หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติตามหลักการสุขลักษณะที่ดีในการผลิต

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-NJFM-002A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติตามหลักการสุขลักษณะที่ดีในการผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
3122 หัวหน้าควบคุมงานด้านการผลิต
7512 ผู้ทำขนมปัง ขนมเค้ก ขนมหวานและลูกกวาด
7513 ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นม
7514 ผู้ถนอมผลไม้ พืชผัก และผู้ถนอมอาหารที่เกี่ยวข้อง
7515 ผู้ชิมรสและจัดระดับระดับคุณภาพของอาหารและเครื่องดื่ม
8160 ผู้ควบคุมเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
           หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการระบุความเหมาะสมของสถานที่ตั้ง อาคารผลิต การติดตั้งเครื่องมือเครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต ให้ง่ายต่อการทำความสะอาด ถูกสุขลักษณะ และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการควบคุมการผลิตอาหาร รวมถึงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การสุขาภิบาล ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด และปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขลักษณะของผู้ปฏิบัติงานและบุคลากร หน่วยสมรรถนะนี้เหมาะกับผู้เข้ารับการประเมินที่มีทักษะฝีมือ สามารถใช้ทฤษฎีและเทคนิคอย่างอิสระด้วยตนเอง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมอาหาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติอาหาร พุทธศักราช 2522
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใชในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร
- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติ: หลักการทั่วไปเกี่ยวกับ สุขลักษณะอาหาร ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2550 (มกษ. 9023-2550) 
- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม มอก.34-2546 ข้อปฏิบัติแนะนำระหว่างประเทศ: หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร (หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
41010201 ระบุความเหมาะสมของสถานที่ตั้ง อาคารผลิต

-ระบุความเหมาะสมในการคัดเลือกและจัดการสถานที่ตั้งและอาคารผลิตได้ถูกต้อง

41010202 ระบุความเหมาะสมในการติดตั้งเครื่องมือเครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต ให้ง่ายต่อการทำความสะอาด ถูกสุขลักษณะ

-เลือกใช้วัสดุเครื่องมือ และอุปกรณ์ มาใช้ได้อย่างเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน

-จัดวางสายการผลิตได้เหมาะสม

41010203 ปฏิบัติตามหลักการสุขลักษณะที่ดีในการผลิต

-ปฏิบัติตามแผนควบคุมกระบวนการผลิตตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงผลิตภัณฑ์สุดท้าย

-ตรวจติดตามปัจจัยที่มีผลต่อความปลอดภัยอาหาร

-ระบุวิธีการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เพื่อป้องกันการปนเปื้อนและเสื่อมสภาพของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์

-บันทึกและสรุปผลการปฏิบัติงานและรายงานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอาหาร

-สรุปผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เทียบกับมาตรฐานของผลิตภัณฑ์

41010204 ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การสุขาภิบาล

-นำข้อกำหนดด้านสุขลักษณะว่าด้วยเรื่อง น้ำใช้ในโรงงาน มาปฏิบัติระบุวิธีการปรับคุณภาพน้ำและวิธีการขนย้ายลำเลียงที่ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน

-นำข้อกำหนดด้านสุขลักษณะว่าด้วยเรื่อง ส้วมและอ่างล้างมือ มาปฏิบัติ

-นำข้อกำหนดด้านสุขลักษณะว่าด้วยเรื่อง การกำจัดสัตว์และแมลง มาปฏิบัติ

-นำข้อกำหนดด้านสุขลักษณะว่าด้วยเรื่อง ขยะมูลฝอย มาปฏิบัติ

-นำข้อกำหนดด้านสุขลักษณะว่าด้วยเรื่อง ทางระบายน้ำและสิ่งโสโครก มาปฏิบัติ

41010205 ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด

-นำข้อกำหนดวิธีการทำความสะอาดมาปฏิบัติ

-นำข้อกำหนดวิธีการบำรุงรักษามาปฏิบัติ

-ใช้และเก็บรักษาสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและวัตถุอันตรายตามวิธีที่กำหนด

41010206 ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขลักษณะของผู้ปฏิบัติงานและบุคลากร

-ระบุข้อกำหนดด้านสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

-ระบุข้อกำหนดด้านพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน

-นำข้อกำหนดด้านสุขลักษณะ ว่าด้วยเรื่อง การแต่งกาย มาปฏิบัติ


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
- มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารขั้นพื้นฐาน
- มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับความปลอดภัยอาหาร

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการประยุกต์ใช้หลักการสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร
2. ทักษะในการจัดทำเอกสารระบบคุณภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับความเหมาะสมของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต
2. ความรู้เกี่ยวกับความเหมาะสมในการติดตั้งเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต
3. ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการควบคุมการผลิตอาหารที่ดี
4. ความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหาร
5. ความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
6. ความรู้เกี่ยวกับสุขลักษณะของผู้ปฏิบัติงานและบุคลากร

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)
          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
       ไม่มี
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
       ไม่มี
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
            N/A 
(ง) วิธีการประเมิน
    - การสอบข้อเขียน

15. ขอบเขต (Range Statement)
      ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ก) คำแนะนำ
      หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้นๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ 
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
    - ความเหมาะสมของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต หมายถึง สถานที่ตั้งและอาคารผลิตต้องอยู่ห่างจากสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้อาหารเกิดการปนเปื้อน
    - วางสายการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ หมายถึง การวางสายการผลิตให้สะดวกต่อการปฏิบัติงานและไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนข้าม
    - การปนเปื้อนข้าม (Cross contamination) หมายถึง การปนเปื้อนของอันตรายทางชีวภาพ กายภาพ หรือเคมี โดยการสัมผัสกันจากสิ่งที่สกปรกไปยังสิ่งที่สะอาดกว่า เช่น แบคทีเรียก่อโรคอาหารเป็นพิษจากอาหารดิบ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ไม่สะอาด ผู้สัมผัสอาหารที่ปฏิบัติตนไม่ถูกสุขลักษณะ สภาพแวดล้อมของการผลิตหรือการขนย้ายอาหารไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของสิ่งแปลกปลอมหรืออันตรายไปสู่อาหารที่ผ่านการแปรรูป
   - ความเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน หมายถึง การป้องกันการปนเปื้อนข้ามได้และง่ายต่อการทำความสะอาด
    - ข้อกำหนดด้านสุขลักษณะ ว่าด้วยเรื่อง น้ำใช้ในโรงงาน หมายถึง น้ำที่ใช้ในโรงงาน ต้องเป็นน้ำสะอาดและจัดให้มีการปรับคุณภาพน้ำตามความจำเป็นของอุตสาหกรรม
    - ข้อกำหนดด้านสุขลักษณะ ว่าด้วยเรื่อง ส้วม อ่างล้างมือ สบู่เหลว และอุปกรณ์ที่ทำให้มือแห้ง หมายถึง การจัดเตรียมและออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในสถานประกอบการให้เป็นไปตามหลักสุขาภิบาลที่ดี เช่น การจัดเตรียมน้ำใช้ ห้องน้ำ ห้องส้วม อ่างล้างมือหน้า อุปกรณ์ทำความสะอาดที่เหมาะสม เช่น สบู่ ผ้าเช็ดมือ โดยจัดเตรียมในปริมาณที่เพียงพอกับผู้ปฏิบัติการ และที่สำคัญต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
   - ข้อกำหนดด้านสุขลักษณะ ว่าด้วยเรื่อง การกำจัดสัตว์และแมลง หมายถึง การดำเนินการด้านระบบป้องกันและกำจัดสัตว์พาหะนำโรค และแมลง 
   - ข้อกำหนดด้านสุขลักษณะ ว่าด้วยเรื่อง ขยะมูลฝอยและของเสีย หมายถึง การจัดให้มีระบบการกำจัดขยะ มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยจากกระบวนการผลิตในจำนวนที่เพียงพอ และมีระบบการกำจัดขยะมูลฝอยที่เหมาะสม
   - ข้อกำหนดด้านสุขลักษณะ ว่าด้วยเรื่อง ทางระบายน้ำและสิ่งโสโครก หมายถึง จัดให้มีทางระบายน้ำทิ้งและสิ่งโสโครกอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสม และไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตอาหาร
    - สารเคมี หมายถึง สารเคมีที่ใช้ในเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ และสารที่ใช้ทำความสะอาด/สารฆ่าเชื้อ
     - วัตถุอันตราย หมายถึง สารเคมีที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อคนหรือสิ่งแวดล้อม
     - บุคลากร หมายถึง บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิต เช่น ผู้เยี่ยมชม, Auditor

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)
การใช้ข้อสอบข้อเขียน

ยินดีต้อนรับ