หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ช่วยงานข้างเก้าอี้ในงานทันตกรรมสำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-WHAW-073A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ช่วยงานข้างเก้าอี้ในงานทันตกรรมสำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A 1 3251 ผู้ช่วยทันตแพทย์และนักทันตกรรมบำบัด

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

          ทักษะในการช่วยงานข้างเก้าอี้ในงานทันตกรรมสำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ โดยสามารถช่วยเหลือทันตแพทย์ในการสื่อสารและจัดการผู้ป่วยระหว่างการรักษาทางทันตกรรม  สามารถจัดเตรียมสถานที่และเครื่องมือให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย และช่วยเหลือทันตแพทย์ในขั้นตอนการรักษาทางทันตกรรมเฉพาะแก่ผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษได้


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้ช่วยทันตแพทย์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ไม่มี


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ไม่มี


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
40106.01 ช่วยเหลือและจัดการผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ

1. มีความรู้ในการจำแนกผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ

2. มีความรู้ในเรื่องวิธีการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษทางด้านกายภาพ พัฒนาการ การรับสัมผัส การรับรู้ พฤติกรรม อารมณ์

3. จัดเตรียมสถานที่ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ (UniversalDesign)

4. สื่อสารและจัดการพฤติกรรมที่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษแต่ละประเภทได้

40106.02 ช่วยเหลือทันตแพทย์ในการรักษาทางทันตกรรมสำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ

1. มีความรู้ในการจัดตำแหน่งหรือท่าทางผู้ป่วยให้เหมาะสมในการรักษาทางทันตกรรม

2. มีความรู้ในเรื่องตําแหนงการเขาทํางานข้างเก้าอี้ในระหว่างทันตแพทย์ให้การรักษาทางทันตกรรมแก่ผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ

3. มีความรู้เรื่องภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดกับผู้ป่วยแต่ละประเภท

4. ช่วยเหลือผู้ป่วยเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินระหว่างการรักษาทางทันตกรรมได้


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยเหลือให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย
2. มีทักษะในการจัดเตรียมสถานที่ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ (Universal Design)
3. มีทักษะในการสื่อสารและจัดการพฤติกรรมที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละประเภท
4. สามารถจัดตำแหน่งหรือท่าทางผู้ป่วยให้เหมาะสมในการรักษาทางทันตกรรม
5. สามารถเข้านั่งทำงานในตำแหน่งที่เหมาะสมระหว่างทันตแพทย์ให้การรักษาทางทันตกรรมแก่ผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ
6. สามารถให้การช่วยเหลือผู้ป่วยเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินระหว่างการรักษาทางทันตกรรมได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ว่าผู้ป่วยรายใดจัดเป็นผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ
2. มีความรู้ว่าผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษแต่ละรายนั้นต้องการได้รับการช่วยเหลือในด้านใด เช่น ด้านกายภาพ พัฒนาการ การรับสัมผัส การรับรู้ พฤติกรรม อารมณ์
3. มีความรู้ในการจัดเตรียมสถานที่ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ (Universal Design)
4. มีความรู้ในการสื่อสารและจัดการพฤติกรรมที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละประเภท    
5. มีความรู้ในการจัดตำแหน่งหรือท่าทางผู้ป่วยให้เหมาะสมในการรักษาทางทันตกรรม    
6. มีความรู้ในเรื่องตําแหน่งการเข้าทํางานข้างเก้าอี้ในระหว่างทันตแพทย์ให้การรักษาทางทันตกรรมแก่ผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ    
7. มีความรู้เรื่องภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดกับผู้ป่วยแต่ละประเภท เช่น ภาวะชัก เกร็ง รวมทั้งวิธีการป้องกัน และ วิธีการรักษา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
          1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน
          2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ
          3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ
          4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
          1. ผลการทดสอบความรู้
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง
(ง) วิธีการประเมิน
          1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ
          2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
(ก) คำแนะนำ
          ไม่มี
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
          1. ผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง ผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดหรือความพิการใน 7 ด้าน คือ สติปัญญา การเรียนรู้ ออทิสติก จิตใจหรือพฤติกรรม การเคลื่อนไหวหรือทางร่างการ การเห็น และการได้ยินหรือสื่อความหมาย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือ ส่งเสริมทางด้านกายภาพ พัฒนาการ การรับสัมผัส การรับรู้ พฤติกรรม อารมณ์ ขณะทำการรักษาทางทันตกรรม
          2. ตําแหน่งการเข้าทํางานข้างเก้าอี้ในการให้การรักษาทางทันตกรรมแก่ผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง การจัดตำแหน่งเก้าอี้ทันตกรรมให้เหมาะสมกับการเคลื่อนที่ของผู้ป่วยที่อาจมีข้อจำกัด เช่น การปรับความสูงให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ หรือ การเตรียมความพร้อมกรณีผู้ป่วยใช้รถเข็นมาทำฟัน
          3. ภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดกับผู้ป่วย หมายถึง ภาวะหรือสถานการณ์พิเศษของผู้ป่วยกลุ่มที่มีความต้องการพิเศษ ที่ผู้ช่วยทันตแพทย์จะต้องเตรียมรับมือป้องกันภาวะที่อาจที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ภาวะชัก เกร็ง เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่มี


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่มี


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การสอบข้อเขียน และการสังเกตการณ์


ยินดีต้อนรับ