หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาการเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-ENAF-206A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาการเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านทฤษฎีใหม่


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ ประกอบด้วยการวางแผนพัฒนาการเกษตร และการดำเนินการพัฒนาการเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการรวบรวมข้อมูล ประเมินผลการปฏิบัติ งาน วางแผนและดำเนินการพัฒนาการเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สามารถวิเคราะห์ แปลผล หาข้อสรุป และรายงานผลได้


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

          เกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
A421 จัดทำแผนพัฒนาการเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่

1.1 รวบรวมข้อมูลแนวปฏิบัติตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ได้

1.2 ประเมินผลการปฏิบัติงานเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่

1.3 กำหนดวิธีการ ระยะเวลา และปัจจัยในการพัฒนาการเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ได้ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลจากการประเมินผลการปฏิบัติงาน

A422 ดำเนินการพัฒนาการเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่

2.1 ปฏิบัติงานพัฒนาการเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ได้ตามที่กำหนด

2.2 สรุปผลข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

2.3 เขียนรายงานผลการพัฒนาการเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ได้


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การประเมินผลการปฏิบัติงานเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่

2. การพัฒนาการเกษตรด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

วิธีดำเนินการเพื่อพัฒนาหรือแก้ปัญหาทางการเกษตรด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

                    รายงานแสดงข้อมูลจากการพัฒนาหรือแก้ปัญหาทางการเกษตรด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีการรวบรวมและบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบ ใช้ค่าสถิติในการสรุปและแปลผลการดำเนินการ

          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

                    รายงานสรุปผลงาน หลักฐานการเผยแพร่ผลงาน หรือการเป็นวิทยากรบรรยาย

          (ค) คำแนะนำในการประเมิน

                    แนะนำวิธีการประเมินที่เป็นการประเมินสมรรถนะจากผลงานการพัฒนาการเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่และการนำเสนอ

          (ง) วิธีการประเมิน

                    1. การสอบข้อเขียน

                    2. การนำเสนอรายงาน

                    3. พิจารณาจากผลงานเชิงประจักษ์ หลักฐานเจ้าของผลงานและการเผยแพร่ เช่น รายงานสรุปผลงาน หลักฐานการได้สิทธิบัตร หลักฐานเผยแพร่ทางสื่อสาธารณะ การเป็นวิทยากรบรรยาย/สัมมนาเพื่อเผยแพร่ผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ

                    N/A

          (ข) คำอธิบายรายละเอียด

                    1. การจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ หมายถึงการกำหนดรายละเอียดของการพัฒนาเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลจากผลการปฏิบัติงาน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ สถานที่และระยะเวลา ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับงบประมาณค่าใช้จ่าย และขั้นตอนการดำเนินการ

                    2. ผลการปฏิบัติงานเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ หมายถึงคุณภาพและปริมาณผลผลิตที่ได้รับจากการทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ ต้นทุน รายรับและผลกำไร ผลกระทบด้านอื่น ตลอดจนปัญหาที่เกิดขึ้น

                    3. การดำเนินการพัฒนาการเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ หมายถึงการดำเนินการตามแผน เพื่อวิเคราะห์ สรุปผลเสนอแนวทางการพัฒนา และรายงานผล


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

          2. ประเมินจากผลงานและรายงาน ตามเกณฑ์ที่กำหนด รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือมาตรฐานการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ


ยินดีต้อนรับ