หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ช่วยทันตแพทย์ในการให้ทันตสุขศึกษา

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-QQAQ-086A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ช่วยทันตแพทย์ในการให้ทันตสุขศึกษา

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A 1 3251 ผู้ช่วยทันตแพทย์และนักทันตกรรมบำบัด

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

          ทักษะในการให้สุขศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันโรคในช่องปาก  วิธีการดูแลทันตสุขภาพ รวมถึงการเลือกสื่อที่ใช้ในการสอนทันตสุขศึกษาได้อย่างถูกต้อง  มีทักษะในการสื่อสารสามารถถ่ายทอดความรู้ด้านทันตสุขศึกษาให้ผู้ป่วยทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มเบื้องต้นได้


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้ช่วยทันตแพทย์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ไม่มี


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ไม่มี


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
40501.01 ให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับการป้องกันโรคในช่องปาก

1. มีความรู้เรื่องโรคและการป้องกันโรคฟันผุและเหงือกอักเสบ

2. มีความรู้เรื่องอุปกรณ์ในการทำความสะอาดช่องปาก

3. ให้คำแนะนำผู้ป่วยในป้องกันโรคฟันผุและเหงือกอักเสบได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

4. สาธิตการใช้อุปกรณ์ในการทำความสะอาดช่องปาก

40501.02 ถ่ายทอดความรู้ด้านทันตสุขศึกษารายกลุ่ม

1. มีความรู้เรื่องสื่อที่ใช้ในการให้ทันตสุขศึกษาให้เหมาะสมตามกลุ่มเป้าหมาย

2 .เลือกใช้สื่อที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

3. ให้คำแนะนำผู้ป่วยรายกลุ่มในป้องกันโรคฟันผุและเหงือกอักเสบได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

4. นำเสนอวิธีการใช้อุปกรณ์ในการทำความสะอาดช่องปากให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการเลือกสื่อที่จะใช้ในการให้ทันตสุขศึกษา
2. มีทักษะในการจัดเตรียมสื่อ
3. มีทักษะในการจัดเตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปากและอุปกรณ์เสริมต่างๆ อย่างเหมาะสมกับโรคในช่องปากของผู้ป่วยแต่ละราย
4. มีทักษะในการสื่อสารรายบุคคลและรายกลุ่ม
5. มีทักษะในการสาธิตการใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปากและอุปกรณ์เสริมต่างๆ
6. มีทักษะในการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เรื่องสื่อในการให้ทันตสุขศึกษา
2. ความรู้เรื่องโรคในช่องปาก
3. ความรู้เรื่องอุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปากและอุปกรณ์เสริมต่างๆ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน(Performance Criteria)และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
          1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน
          2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ
          3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ
          4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
          1. ผลการทดสอบความรู้
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง
(ง) วิธีการประเมิน
          1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ
          2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
(ก) คำแนะนำ
          ไม่มี
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
          1. ทันตสุขภาพ หมายถึง สภาวะที่สมบูรณ์แข็งแรง ความสามารถของฟันและส่วนต่างๆของฟันตลอดจนอวัยวะอื่นๆ ในช่องปากที่ปราศจากการเป็นโรค
          2. ทันตสุขศึกษาหมายถึง การจัดกระบวนการและ/หรือประสบการณ์ทางการศึกษา เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปาก จูงใจให้กลุ่มเป้าหมายสนใจยอมรับความรู้ มีเจตคติถูกต้องและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างถูกต้องโดยสมัครใจ
          3. การป้องกันโรคในช่องปาก  หมายถึงการป้องกันไม่ให้เกิดโรคในช่องปากกับบุคคล โดยการส่งเสริมทันตสุขภาพทั้งในระดับบุคคล   ชุมชน โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  การปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
          4. สื่อทันตสุขภาพ  หมายถึง ตัวกลางที่ใช้ถ่ายทอดความรู้ไปยังผู้ป่วย เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทันตสุขภาพที่เหมาะสม เช่น โมเดลฟัน  แผ่นพับ ภาพพลิก คู่มือ เป็นต้น
          5. อุปกรณ์หลักในการทำความสะอาดช่องปากหมายถึง อุปกรณ์ที่ทุกคนต้องใช้ในการทำความสะอาดช่องปาก ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้  เช่น แปรงสีฟัน  ยาสีฟัน
          6. อุปกรณ์เสริมต่างๆ หมายถึงอุปกรณ์ช่วยเสริมในการทำความสะอาดช่องปากให้สะอาดยิ่งขึ้น  ในกรณีที่ฟันบางตำแหน่งในช่องปากยากในการเข้าถึงอาจไม่จำเป็นต้องใช้ทุกคน ขึ้นอยู่กับสภาวะช่องปากของแต่ละคน  ได้แก่ ไหมขัดฟัน แปรงซอกฟัน แปรงกระจุกเดียว เป็นต้น
          7. ทันตสุขศึกษารายกลุ่ม หมายถึงกระบวนการที่กลุ่มคนได้รับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากเพื่อให้มีสุขภาพช่องปากที่ดีโดยมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่าง ๆ ให้เหมาะสม ส่วนบุคคล ครอบครัว และชุมชน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่มี


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่มี


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การสอบข้อเขียน สังเกตจากใบสังเกต และการสังเกตการณ์


ยินดีต้อนรับ