นพื้นฐานในการผลิตยางเครพ
          ในเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัยขั้นพื้นฐานในการผลิตยางเครพใช้หลักและแนวคิดการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน(SHE)
          1) แนวคิดเรื่อง การจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน(SHE)
          ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน” หมายความว่าการกระทำหรือสภาพการทำงานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจหรือสุขภาพอนามัยอันเนื่องจากการทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงานสภาพสังคมไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมอุตสาหกรรมมากขึ้น มีการใช้แรงงานที่ต้องเสี่ยงต่ออันตรายมากขึ้น ความปลอดภัยและสุขภาพของผู้ใช้แรงงานในการทำงาน จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ทุกคนต้องตระหนักและใส่ใจตลอดเวลาเพราะผลจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือผลของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น นอกจากจะก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ตนเองแล้ว ยังส่งผลกระทบไปถึง บุตร ภรรยา พ่อแม่พี่น้องอีกด้วย ซึ่งเป็นความสูญเสียที่เกินกว่าที่คาดคิดหรือเรียกกลับคืนมาได้บางครั้งอุบัติเหตุยังทิ้งร่องรอยของความข่มขื่นเอาไว้อีกตลอดชีวิต เช่น ความพิการ ความเจ็บปวดทรมาน บางธุรกิจอุตสาหกรรม อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอาจหมายถึงความสิ้นเนื้อประดาตัว 6 ไม่เพียงแต่ขององค์กร ยังมีผลต่อสภาพแวดล้อมและสังคมโดยรอบอีกด้วย เช่น ไฟไหม้โรงงาน ระเบิด พนักงานและชุมชนโดยรอบได้รับสารอันตราย ซึ่งอาจถึงแก่ชีวิตได้การดำเนินงานด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อลดอุบัติเหตุและการสูญเสีย ใน สถานประกอบกิจการนั้น เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกคนในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหาก นายจ้างหรือฝ่ายบริหารมีความมุ่งมั่น และเป็นผู้นำที่ต้องการให้พนักงาน หรือสถานประกอบการ ของตนมีความปลอดภัย การจัดการทางด้านความปลอดภัยย่อมดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว และง่าย มากยิ่งขึ้น การจัดการ คือ กระบวนการที่จะบรรลุความสำเร็จ ขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล โดยการวางแผนการจัดองค์กร การนำและการควบคุม ในปัจจุบันภาครัฐได้ออก กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 21 มิถุนายน 2549 ข้อกำหนด ของกฎหมายในหลายๆ หัวข้อทำให้สถานประกอบการต้องหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องการจัดการ ทางด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท างานมากยิ่งขึ้น ในหลายสถาน ประกอบการเลือกที่จะจัดทำระบบทางด้านความปลอดภัย โดยอาศัยมาตรฐานจากกระทรวง อุตสาหกรรมและกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และใช้มาตรฐานระบบการจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม18001: 2542) เป็นแนวทางใน การนำไปปฏิบัติทั้งนี้มิได้มีจุดมุ่งหมายเพียงการแก้ไขปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการ ทำงาน แต่ยังครอบคลุมถึงแนวทางในการป้องกันมิให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพและอุบัติเหตุต่างๆ ต่อ ผู้ปฏิบัติงาน และสังคมโดยรอบ
          2) ลักษณะงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 
          คณะกรรมการร่วมระหว่างองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization; ILO) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) ได้กำหนด จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยไว้ดังนี้คือ 1) การส่งเสริมและดำรงไว้ (promotion and maintenance) ซึ่งความสมบูรณ์ที่สุดของ สุขภาพร่างกายจิตใจและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ประกอบอาชีพในทุกอาชีพ 2) การป้องกัน (prevention) ไม่ให้ผู้ประกอบอาชีพมีสุขภาพอนามัยเสื่อมโทรมหรือ ผิดปกติอันมีสาเหตุมาจากสภาพหรือสภาวะในการท างานต่างๆ 3) การป้องกันคุ้มครอง (protection) ผู้ประกอบอาชีพไม่ให้ทำงานที่เสี่ยงอันตราย ซึ่ง จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพขึ้นได 4) การจัดงาน (placing) ให้ผู้ประกอบอาชีพได้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับ ความ สามารถของร่างกายและจิตใจของเขา 5) การปรับ (adaptation) งานให้เหมาะสมกับคน และการปรับคนให้เหมาะสมกับ สภาพการทำงาน
          3) แนวคิดพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
          การกำกับดูแลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างานในประเทศไทย ได้มีพัฒนาการตามยุค สมัยเรื่อยมา โดยมีการออกกฎหมายให้มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ด้านแรงงาน รวมทั้ง สอดคล้องกับภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม กฎหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการท างานเป็นมาตรฐานขั้นต่ำใช้สำหรับการบริหารจัดการในสถานประกอบ กิจการ เพื่อคุ้มครองให้ลูกจ้างทำงานอย่างปลอดภัย โดยวิวัฒนาการของกฎหมายด้าน ความปลอดภัยในการท างานเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2515 โดยมีการออกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2519 เป็นต้นมา กระทรวงมหาดไทย ได้ออกประกาศ กระทรวงมหาดไทยกำหนดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยสำหรับลูกจ้าง และ พัฒนามาเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในหมวดที่ 8 เรื่อง ความปลอดภัย อาชีว อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อเป็นกฎหมายคุ้มครองความปลอดภัย สุขภาพอนามัย และสวัสดิการของลูกจ้างที่ดียิ่งขึ้น ปัจจุบันการพัฒนางานทางด้านความปลอดภัยในการท างานของ ประเทศไทยภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 นั้นยังมีปัญหาอุปสรรคมากมาย ดังนั้น กระทรวงแรงงานจึงได้ประกาศกฎหมายใหม่ คือ พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 เพื่อให้ทันสมัยและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและการจัดการในเรื่องความปลอดภัยของผู้ใช้แรงงานในปัจจุบัน ดังนั้น นายจ้างหรือผู้ที่ ท างานด้านความปลอดภัย รวมทั้งผู้ใช้แรงงานควรจะต้องศึกษาถึงข้อกำหนดต่างๆ ในข้อกฎหมาย เพื่อจะได้วางแผนงานการดำเนินการด้านความปลอดภัยในการทำงาน ให้สอดคล้องกับ พรบ.ความ ปลอดภัยฯ พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2553 เล่มที่ 128 ตอนที่ 4ก. ราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 17 มกราคม 2554 มาตรา 3 ให้ยกเลิกหมวด 8 ความปลอดภัย 
          อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มาตรา 100-107 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)
1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน
2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้
3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ
4) ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์

ยินดีต้อนรับ