หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ เจรจาต่อรอง และ คัดเลือกผู้ขายหรือผู้ให้บริการ

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-PFMS-067A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ เจรจาต่อรอง และ คัดเลือกผู้ขายหรือผู้ให้บริการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักจัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

  บุคคลที่ทำหน้าที่จัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์เครื่องมือเพื่อเลือกแนวทางเจรจาต่อรองเจรจาต่อรองกับผู้ขายผู้ให้บริการและคัดเลือกผู้ขาย ผู้ให้บริการ


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

3323 ผู้จัดซื้อ


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
01231 วิเคราะห์เครื่องมือเพื่อเลือกแนวทางเจรจาต่อรอง

1.เป้าหมายของการเจรจาต่อรองมีการพิจารณาและกำหนดอย่างถูกต้อง

2.แนวทางเจรจาต่อรองให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการเจรจามีการเลือกเครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพ

01232 เจรจาต่อรองกับผู้ขาย ผู้ให้บริการ

1.การวางแผนการเจรจาต่อรองมีการเตรียมให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนด

2.การเจรจาต่อรองดำเนินการสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด

3.การเจรจาต่อรองมีการประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

01233 คัดเลือกผู้ขาย ผู้ให้บริการ

1.เกณฑ์การคัดเลือกผู้ขายผู้ให้บริการกำหนดได้อย่างถูกต้องชัดเจน

2.การคัดเลือกผู้ขาย ผู้ให้บริการมีการดำเนินการอย่างถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบได้


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการวิเคราะห์เครื่องมือ เพื่อเลือกแนวทางเจรจาต่อรอง       

  1.1 สามารถพิจารณาและกำหนดเป้าหมายของการเจรจาต่อรองอย่างถูกต้อง

   1.2 สามารถเลือกเครื่องมือแนวทางเจรจาต่อรองให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการเจรจาอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ปฏิบัติการเจรจาต่อรองกับผู้ขายผู้ให้บริการ      

   2.1 สามารถเตรียมการวางแผนการเจรจาต่อรองให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนด

   2.2 สามารถดำเนินการการเจรจาต่อรองสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด

   2.3 สามารถประเมินผลการเจรจาต่อรองอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ปฏิบัติการคัดเลือกผู้ขาย ผู้ให้บริการ    

   3.1 สามารถกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกผู้ขาย ผู้ให้บริการได้อย่าง ถูกต้องชัดเจน

   3.2 สามารถดำเนินการการคัดเลือกผู้ขาย ผู้ให้บริการ อย่างถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบได้


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. เทคนิคการเจรจาต่อรอง

2. การวิเคราะห์และคัดเลือกผู้ขาย ผู้ให้บริการ

3. โครงสร้างต้นทุนและตลาดสินค้าบริการด้านโลจิสติกส์

4. การบริหารงานจัดซื้อ

5. การวางแผนกลยุทธ์และบริหารความเสี่ยงในงานจัดซื้อ



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   1. รายงานสรุปผลการเลือกเครื่องมือในการเจรจาต่อรอง

   2. รายงานสรุปการประเมินผลการเจรจาต่อรองกับผู้ขาย ผู้ให้บริการ

   3. รายงานสรุปผลการคัดเลือกผู้ขาย ผู้ให้บริการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   1. ใบผ่านการอบรมและสัมมนาวิชาชีพจัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง

   2. ใบผ่านการอบรมเทคนิคการเจรจาต่อรองในงานจัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง

   3. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    ประเมินเกี่ยวกับการวิเคราะห์เครื่องมือเพื่อเลือกแนวทางเจรจาต่อรองเจรจาต่อรองกับผู้ขายผู้ให้บริการและคัดเลือกผู้ขาย ผู้ให้บริการ

(ง) วิธีการประเมิน

   1. พิจารณาหลักฐานความรู้

   2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. ผู้ปฏิบัติงานวางแผนเพื่อการเจรจาต่อรองกับผู้ขายเพื่อนำไปสู่ข้อตกลง ซึ่งการเจรจาไม่ได้มุ่งหวังเพียงราคา แต่รวมถึงการพูดถึงเรื่องปริมาณ และคุณภาพด้วย

   2. ผู้ปฏิบัติงานต้องกำหนดเครื่องมือและแนวทางในการเจรจาต่อรองได้แก่ วิธีการเจรจา สถานที่ เพื่อให้การเจรจาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

   3. ผู้ปฏิบัติดำเนินการเจรจาต่อรองโดยกำหนดวาระการเจรจา ดำเนินการเจรจาตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยกำหนดให้บรรยากาศและสถานที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงาน มีความรู้ในการใช้คำพูดที่เหมาะสม

   4. ผู้ปฏิบัติงานพิจารณาผลการคัดเลือกผู้ขายที่ผ่านเกณฑ์ โดยขั้นตอนต่าง ๆ ต้องมีความโปร่งใสและมีการตรวจสอบถึงระดับที่ผู้ขายได้รับการคัดเลือกได้



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. แบบประเมินจากการสัมภาษณ์

  3. แบบประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

  4. แบบประเมินผลการจำลองสถานการณ์

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. แบบประเมินจากการสัมภาษณ์

  3. แบบประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

  4. แบบประเมินผลการจำลองสถานการณ์

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

3. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. แบบประเมินจากการสัมภาษณ์

  3. แบบประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

  4. แบบประเมินผลการจำลองสถานการณ์

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

 



ยินดีต้อนรับ