หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-OMDB-199A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านทฤษฎีใหม่

          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านเกษตรผสมผสาน

          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านพืชเชิงเดี่ยว

          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสัตว์เชิงเดี่ยว

          อาชีพเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสัตว์น้ำ


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยการจัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตร และการจัดการเกษตรเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการวางแผนและดำเนินการจัดการทรัพยากร และจัดการเกษตรในเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้โดยยึดหลักการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

          เกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
A141 จัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตร

1.1 กำหนดวิธีการจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

1.2 ดำเนินการจัดการทรัพยากร ตามที่กำหนดได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

A142 จัดการเกษตรเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2.1 กำหนดวิธีการจัดการเกษตรเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติได้ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2.2 ดำเนินการจัดการเกษตรเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ตามที่กำหนด ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การจัดการทรัพยากร

2. การจัดการเกษตรเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ทรัพยากรในท้องถิ่นและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

2. สมดุลในระบบนิเวศและการสร้างสมดุล

3. กิจกรรมทางการเกษตรที่ไม่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4. กฎหมายสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการเกษตร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

                    ผลประเมินจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค (Technical Interview) หรือการปฏิบัติงานในพื้นที่จริงโดยสังเกตความสามารถในการปฏิบัติงาน หรือหลักฐานแสดงประสบการณ์การจัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตร  และมีจัดการเกษตรเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                    หลักฐานแสดงประสบการณ์การทำการเกษตรในพื้นที่ หนังสือรับรองการทำงาน การฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการปฏิบัติงานในพื้นที่จริง

          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

                    ผลการสอบจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ หรือหลักฐานจากหนังสือรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม หรือร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง หรือการจัดการการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

          (ค) คำแนะนำในการประเมิน

                    การประเมินจะใช้แบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการปฏิบัติงานในพื้นที่จริง หรือหลักฐานแสดงประสบการณ์การทำการเกษตรในพื้นที่ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

          (ง) วิธีการประเมิน

                    1. พิจารณาหลักฐานความรู้: ผลการสอบข้อเขียนจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้

                    2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน: การสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติ งานในพื้นที่จริง


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ

                    N/A

          (ข) คำอธิบายรายละเอียด

                    1. การวางแผนจัดการการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะพิจารณา ประเภท ชนิดและปริมาณของทรัพยากรในท้องถิ่น การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ประโยชน์จากสมดุลในระบบนิเวศ ประโยชน์จากการเกื้อกูลกันของพืชและ/หรือสัตว์ การทำการเกษตรโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                    2. การจัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตรอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมายถึง

                              การเลือกใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นหลัก

                              การใช้/ประยุกต์ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า

                              การประยุกต์วัสดุผลพลอยได้จากการเกษตรให้เกิดประโยชน์

                              การใช้ประโยชน์จากสมดุลในระบบนิเวศ

                              การใช้ประโยชน์จากการเกื้อกูลกันของพืชและ/หรือสัตว์

                    3. การจัดการเกษตรเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง

                              การดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                              การสร้างสมดุลในระบบนิเวศ

                              การควบคุมศัตรูพืช/สัตว์ ด้วยวิธีที่ไม่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                              การเลือกใช้สารเคมีที่เหมาะสมกับการผลิตและกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

                              การจัดการดิน น้ำ และกิจกรรมทางการเกษตรด้วยวิธีที่ไม่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                              การปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ ยกตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์ พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข มาตรฐานฟาร์ม พ.ศ. 2558 เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

          2. ประเมินจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค หรือสังเกตความสามารถในการทำงานจากการปฏิบัติ งานในพื้นที่จริง

          3. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือมาตรฐานการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ


ยินดีต้อนรับ