หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-MFLO-219A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านทฤษฎีใหม่

          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านเกษตรผสมผสาน

          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านพืชเชิงเดี่ยว

          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสัตว์เชิงเดี่ยว

          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสัตว์น้ำ


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ประกอบด้วยการเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน และการพัฒนาวิถีชีวิตเกษตรของชุมชน

          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการวางแผนและดำเนินการเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน สามารถวางแผนและพัฒนาวิถีชีวิตเกษตรของชุมชน


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
A621 เผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน

1.1 กำหนดวิธีการระยะเวลา และปัจจัย เพื่อเป็นแผนในการเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

1.2 ดำเนินการเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชนได้ตามแผนที่กำหนด

A622 พัฒนาวิถีชีวิตเกษตรของชุมชน

2.1 กำหนดวิธีการระยะเวลา และปัจจัย เพื่อเป็นแผนในการพัฒนาวิถีชีวิตเกษตรของชุมชนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

2.2 ดำเนินการพัฒนาวิถีชีวิตเกษตรของชุมชนได้ตามแผนที่กำหนด


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การเผยแพร่ความรู้

2. พัฒนาวิถีชีวิตเกษตรของชุมชนให้มีคุณภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

หลักการและแนวปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพชีวิต


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

                    ผลการประเมินจากแบบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค หรือหลักฐานที่แสดงประสบการณ์การเผยแพร่ความรู้ให้แก่ชุมชนด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ให้คำปรึกษา เป็นวิทยากรบรรยาย สาธิต การเขียนบทความ รายงาน รวมทั้งประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิถีชีวิตเกษตรของชุมชน

                    หลักฐานแสดงประสบการณ์ หนังสือรับรองการเผยแพร่ความรู้ หนังสือรับรองการพัฒนาชุมชน ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

                    เอกสาร บทความ หรือรายงาน ที่เป็นผลงานการเผยแพร่ความรู้ และการพัฒนาชุมชนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

          (ค) คำแนะนำในการประเมิน

                    การประเมินในชั้น 5 จะเป็นการประเมินโดยการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการปฏิบัติ งานในพื้นที่จริง ส่วนการประเมินในชั้น 6 จะใช้ทั้งแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ และประเมินโดยการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการปฏิบัติงานในพื้นที่จริง รวมทั้งหลักฐานแสดงประสบการณ์การเผยแพร่ความรู้และการพัฒนาวิถีชีวิตเกษตรของชุมชน ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 2

          (ง) วิธีการประเมิน

                    1. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน: การสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติ งานในพื้นที่จริง

                    2. พิจารณาหลักฐานความรู้: ผลการสอบข้อเขียนจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ การเขียนเอกสาร บทความ หรือรายงานที่เป็นผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ

                    N/A

          (ข) คำอธิบายรายละเอียด

                    1. การเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน หมายถึงการบรรยาย สาธิต หรือให้คำปรึกษาแนะนำ หรือการเขียนเอกสาร รายงาน บทความ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้

                    2. การพัฒนาวิถีชีวิตเกษตรของชุมชน หมายถึงการจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ กิจกรรมพัฒนาวิถีชีวิตเกษตรของชุมชน กิจกรรมชุมชนเพื่อพัฒนาสุขภาพ ความเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา การศาสนา สาธารณประโยชน์ สิ่งอำนวยความสะดวก ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมในชุมชน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

          2. ประเมินจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค หรือการปฏิบัติงานในพื้นที่จริง

          3. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือมาตรฐานการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ


ยินดีต้อนรับ