หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาผลผลิตพืชให้ได้มาตรฐาน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-ZXXH-215A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาผลผลิตพืชให้ได้มาตรฐาน

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านทฤษฎีใหม่

          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านเกษตรผสมผสาน

          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านพืชเชิงเดี่ยว


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลผลิตพืชให้ได้มาตรฐาน ประกอบด้วยการวางแผนและดำเนินการพัฒนามาตรฐานผลผลิตพืช

          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการสำรวจรวบรวมข้อมูล วางแผนและดำเนินการพัฒนาผลผลิตพืชให้ได้มาตรฐาน  สามารถปฏิบัติตามหลักปฏิบัติของมาตรฐานผลผลิตพืช ที่มีหน่วยงานที่เชื่อถือได้รับรอง ผลิตผลผลิตพืชที่มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนจัดการผลผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
A551 จัดทำแผนพัฒนาผลผลิตพืชให้ได้มาตรฐาน

1.1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานผลผลิตพืช

1.2 กำหนดวิธีการ ระยะเวลา และปัจจัยการพัฒนาผลผลิตพืชให้เป็นไปตามที่มาตรฐานที่หน่วยงานเชื่อถือได้ให้การรับรอง

A552 ดำเนินการพัฒนาผลผลิตพืช

2.1 ปฏิบัติตามหลักปฏิบัติได้สอดคล้องกับมาตรฐานผลผลิตพืชที่มีหน่วยงานรับรอง

2.2 ควบคุมผลผลิตพืชให้มีความปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

2.3 ดำเนินการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

การพัฒนาผลผลิตพืชให้ได้มาตรฐาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ข้อมูลมาตรฐานผลผลิตพืชที่ปลูก

2. วิธีการพัฒนาผลผลิตพืชให้ได้มาตรฐานที่มีหน่วยงานรับรอง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

                    หลักฐานที่แสดงประสบการณ์การพัฒนามาตรฐานผลผลิตจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ เช่น ใบรับรองมาตรฐานผลผลิตปลอดภัยจากสารพิษ ของกรมส่งเสริมการเกษตร

          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

                    ผลการสอบจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ หรือหลักฐานจากหนังสือรับรองที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ในการเข้ารับการฝึกอบรม

          (ค) คำแนะนำในการประเมิน

                    การประเมินจะใช้แบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้  

          (ง) วิธีการประเมิน

                    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน: ใบรับรองมาตรฐานผลผลิตจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

                    พิจารณาหลักฐานความรู้: แบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ

                    N/A

          (ข) คำอธิบายรายละเอียด

                    1. มาตรฐานผลผลิตพืช  หมายถึงมาตรฐานที่มีหน่วยงานที่เชื่อถือได้รับรอง เช่น

                              มาตรฐานผักผลไม้อนามัย โดยกรมวิชาการเกษตร

                              มาตรฐานผลผลิตปลอดภัยจากสารพิษ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร

                              การรับรองระบบตรวจสอบสารพิษตกค้างในผัก/ผลไม้สด โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

                              ระบบการตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ โดยสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

                    2. การจัดทำแผนพัฒนาผลผลิตพืชให้ได้มาตรฐาน หมายถึงการวางแผนการผลิตโดยปฏิบัติตามหลักปฏิบัติของมาตรฐานผลผลิตพืช ที่มีหน่วยงานที่เชื่อถือได้ให้การรับรอง ผลิตผลผลิตพืชที่ได้คุณภาพ รวมทั้งมีการจัดการผลผลิตเพิ่มมูลค่า

                    3. การดำเนินการพัฒนาผลผลิตพืชให้ได้มาตรฐาน หมายถึง

                              การปฏิบัติตามหลักปฏิบัติของมาตรฐานผลผลิตที่มีหน่วยงานรับรอง

                              การผลิตผลผลิตคุณภาพ โดยเก็บเกี่ยวเมื่อได้อายุและใช้วิธีการที่เหมาะสม

                              การผลิตผลผลิตพืชที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยใช้สารเคมีน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น เลือกใช้สารเคมีที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย เก็บเกี่ยวผลผลิตในระยะที่ไม่มีสารเคมีตกค้าง

                              การจัดการผลผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการผลิตผลผลิตให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน ผลผลิตมีคุณภาพตามมาตรฐาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

          2. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือมาตรฐานการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ


ยินดีต้อนรับ