หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการสินค้าขาเข้าทางอากาศ

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-YDKW-140A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการสินค้าขาเข้าทางอากาศ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานกระจายสินค้าระหว่างประเทศทางอากาศ


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

   บุคคลที่ทำหน้าที่รับจัดการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การรับสินค้าขาเข้าทางอากาศ การเปิดอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD) การพักวางสินค้าขาเข้าทางอากาศในคลังพักสินค้า การจัดการอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD) การปล่อยสินค้าขาเข้าทางอากาศ


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

     กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

N/A


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
41031 รับสินค้าขาเข้าทางอากาศที่บรรจุในอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD) หรือที่ไม่มีการบรรจุ (loose cargo)

1.ข้อมูลสินค้าขาเข้าทางอากาศที่บรรจุในอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน(ULD) หรือที่ไม่มีการบรรจุ (loose cargo), สถานที่จัดวาง, เครื่องมือในการเคลื่อนย้าย มีการเตรียมการได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน

2.สินค้าขาเข้าทางอากาศที่บรรจุในอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน(ULD) หรือที่ไม่มีการบรรจุ (loose cargo)มีการตรวจรับได้อย่างถูกต้อง และครบถ้วนตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน(รวมถึงความเสียหายต่างๆ)

3.สินค้าขาเข้าทางอากาศที่บรรจุในอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน(ULD) หรือที่ไม่มีการบรรจุ (loose cargo)มีการขนย้ายไปยังตำแหน่งที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัยตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน

4.เอกสารต่างๆเกี่ยวกับการรับสินค้าขาเข้าทางอากาศที่บรรจุในอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน(ULD) หรือที่ไม่มีการบรรจุ (loose cargo) มีการบันทึกและส่งมอบให้ผู้เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน

41032 เปิดอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD)

1.สินค้ามีการตรวจสอบและมีการขนย้ายออกจากอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD) ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และปลอดภัยตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน(รวมถึงความเสียหายต่างๆ)

2.เอกสารต่างๆเกี่ยวกับการเปิดอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD) มีการบันทึก และส่งมอบให้ผู้เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน

41033 พักวางสินค้าขาเข้าทางอากาศในคลังพักสินค้า

1. ข้อมูลสินค้า สถานที่จัดวาง เครื่องมือในการเคลื่อนย้าย มีการเตรียมการได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน

2. สินค้ามีการตรวจรับ และมีการจัดทำเอกสารต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน (รวมถึงความเสียหายต่างๆ)

3. สินค้ามีการขนย้ายจัดวางในคลังพักสินค้าตามตำแหน่งที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าได้และดูแลรักษาได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน

4. สินค้ามีการตรวจปล่อย และมีการจัดทำเอกสารต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน (รวมถึงความเสียหายต่างๆและระยะเวลาที่จัดเก็บ)

41034 จัดการอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD)

1. อุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD)เปล่ามีการรับคืน ซ่อมแซมและหรือบำรุงรักษา และมีการรับรอง และจัดทำเอกสารต่างๆได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน

2. อุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD)หลังการซ่อมแซมและหรือบำรุงรักษามีการระบุประเภทการใช้งานตามหลักเกณฑ์(ชนิดสินค้า) และจัดทำเอกสารต่างๆ ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน

41035 ปล่อยสินค้าขาเข้าทางอากาศ

1. ข้อมูลสินค้า เครื่องมือในการเคลื่อนย้ายมีการเตรียมการได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน

2. สินค้ามีการตรวจปล่อยได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน (รวมถึงความเสียหายต่างๆ และระยะเวลาที่จัดเก็บ)

3. เอกสารต่างๆ เกี่ยวกับการปล่อยสินค้ามีการบันทึกและส่งมอบให้ผู้เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการรับสินค้าขาเข้าทางอากาศที่บรรจุในอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD) หรือที่ไม่มีการบรรจุ (loose cargo)

2. ปฏิบัติการเปิดอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD)

3. ปฏิบัติการพักวางสินค้าขาเข้าทางอากาศในคลังพักสินค้า

4. ปฏิบัติการจัดการอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD)

5. ปฏิบัติการปล่อยสินค้าขาเข้าทางอากาศ


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การตรวจรับสินค้า

2. การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD)

3. การจัดเก็บสินค้า

4. การบำรุงรักษาซ่อมแซมอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD)

5. การตรวจปล่อยสินค้า

6. คุณสมบัติเฉพาะของสินค้า

7. พิธีการศุลกากร (พิธีการนำเข้า)



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

   2. เอกสารการประเมินการปฏิบัติงานจริงตามรายการประเมิน

   3. แบบบันทึกรายการจากการสังเกตจากการปฏิบัติงาน 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการจัดการสินค้าขาเข้าทางอากาศ

  2. เอกสารรับรองหรือผลการประเมินจากสถานประกอบการ

  3. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือการสัมภาษณ์ด้านความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

   ประเมินเกี่ยวกับการจัดการสินค้าขาเข้าทางอากาศ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

   1. พิจารณาหลักฐานความรู้

   2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

   ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

   1. รับสินค้าขาเข้าทางอากาศที่บรรจุในอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD) หรือที่ไม่มีการบรรจุ (loose cargo) ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ปลอดภัย

   2. เปิดอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD) ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ปลอดภัย

   3. พักวางสินค้าขาเข้าทางอากาศในคลังพักสินค้าได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ปลอดภัย

   4. จัดการอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD) ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน

   5. ปล่อยสินค้าขาเข้าทางอากาศได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. การรับสินค้าขาเข้าทางอากาศที่บรรจุในอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD) หรือที่ไม่มีการบรรจุ (loose cargo) โดยจัดเตรียมข้อมูล สถานที่จัดวาง เครื่องมือในการเคลื่อนย้ายสินค้าก่อนการรับสินค้าเพื่อนำเข้า การตรวจรับอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD) ที่บรรจุสินค้านำเข้าจากสายการบิน โดยการตรวจนับจำนวน และตรวจสอบความเสียหายต่างๆ การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ฯ ภายในพื้นที่สถานีขนถ่ายสินค้า และการบันทึกข้อมูลในระบบฐานข้อมูลและจัดทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับสินค้านำเข้า

   2. การเปิดอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD) โดยตรวจนับสินค้าตามจำนวน และตรวจสอบความเสียหายต่างๆ ของสินค้าที่บรรจุอยู่ในอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD) และการบันทึกข้อมูลในระบบฐานข้อมูลและจัดทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำสินค้าออกจากอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD)

   3. การพักวางสินค้าขาเข้าทางอากาศในคลังพักสินค้า โดยจัดเตรียมข้อมูล สถานที่จัดวาง เครื่องมือในการเคลื่อนย้ายสินค้า การตรวจนับสินค้าตามจำนวน และตรวจสอบความเสียหายต่างๆ ของสินค้าในคลังพักสินค้า การเคลื่อนย้ายสินค้าเข้าพื้นที่พักวางที่ถูกกำหนดไว้ การดูแลรักษาสินค้าที่พักวาง และการบันทึกข้อมูลในระบบฐานข้อมูลและจัดทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าในคลังพักสินค้า

   4. การจัดการอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD) โดยตรวจสอบสภาพอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD) เปล่าหลังการใช้งาน การจัดเตรียมอุปกรณ์ฯ ให้พร้อมใช้งาน เช่น การทำความสะอาด การบำรุงรักษา และการบันทึกข้อมูลในระบบฐานข้อมูลและจัดทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์บรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน (ULD)

   5. การปล่อยสินค้าขาเข้าทางอากาศ โดยจัดเตรียมข้อมูลและเครื่องมือในการเคลื่อนย้ายสินค้า การตรวจสอบระยะเวลาในการจัดเก็บสินค้า และการบันทึกข้อมูลในระบบฐานข้อมูลและจัดทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยสินค้านำเข้าให้กับเจ้าของสินค้าหรือตัวแทน



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่มี


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่มี


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

   1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

   2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยวิธีการสัมภาษณ์

   3. แบบสังเกตพฤติกรรม

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

2. เครื่องมือการประเมิน

   1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

  2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยวิธีการสัมภาษณ์

  3. แบบสังเกตพฤติกรรม

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

3. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

  2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยวิธีการสัมภาษณ์

  3. แบบสังเกตพฤติกรรม

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

4. เครื่องมือการประเมิน

   1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

   2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยวิธีการสัมภาษณ์

   3. แบบสังเกตพฤติกรรม

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

5. เครื่องมือการประเมิน

   1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

   2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยวิธีการสัมภาษณ์

   3. แบบสังเกตพฤติกรรม

      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

 

 

 



ยินดีต้อนรับ