หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนากระบวนการผลิตเกษตรผสมผสานให้ได้มาตรฐาน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-RJOR-211A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนากระบวนการผลิตเกษตรผสมผสานให้ได้มาตรฐาน

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านทฤษฎีใหม่

          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านเกษตรผสมผสาน


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนากระบวนการผลิตเกษตรผสมผสานให้ได้มาตรฐาน ประกอบด้วยการวางแผนและดำเนินการพัฒนามาตรฐานของกระบวนการผลิตในการทำการเกษตรตามหลักเกษตร ผสมผสาน

          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการสำรวจรวบรวมข้อมูล วางแผน และดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตพืช สัตว์ หรือสัตว์น้ำ ให้ได้มาตรฐาน สามารถปฏิบัติตามหลักปฏิบัติของมาตรฐานกระบวนการผลิตที่มีหน่วยงานรับรอง ควบคุมคุณภาพการผลิตระหว่างการเพาะปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และสัตว์น้ำ สร้างการยอมรับของผู้บริโภคในกระบวนการผลิต มีทักษะในการพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน และพัฒนาระบบสนับสนุนการผลิต


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

          เกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
A511 จัดทำแผนพัฒนากระบวนการผลิตเกษตรผสมผสาน

1.1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานกระบวนการผลิตพืชสัตว์ หรือสัตว์น้ำ

1.2 กำหนดวิธีการ ระยะเวลา และปัจจัยการพัฒนากระบวนการผลิตพืชสัตว์ หรือสัตว์น้ำได้เป็นไปตามมาตรฐานที่หน่วยงานที่เชื่อถือได้ให้การรับรอง

A512 ดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตเกษตรผสมผสาน

2.1 ปฏิบัติตามหลักปฏิบัติได้สอดคล้องกับมาตรฐานที่ต้องการให้รับรองหรือที่เทียบเคียงได้

2.2 ควบคุมคุณภาพการผลิตระหว่างการเพาะปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และสัตว์น้ำ

2.3 ควบคุมมาตรฐานการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนและปลอดภัย

2.4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการปฏิบัติงานเพื่อสนับสนุนการผลิต


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

การพัฒนากระบวนการผลิตพืช สัตว์ หรือสัตว์น้ำ ที่ปลูกหรือเลี้ยงอยู่ให้ได้มาตรฐาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ข้อมูลมาตรฐานกระบวนการผลิต

2. วิธีการพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานที่มีหน่วยงานรับรอง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

                    หลักฐานที่แสดงประสบการณ์การพัฒนามาตรฐานกระบวนการผลิตจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ เช่น ใบรับรองมาตรฐานฟาร์มของกรมปศุสัตว์, ใบรับรองมาตรฐาน GAP ของกรมวิชาการเกษตร, ใบรับรองมาตรฐาน Q ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

                    ผลการสอบจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ หรือหลักฐานจากหนังสือรับรองที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ในการเข้ารับการฝึกอบรม

          (ค) คำแนะนำในการประเมิน

                    การประเมินจะใช้แบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้  

          (ง) วิธีการประเมิน

                    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน: ใบรับรองมาตรฐานกระบวนการผลิตจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

                    พิจารณาหลักฐานความรู้: แบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก)  คำแนะนำ

                    N/A

          (ข)  คำอธิบายรายละเอียด

                    1. มาตรฐานกระบวนการผลิต หมายถึงมาตรฐานที่มีหน่วยงานที่เชื่อถือได้รับรอง เช่น

                              มาตรฐาน GAP โดยกรมวิชาการเกษตร

                              มาตรฐาน GAP ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โดยกรมปศุสัตว์

                              มาตรฐาน GAP โดยกรมประมง

                              มาตรฐานสินค้าเกษตร: ข้าว โดยกรมวิชาการเกษตร

                              มาตรฐานสินค้าเกษตร: กล้วย โดยกรมวิชาการเกษตร

                              มาตรฐานสินค้าเกษตร: มะม่วง โดยกรมวิชาการเกษตร

                              มาตรฐานสินค้าเกษตร: ไข่ไก่ โดยกรมปศุสัตว์

                              มาตรฐานสินค้าเกษตร: ไข่เป็ด โดยกรมปศุสัตว์

                              มาตรฐานสินค้าเกษตร: การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร โดยกรมวิชาการเกษตร

                              มาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุง (Code of Conduct, CoC) โดยกรมประมง

                              มาตรฐานสินค้าเกษตร: ปลานิล โดยกรมประมง

                    2. การวางแผนพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน หมายถึงการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานกระบวนการผลิต และวางแผนปฏิบัติตามหลักปฏิบัติของมาตรฐานที่ต้องการให้รับรอง หรือมาตรฐานที่เทียบเคียงได้

                    3. การดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานหมายถึง

                              การปฏิบัติตามหลักปฏิบัติของมาตรฐานกระบวนการผลิตที่มีหน่วยงานรับรอง

                              การควบคุมคุณภาพระหว่างการเพาะปลูกพืช เลี้ยงสัตว์หรือสัตว์น้ำ

                              การสร้างการยอมรับของผู้บริโภคในกระบวนการผลิต

                              การพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน โดยปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักความปลอดภัย มีการบำรุงรักษาอนามัยส่วนบุคคล

                              การพัฒนาระบบสนับสนุนการผลิต โดยจัดระบบเก็บข้อมูลและเอกสาร และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการปฏิบัติงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

          2. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือมาตรฐานการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ


ยินดีต้อนรับ