หน่วยสมรรถนะ
กรีดยางอย่างถูกวิธี
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ARC-PUOI-172A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | กรีดยางอย่างถูกวิธี |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านเก็บเกี่ยวผลผลิตยางพารา
|
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการกรีดยางอย่างถูกวิธี ประกอบด้วย ความรู้และทักษะเกี่ยวกับระบบกรีดยางที่เหมาะสมกับช่วงอายุของต้นยาง ความรู้เรื่องกายวิภาคของต้นยาง และเทคนิคการกรีดยางที่ถูกต้องในช่วงเวลาที่เหมาะสม ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในระบบกรีดยางต่างๆ ได้แก่ การกรีดยางหน้าปกติ การกรีดยางหน้าสูง การกรีดยางก่อนโค่น รู้กายวิภาคของต้นยางพารา เทคนิคการกรีดยางเพื่อให้ได้ผลผลิตดีและยาวนาน และการจัดการเวลาอย่างเหมาะสมในการกรีดยาง
|
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา
|
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล
|
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
- เอกสารแนะนำการกรีดยาง ส่วนวิชาการเกษตร ฝ่ายส่งเสริมการสงเคราะห์ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
- คำแนะนำการเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำยาง ปี 2554 สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร
- คู่มือการฝึกอบรมเจ้าของสวนยาง สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- เอกสารวิชาการเรื่องสวนยางพารา กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร
|
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) |
---|---|
A341 รู้ระบบกรีดและสัญลักษณ์ของระบบกรีดยางหน้าปกติ |
1. อธิบายวิธีการกรีดครึ่งลำต้น วันเว้นสองวัน (1/2S d/3) 2. อธิบายวิธีการกรีดครึ่งลำต้น วันเว้นวัน (1/2S d/2) 3. อธิบายวิธีการกรีดหนึ่งในสามของลำต้น วันเว้นวันและใช้สารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้น 2.5% (1/3S d/2+ET 2.5%) |
A342 รู้ระบบกรีดและสัญลักษณ์ของระบบกรีดยางหน้าสูง |
1. อธิบายวิธีการกรีดหนึ่งในสามของลำต้น โดยการกรีดขึ้น วันเว้นวันและใช้สารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้น 2.5% (1/3S ä d/2 ET 2.5%) 2. อธิบายวิธีการกรีดหนึ่งในสามของลำต้น โดยการกรีดลง วันเว้นวันและใช้สารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้น 2.5% (1/3S d/2+ET 2.5%) |
A343 รู้ระบบกรีดและสัญลักษณ์ของระบบกรีดยางก่อนโค่น |
1. อธิบายวิธีการกรีดหนึ่งในสามของลำต้น โดยการกรีดขึ้น วันเว้นวันและใช้สารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้น 2.5% (1/3S ä d/2 ET 2.5%) 2. อธิบายวิธีการกรีดหนึ่งในสี่ของลำต้น รอยกรีด 2 รอยอยู่ตรงกันข้าม โดยการกรีดขึ้น วันละรอยสลับกันทุกวันและใช้สารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้น 2.5% (2x1/4S ä d/1 (t,t)+ET 2.5%) 3. อธิบายวิธีการกรีดครึ่งลำต้น โดยการกรีดขึ้น วันเว้นวันและใช้สารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้น 2.5% (1/2S ä d/2 ET 2.5%) 4. อธิบายวิธีการกรีดครึ่งลำต้น รอยกรีด 2 รอยอยู่ตรงกันข้ามโดยการกรีดขึ้น วันละรอยสลับกันทุกวัน และใช้สารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้น 2.5% (2x1/2S ä d/1 (t,t)+ET 2.5 %) |
A344 รู้เรื่องกายวิภาคของต้นยางพารา |
1. อธิบายเปลือกของต้นยางพาราได้อย่างถูกต้อง 2. อธิบายลักษณะเยื่อเจริญของต้นยางพาราได้อย่างถูกต้อง 3. อธิบายเนื้อไม้ของต้นยางพาราได้อย่างถูกต้อง |
A345 กรีดยางตามระบบกรีดและเทคนิคที่ถูกต้องในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลผลิตดีและกรีดได้นาน |
1. อธิบายเทคนิคการกรีดยางที่ถูกต้อง 2. อธิบายการจัดการเวลาในการกรีดยางอย่างเหมาะสม 3. จัดเตรียมอุปกรณ์ในการกรีดยางอย่างถูกต้อง 4. กรีดยางตามระบบกรีดและเทคนิคการกรีดยางที่ถูกต้องในช่วงเวลาที่เหมาะสม |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ
1) มีทักษะในการจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการกรีดยางอย่างถูกต้อง
2) มีทักษะในการกรีดยางตามระบบกรีดและเทคนิคการกรีดยางที่ถูกต้องในช่วงเวลาที่เหมาะสม (ข) ความต้องการด้านความรู้
1) มีความรู้เกี่ยวกับระบบกรีดยางที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงอายุของต้นยาง
2) มีความรู้ในเรื่องกายวิภาคของต้นยางในส่วนที่เกี่ยวกับเปลือก เยื่อเจริญ และเนื้อไม้
3) มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการกรีดยางที่ถูกต้องในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกรีดยาง
|
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้
2) แฟ้มสะสมงาน
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา
2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ
3) ผลการสอบข้อเขียน
4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
1) ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้ในระบบการกรีดยางหน้าปกติ ระบบการกรีดยางหน้าสูง และระบบการกรีดยางก่อนโค่น ความรู้กายวิภาคของต้นยาง รวมทั้งเทคนิคการกรีดที่ถูกต้องและกรีดในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากหลักฐานด้านความรู้
2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง
(ง) วิธีการประเมิน
1) การสอบข้อเขียน
2) การสอบสัมภาษณ์
3) การสอบปฏิบัติ
|
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
N/A |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
A20 ทัศนะคติที่ดีในการประกอบอาชีพ
|
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน
2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้
3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ
4) ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์
|