หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ช่วยงานข้างเก้าอี้ในงานทันตกรรม

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-BTPT-069A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ช่วยงานข้างเก้าอี้ในงานทันตกรรม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A 1 3251 ผู้ช่วยทันตแพทย์และนักทันตกรรมบำบัด

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

          การช่วยปฏิบัติงานข้างเก้าอี้ทำฟัน คือ สามารถช่วยเหลือทันตแพทย์จัดเตรียมและเรียงลำดับเครื่องมือในการรักษาทันตกรรมทั่วไป รวมถึงช่วยเหลือทันตแพทย์ให้การรักษาทางทันตกรรมได้อย่างถูกต้อง


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้ช่วยทันตแพทย์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ไม่มี


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ไม่มี


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
40102.01 จัดเตรียมเครื่องมือในการรักษาทางทันตกรรม

1. มีความรู้เรื่องเครื่องมือที่ใช้ในการรักษาทางทันตกรรมแต่ละประเภท

2. มีความรู้เรื่องหน้าที่ของเครื่องมือที่ใช้ในการรักษาทางทันตกรรม

3. จัดเตรียมเครื่องมือได้ถูกต้องและเหมาะสมกับประเภทการรักษา

40102.02 ช่วยเหลือทันตแพทย์ให้การรักษาทางทันตกรรม

1. มีความรู้ในขั้นตอนการรักษางานทางทันตกรรม

2. มีความรู้ในเรื่องตำแหน่งที่ถูกต้องในการเข้าช่วยทำงานข้างเก้าอี้

3. มีความรู้เรื่องการจัดตำแหน่งผู้ป่วยให้เหมาะสมในการรักษาทันตกรรม

4.ปรับไฟและดูดสารคัดหลั่ง เพื่อใหทันตแพทยเห็นบริเวณที่ให้การรักษาชัดเจนและทํางานไดอย่างมีประสิทธิภาพ


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการจัดเตรียมเครื่องมือได้ถูกต้องกับงานทันตกรรม
2. มีทักษะในการจัดเรียงลำดับเครื่องมือตามขั้นตอนการรักษาทันตกรรม    
3. สามารถเข้านั่งทำงานในตำแหน่งที่เหมาะสมในการช่วยงานทันตกรรม    
4. จัดตําแหน่งผู้ป่วยให้เหมาะสมในการรับการรักษาทันตกรรม    
5. ปรับไฟและดูดสารคัดหลั่งให้ทันตแพทย์เห็นบริเวณที่ให้การรักษาชัดเจนและทํางานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ    
6. รับ-ส่งเครื่องมือที่ใช้ในการรักษางานทันตกรรมเฉพาะทางได้อย่างถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้เรื่องชนิดเครื่องมือที่ใช้ในการรักษาทันตกรรม    
2. มีความรู้เรื่องหน้าที่ของเครื่องมือทันตกรรม    
3. มีความรู้ในขั้นตอนของการรักษางานทันตกรรม    
4. มีความรู้ในเรื่องตําแหน่งการเข้าทํางานข้างเก้าอี้ในงานทันตกรรมที่ถูกต้อง
5. มีความรู้เรื่องการจัดตําแหน่งผู้ป่วยให้เหมาะสมในการรักษาทันตกรรม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
          ไม่มี
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
          1. ผลการทดสอบความรู้/แบบสัมภาษณ์
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง
(ง) วิธีการประเมิน
          1. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
(ก) คำแนะนำ
          ไม่มี
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
          1. งานทางทันตกรรม หมายถึง การรักษาทางทันตกรรมพื้นฐานแบบไม่ยุ่งยาก ไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้เฉพาะทาง    
          2. เครื่องมือในการรักษาทางทันตกรรม หมายถึง เครื่องมือพื้นฐานในการรักษาทางทันตกรรมเบื้องต้นในงานทันตกรรมประดิษฐ์ ทันตกรรมหัตถการ วิทยาเอนโดดอนท์ ศัลยศาสตร์ ปริทันตวิทยา และอื่นๆ    
          3. ตำแหน่งในการเข้าช่วยข้างเก้าอี้ หมายถึง ตำแหน่งตามเข็มนาฬิกาของผู้ช่วยทันตแพทย์ในการเข้าช่วยทำงานทันตกรรม ที่เหมาะสมในการรักษาแต่ละประเภท    
          4. การปรับไฟและการดูดสารคัดหลั่ง หมายถึง การจัดวางตำแหน่งสายดูดดน้ำลายให้เหมาะสมเพื่อควบคุมปริมาณน้ำลายและสารคัดหลั่งในช่องปาก รวมถึงการปรับแสงสว่างให้เหมาะสมในการทำงาน เพื่อให้ทันตแพทย์เห็นบริเวณทำงานได้อย่างชัดเจน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่มี


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่มี


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การสอบข้อเขียน การสังเกตการณ์


ยินดีต้อนรับ