หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดมาตรการปฏิบัติงานตามหลักการสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหารตามมาตรฐานสากล

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-VLJB-006A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดมาตรการปฏิบัติงานตามหลักการสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหารตามมาตรฐานสากล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
3122 หัวหน้าควบคุมงานด้านการผลิต
7512 ผู้ทำขนมปัง ขนมเค้ก ขนมหวานและลูกกวาด
7513 ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นม
7514 ผู้ถนอมผลไม้ พืชผัก และผู้ถนอมอาหารที่เกี่ยวข้อง
7515 ผู้ชิมรสและจัดระดับระดับคุณภาพของอาหารและเครื่องดื่ม
8160 ผู้ควบคุมเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการจัดการวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ กำหนดวิธีการดูแลสถานที่ปฏิบัติงานและสถานที่ผลิตให้สะอาด ป้องกันการปนเปื้อน ควบคุมการดำเนินการผลิต ขนย้าย และเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อย่างถูกสุขลักษณะ ควบคุมการจัดการบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องจักร ให้พร้อมต่อการใช้งานและถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล ควบคุมการสุขาภิบาล กำหนดมาตรการในการปฏิบัติตามสุขลักษณะส่วนบุคคลและการสุขาภิบาลของผู้ปฏิบัติงาน วางแผนการจัดการด้านการขนส่ง และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และสร้างความเข้าใจต่อผู้บริโภค
หน่วยสมรรถนะนี้เหมาะกับผู้เข้ารับการประเมินที่มีทักษะฝีมือ สามารถใช้ทฤษฎีและเทคนิคอย่างอิสระด้วยตนเอง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมอาหาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติอาหาร พุทธศักราช 2522
- พระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
- พระราชบัญญัติ มาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503
- พระราชบัญญัติ คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2551
- พระราชบัญญัติ การมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใชในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร
- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติ: หลักการทั่วไปเกี่ยวกับ  สุขลักษณะอาหาร ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2550 (มกษ. 9023-2550) 
- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม มอก.34-2546  ข้อปฏิบัติแนะนำระหว่างประเทศ: หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร(หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร)
- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม มอก.7000-2549 ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร และคำแนะนำในการนำไปใช้

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
51010201 จัดการวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์

-กำหนดรายละเอียดคุณสมบัติ(Specification) ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอาหารของวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับกฎหมาย

-กำหนดวิธีตรวจสอบคุณภาพด้านความปลอดภัยของวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม

-กำหนดหลักเกณฑ์คัดเลือกและประเมินผู้ขายวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์

-กำหนดมาตรการดูแลรักษาคุณภาพด้านความปลอดภัยของวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์

51010202 กำหนดวิธีการดูแลสถานที่ปฏิบัติงานและสถานที่ผลิตให้สะอาดป้องกันการปนเปื้อน

-วิเคราะห์โอกาสในการปนเปื้อนเพื่อใช้ในการออกแบบสถานที่ตั้ง อาคารผลิต และสายการผลิต

-ออกแบบสถานที่ผลิตให้ถูกสุขลักษณะป้องกันการปนเปื้อน

51010203 ควบคุมการดำเนินการผลิตขนย้าย และเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อย่างถูกสุขลักษณะ

-ควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อความปลอดภัยในการผลิตอาหารให้อยู่ในขอบเขตที่กำหนด

-ควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันการปนเปื้อนและเสื่อมสภาพของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์และกำหนดมาตรการจัดการกรณีเบี่ยงเบน

-ตรวจสอบการบันทึกและทวนสอบกลับแผนดำเนินงานการผลิต

-แก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยโดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การอาหาร

51010204 ควบคุมการจัดการบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องจักร ให้พร้อมต่อการใช้งานและถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล

-ประเมินความสมบูรณ์ของอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักร โดยใช้ประสาทสัมผัส

-กำหนดแผนการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ และสถานที่

-ตรวจสอบผลการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ และสถานที่

51010205 ควบคุมการสุขาภิบาล

-วางแผนและตรวจสอบระบบการจัดการของเสียและขยะ

-วางแผนและตรวจสอบระบบการจัดการน้ำใช้ในโรงงาน

-วางแผนและตรวจสอบระบบการจัดการสัตว์พาหะ

51010206 กำหนดมาตรการในการปฏิบัติตามสุขลักษณะส่วนบุคคลและการสุขาภิบาลของผู้ปฏิบัติงาน

-กำหนดมาตรการรักษาความสะอาดตามข้อกำหนดด้านสุขลักษณะและสุขาภิบาล

-กำหนดมาตรการป้องกันการปนเปื้อนจากผู้ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดด้านสุขภาพการเจ็บป่วย และการบาดเจ็บ

-กำหนดวิธีปฏิบัติตามระบบการต้อนรับบุคคลภายนอกเข้าเยี่ยมชม

51010207 วางแผนการจัดการด้านการขนส่ง

-กำหนดมาตรการป้องกันการปนเปื้อนระหว่างการขนส่ง

-กำหนดมาตรการรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ระหว่างการขนส่ง

51010208 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และสร้างความเข้าใจต่อผู้บริโภค

-ควบคุมมาตรการการบันทึกและเก็บข้อมูลผลิตภัณฑ์เพื่อการบ่งชี้และเรียกคืน

-ดำเนินการรับข้อร้องเรียนและแก้ไขปัญหาตามมาตรการที่กำหนดไว้


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
- ความรู้และทักษะเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหารสากล
- ความรู้และทักษะเกี่ยวกับระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการทวนสอบแผนการดำเนินงาน
2. ทักษะในการรับข้อร้องรียนและแก้ไขปัญหา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์
2. ความรู้เกี่ยวกับอันตรายด้านกายภาพ เคมี ชีวภาพ และสารก่อภูมิแพ้
3. ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตอาหาร
4. ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
5. ความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารและการทำความสะอาดเครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องจักร
6. ความรู้เกี่ยวกับการเรียกคืนผลิตภัณฑ์

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)
       หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
ไม่มี
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
ไม่มี 
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
  N/A
 (ง) วิธีการประเมิน
- ข้อเขียน หรือ
- ใช้ผลการทดสอบการขึ้นทะเบียนนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร (CFoP) หมวดวิชา การประกันคุณภาพและสุขาภิบาลอาหาร

15. ขอบเขต (Range Statement)
     ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 
(ก) คำแนะนำ
  หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้นๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
- มาตรฐานสากล หมายถึง GMP (Codex) หรือมาตรฐานอื่นๆ ที่เทียบเท่าหรือสูงกว่า ตามที่คู่ค้ากำหนด
- เหมาะสม หมายถึง วิธีการที่เชื่อถือและสามารถอ้างอิงได้
- ปัจจัยที่มีผลต่อความปลอดภัยอาหาร หมายถึง ปัจจัยที่ผลต่อความปลอดภัยอาหารด้านจุลินทรีย์ ด้านเคมี ด้านกายภาพ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ค่าพีเอช และเวลาในการผลิต รวมถึงการชี้บ่งและการป้องกันการปนเปื้อนข้าม
- การประเมินเบื้องต้น หมายถึง การประเมินด้วยการใช้ประสาทสัมผัสของผู้ตรวจสอบ โดยการใช้ การสัมผัส การมอง การฟังเสียง การดม 
- ข้อกำหนดด้านสุขภาพ การเจ็บป่วย และการบาดเจ็บ หมายถึง แผนการตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งเป็นไปตามกฏกระทรวงสาธารณสุข
- การบ่งชี้ผลิตภัณฑ์ (Product Identification) หมายถึง การแสดงสถานะ ที่มา รุ่นของผลิตภัณฑ์ การบ่งชี้อาจเป็นข้อความบนฉลาก เช่น ชื่อ ชนิด ขนาดบรรจุ วันผลิต วันหมดอายุ Lot Number เลขทะเบียนตำรับอาหาร องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์
- การเรียกคืนผลิตภัณฑ์ (Product Recall) หมายถึง กระบวนการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์จากตลาด เกิดขึ้นในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ที่ส่งไปจำหน่ายมีปัญหาด้านความปลอดภัยอาหาร ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ผู้ประกอบการต้องดำเนินการเรียกคืนผลิตภัณฑ์จากท้องตลาด        

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)
- การสอบข้อเขียน หรือ
- ใช้ผลการทดสอบการขึ้นทะเบียนนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร (CFoP) หมวดวิชา การประกันคุณภาพและสุขาภิบาลอาหาร
 

ยินดีต้อนรับ