หน่วยสมรรถนะ
ผลิตไม้ยางพาราเพื่อการตลาด
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ARC-RSQQ-269A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ผลิตไม้ยางพาราเพื่อการตลาด |
3. ทบทวนครั้งที่ | N/A / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการแปรรูปผลผลิตยางพารา
|
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการผลิตไม้ยางพาราเพื่อการตลาด โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจใน มาตรฐานการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน มาตรฐานการผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็น ไม้สับ (Wood chip) และมาตรฐานการผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้ และมีทักษะได้แก่ สามารถกำหนดแนวทางการจัดการและตัดโค่น สวนยางพาราได้อย่างถูกต้อง สามารถระบุไม้ยางพาราที่ได้มาจากการจัดการตามมาตรฐานได้อย่างถูกต้อง สามารถกำหนดแนวทางผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นไม้สับ (Wood chip) ได้อย่างถูกต้อง สามารถระบุไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นไม้สับ (Wood chip) ได้อย่างถูกต้อง สามารถกำหนดแนวทางผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็น เฟอร์นิเจอร์ได้อย่างถูกต้อง และสามารถระบุไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้อย่างถูกต้อง
|
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา
|
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล
|
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) |
---|---|
C141 ผลิตไม้ยางพาราได้มาตรฐานและคุณภาพตามมาตรฐานการจัดการอย่างยั่งยืน |
1) อธิบายมาตรฐานการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนได้ 2) กำหนดแนวทางการจัดการและตัดโค่น สวนยางพาราได้อย่างถูกต้อง 3) ระบุไม้ยางพาราที่ได้มาจากการจัดการตามมาตรฐานได้อย่างถูกต้อง |
C142 ผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นไม้สับ (Wood chip) |
1) อธิบายมาตรฐานการผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็น Wood chip ได้ 2) กำหนดแนวทางผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็น Wood chip(by product จากต้นยาง) ได้อย่างถูกต้อง 3) ระบุไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็น Wood chip ได้อย่างถูกต้อง |
C143 ผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ |
1) อธิบายมาตรฐานการผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้ 2) กำหนดแนวทางผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้อย่างถูกต้อง 3) ระบุไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้อย่างถูกต้อง |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ
1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การทดสอบ และการสรุปผลการผลิตไม้ยางพาราเพื่อการตลาด
2) มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น กำหนด ตัดสินใจเลือก ระบุ ในการการผลิตไม้ยางพาราเพื่อการตลาด
3) มีทักษะในการสื่อสาร อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานการผลิตไม้ยางพาราเพื่อการตลาดให้ถูกต้อง
4) มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน
(ข) ความต้องการด้านความรู้
1) มีความรู้ในการผลิตไม้ยางพาราได้มาตรฐานและคุณภาพตามมาตรฐานการจัดการอย่างยั่งยืน
2) มีความรู้ในการผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็น Wood chip
3) มีความรู้ในการผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์
|
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้
2) ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา
2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ
3) ผลการสอบข้อเขียน
4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน
2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน
3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด
(ง) วิธีการประเมิน
1) การสอบข้อเขียน
2) การสอบสัมภาษณ์
3) การสอบปฏิบัติ
|
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
1.ผลิตไม้ยางพาราได้มาตรฐานและคุณภาพตามมาตรฐานการจัดการอย่างยั่งยืน
การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน
- มาตรฐานการจัดการป่าอย่างยั่งยืนตามแนวทางที่ FSC กำหนดไว้ว่าต้องมีพื้นที่อนุรักษ์อย่างน้อยร้อยละ 10 ของพื้นที่สวนไม้ที่ขอรับรอง ทั้งนี้เพื่อเป็นการปกป้องความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
- 10 หลักการสำคัญในการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน (มาตรฐาน FSC)
1. การปฏิบัติตามกฎหมายและหลักการของมาตรฐาน FSC
กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย สนธิสัญญาภายในประเทศและต่างประเทศต่างอย่างเคร่งคัด รวมไปถึงการจ่ายค่าธรรมเนียมและภาษีอย่างถูกต้อง และต้องมีการจัดทำแผนและกระบวนการป้องกันพื้นที่สวนป่าอย่างชัดเจน
2. การเคารพต่อสิทธิการถือครองและใช้ประโยชน์ที่สวนป่าและการรับผิดชอบตามกฎหมาย
กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องมีหลักฐานการถือครองและใช้ประโยชน์พื้นที่สวนป่าอย่างถูกต้อง อาทิเช่น โฉนดที่ดินและส.ป.ก. การบริหารสวนป่าต้องเคารพและคุ้มครองสิทธิการถือครองและใช้ประโยชน์พื้นที่ของชุมชนท่องถิ่น
3. การเคารพต่อสิทธิชนพื้นเมือง
เกษตรกรและผู้ผลิตไม้แปรรูปหรือผลิตภัณฑ์ไม้ต้องเคารพสิทธิในการครอบครองและการจัดการป่าไม้ของคนพื้นเมือง และจะต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในแง่ร้ายต่อชนพื้นเมือง เช่นแหล่งที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของชนพื้นเมือง
4. การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและการเคารพต่อสิทธิของพนักงาน
กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องรักษาและส่งเสริมความเป็นอยู่ของพนักงานและชุมชนท้องถิ่นในด้านสังคม เศรษฐกิจและสวัสดิการความปลอดภัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โอกาสในการจ้างงาน การฝึกอบรม สิทธิต่าง ๆของพนักงาน และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชุมชนท้องถิ่น
5. การบริหารจัดการผลประโยชน์จากสวนป่า
กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องสนับสนุนการใช้ประโยชน์ผลผลิตจากสวนป่าให้เกิดประสิทธิภาพสูง เพื่อเป็นเน้นความสามารถทางด้านเศรษฐกิจ พร้อมคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคมในขณะเดียวกัน ดังนั้นการจัดการสวนป่าควรลดความสูญเสียของผลผลิตในขั้นตอนต่าง ๆให้ได้มากที่สุด และจำเป็นต้องคำนึงถึงการรักษาพื้นที่ที่มีความสำคัญและเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ที่จะช่วยเสริมคุณค่าและการใช้ประโยชน์ของป่าไม้และทรัพยากรต่าง ๆ
6. การป้องกันดูแลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและคุณค่าการอยู่ร่วมกัน ทรัพยากรดินและน้ำ ระบบนิเวศน์ที่มีลักษณะพิเศษและเปราะบาง รวมไปถึงความสมดุลทางนิเวศและความสมบูรณ์ของป่าไม้ ผ่านทางการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการจัดระบบป้องกันหรือลดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและชัดเจน
7. การจัดทำแผนการจัดการและดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องแผนการจัดการสวนป่าที่ชัดเจน และมีการตรวจสอบอยู่สม่ำเสมอ ซึ่งแผนการตรวจสอบนี้ต้องมีเป้าหมายระยะสั้นและยาวรวมถึงวิธีการปฏิบัติงานที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการอย่างละเอียด
8. การตรวจสอบติดตามและการศึกษาวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ
กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องดำเนินการตรวจสอบติดตามพร้อมศึกษาวิเคราะห์สวนป่าอย่างใกล้ชิดและเหมาะสมกับขนาดและปัจจัยต่าง ๆของสวนป่า ซึ่งต้องมีการเปรียบเทียบผลและศึกษาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง พร้อมเก็บข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆเกี่ยวกับสวนป่าไว้เพื่อเป็นการเปรียบเทียบและศึกษาต่อในอนาคต
9. การฟื้นฟูป่าไม้ที่มีคุณค่าสูงด้านการอนุรักษ์
กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องอนุรักษ์บำรุงและส่งเสริมคุณลักษณะของพื้นที่ป่าไม้ และต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆในการดำเนินกิจกรรมใด ๆที่เกี่ยวข้องกับสวนป่าอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยเฉพาะพื้นที่ป่าไม้ที่มีคุณค่าสูงต่อการอนุรักษ์ กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องมีการตรวจสอบ และกำหนดระบบการจัดการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่สำคัญนี้ พร้อมมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ
10. การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง
กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องมีการวางแผนการจัดการพื้นที่สวนป่าให้สอดคล้องกับหลักการทั้งหมดที่ผ่านมา และต้องส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าธรรมชาติ และลดแรงกดดันต่อป่าทรัพยากรธรรมชาติให้ได้มากที่สุด
2.แนวทางการจัดการและตัดโค่นสวนยางพารา
การโค่นไม้ยางพาราของเกษตรกรนั้นเกิดขึ้นเมื่อผลผลิตของน้ำยางพาราลดน้อยลงจนไม่คุ้มค่ากับการกรีดน้ำยางอีกต่อไป ตามระเบียบของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เกษตรกรเจ้าของสวนยางจะต้องยื่นขออนุญาตตัดโค่นและได้รับอนุญาตจากกองทุนสวนยางก่อน จากนั้นเกษตรกรจึงจะทำการติดต่อขายไม้กับนายหน้ารับซื้อไม้พ่อค้าคนกลาง หรือเจ้าหน้าที่จัดหาวัตถุดิบของโรงงานแปรรูปไม้ เมื่อตกลงราคาและนัดแนะเวลาการเข้าตัดโค่นกันได้แล้วผู้รับซื้อจำเป็นต้องจ้างทีมตัดโค่นเข้าไปตัดโค่นในสวนยางของเกษตรกร เนื่องจากการคัดโค่นไม้เป็นงานที่มีอันตรายจึงต้องอาศัยผู้ที่มีความชำนาญสูงและ ที่สำคัญเครื่องมือ หลักที่ใช้ในการตัดโค่น เช่น เลื่อยโซ่ยนต์ นั้นเป็นเครื่องมือควบคุมตาม พรบ. เลื่อยโซ่ยนต์ ที่ต้องได้รับการ อนุญาตจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเสียก่อนจึงจะสามารถครอบครองเลื่อยได้
การโค่นไม้ยางพาราในภาคใต้ส่วนใหญ่ทำในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม โดยการตัดโค่น ไม้ยางพารามีละต้นโดยใช้เลื่อยโซ่ยนต์คัดที่โคนต้นหรือใช้รถแบคโฮดันต้นยางให้ล้ม จากนั้นทำการตัด ริดกิ่งไม้ โดยใช้มีดและชักลากไม้มายังจุดตัดท่อนโดยการใช้รถแบคโฮ ในกรณีที่พื้นที่มีลักษณะลาดชันทำให้รถแบคโฮเข้า ไม่ได้ก็จะมีการนำช้างเข้ามาชักลาก-ลำเลียงไม้มายังตำแหน่งที่ต้องการ สำหรับการตัดท่อนไม้ยางพารามักใช้ เลื่อยโซ่ยนต์ตัดท่อนไม้โดยแยกตามขนาดที่โรงงานไม้รับซื้อ ได้แก่ ไม้ท่อนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเกิน 8 นิ้ว และ 5-8 นิ้ว สำหรับป้อนโรงเลื่อย ไม้ท่อนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 5-3 นิ้ว สำหรับป้อนโรงงานผลติแผ่น ใบไม้อัดและแผ่นชิ้นไม้อัด ที่เหลือเป็นกิ่งไม้และปลายไม้จะถูกขายสำหรับเป็นไม้ฟืนหรือนำไปผลิตถ่าน สำหรับการลำเลี้ยงไม้ยางพาราที่ตัดโค่นแล้วมักจะทำการลำเลี้ยงโดยใช้แรงงานคนขึ้นรถกระบะหรือรถบรรทุก (ความเหมาะสมขั้นอยู่กับความธุระกันดารในแต่ละพื้นที่) ส่วนรากของไม้ยางพาราเกษตรอาจจะว่าจ้างทีมตัดโค่นขุดหรือ ดันรากหรือตอไม้ขั้นมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ ขายในรูปของฟืน หรือขายให้กับโรงผลิตไฟฟ้าชีวมวล แต่หากรากไม้หรือตอไม้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้หรือใช้ได้แต่ไม่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ เกษตรกรก็เลือกที่จะใช้วิธีกองรวมและเผาในพื้นที่
3.ผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็น Wood chip
การผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็น Wood chip ซึ่งเป็นไม้สับคุณภาพดีที่ผลิตจากไม้ยางพารา นำมาผ่านกระบวนการสับย่อยให้กลายเป็นชิ้นเล็ก เพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงพลังงานทดแทนน้ำมันในอุตสาหกรรม ต่าง ๆ ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นในด้านการให้ค่าความชื้นต่ำ ให้ความร้อนสูง ราคาไม่สูงมาก อีกทั้งยังมีวัตถุดิบออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ Wood Chip กลายเป็นพลังงานทางเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากตลาดในปัจจุบัน
คุณสมบัติ/Specification
- ค่าความร้อน/Gross Calorific Value 2,700 - 3,300 kcal/kg
- ค่าความชื้น/Moisture Content 35 %
- ขี้เถ้า/Ash Content 6 - 10%
- ขนาด/Size 25x25-50x50mm.
ข้อดีของเชื้อเพลิงไม้สับ
1. ให้พลังงานความร้อนสูง
2. ค่าความชื้นต่ำกว่าไม้สับทั่วไป
3. เป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หนึ่งในก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas) ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน (Global Warming) เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาชีวมวลจะถูกหมุนเวียนกลับไปใช้โดยพืชเพื่อสังเคราะห์แสง (Carbon Offset)
4. ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเชื้อเพลิงพลังงานฟอสซิล เช่น น้ำมันเตา (Fuel Oil) ก๊าซธรรมชาติ (NGV) ก๊าซหุงต้ม (LPG)
4.ผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์
ไม้ยางพาราถูกใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์หลายรูปแบบจากเฟอร์นิเจอร์ภายใน เช่น ชุดโต๊ะอาหาร เฟอร์นิเจอร์รับแขก ตู้ รวมไปถึงชุดสนาม (ในสวน) เฟอร์นิเจอร์ ไม้ยางพาราส่งออกทั้งในรูปแบบของการประกอบสำเร็จ กึ่งสำเร็จรูป (Semi-knock-down) หรือ แยกส่วนประกอบ (Complete-knock-down) จากการที่สีครีมธรรมชาติของไม้ยางพาราและคุณภาพในการทำสีย้อม ทำให้ไม้ยางพาราของไทยเป็นที่ยอมรับของตลาดส่งออก สำหรับการผลิตเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพาราสามารถ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทำการผลิตโดยใช้ไม้ยางพารา (Solid) และไม้ต่อด้วยกาว และอีกกลุ่มหนึ่งเชี่ยวชาญ ในเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ไม้ประกอบ (ชิ้นส่วนไม้อัด วีเนียร์MDF และปาร์ติเคิลบอร์ด) เช่น เก้าอี้ และโต๊ะเตี้ยสามชิ้น ซึ่งขาโต๊ะทำจากไม้ท่อนแปรรูป หน้าโต๊ะและที่นั่งเป็นไม้ต่อแผ่นด้วยกาว ชิ้นส่วนโค้งของผนังหลังเก้าอี้ทำด้วย ไม้อัดวีเนียร์ ในปัจจุบัน พบว่าความต้องการเฟอร์นิเจอร์ใช้ไม้อัดโค้งจากชิ้นส่วนวีเนียร์มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความสวยงามและเทคโนโลยีการผลิตที่ทำให้มีความคงทนมากขึ้น |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน
2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้
3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ
4) ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์
|