หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สำรวจสวนยางพาราที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-WZAB-169A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สำรวจสวนยางพาราที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการเก็บเกี่ยวผลผลิตยางพารา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการสำรวจสวนยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด ประกอบด้วย  สำรวจต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีดและการจัดทำข้อมูลสวนยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด  ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการสำรวจขนาดต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีดและต้นยางต้องไม่เป็นโรค การทำเครื่องหมายต้นยางที่สามารถเปิดกรีดได้ รวมทั้งการคำนวณสัดส่วนจำนวนต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีดในแต่ละแปลงเพื่อสรุปผลแปลงยางที่สามารถเปิดกรีดได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
A311 สำรวจต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด

1. อธิบายลักษณะต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด

2. อธิบายการทำเครื่องหมายบนต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด

3. เตรียมอุปกรณ์สำรวจและอุปกรณ์ทำเครื่องหมายบนต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด

4. สำรวจและทำเครื่องหมายต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีดอย่างถูกต้อง

A312 จัดทำข้อมูลสวนยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด

1. อธิบายลักษณะสวนยางที่สามารถเปิดกรีดได้

2. นับจำนวนต้นยางแต่ละแถวที่ได้มาตรฐานเปิดกรีดและไม่ได้มาตรฐานเปิดกรีดจนครบทุกแถวในแต่ละแปลง

3. คำนวณสัดส่วนจำนวนต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีดเทียบกับจำนวนต้นยางทั้งหมดในแต่ละแปลงเพื่อสรุปผลจำนวนแปลงยางที่สามารถเปิดกรีดได้


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) มีทักษะในการใช้อุปกรณ์สำรวจและอุปกรณ์ทำเครื่องหมายบนต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด
2) มีทักษะในการนับจำนวนต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีดและไม่ได้มาตรฐานเปิดกรีดจนครบทุกแถวในแต่ละแปลง
3) มีทักษะในการคำนวณสัดส่วนจำนวนต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีดเทียบกับจำนวนต้นยางทั้งหมดในแต่ละแปลงเพื่อสรุปผลจำนวนแปลงยางที่สามารถเปิดกรีดได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) มีความรู้ในการระบุลักษณะต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด
2) มีความรู้ในการทำเครื่องหมายบนต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด 
3) มีความรู้ในการระบุสวนยางที่สามารรถเปิดกรีดได้

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)
          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ 
          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
                    1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้
                    2) แฟ้มสะสมงาน
          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
                    1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา
                    2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ
                    3) ผลการสอบข้อเขียน
                    4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ
          (ค) คำแนะนำในการประเมิน
                    1) ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้ในการระบุต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด การทำเครื่องหมายบนต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด และการจัดทำข้อมูลสวนยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด โดยพิจารณาจากหลักฐานด้านความรู้
                    2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง 
  • ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง
  • วิธีการปฏิบัติงานในแปลง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
          (ง) วิธีการประเมิน
                    1) การสอบข้อเขียน
                    2) การสอบสัมภาษณ์
                    3) การสอบปฏิบัติ

15. ขอบเขต (Range Statement)
N/A

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
          A20 ทัศนะคติที่ดีในการประกอบอาชีพ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)
          1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน
          2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้
          3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ
          4) ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์

ยินดีต้อนรับ