วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การอย่างถูกต้องครบถ้วน
จัดเตรียมการนำวิสัยทัศน์ไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ไปสู่การปฎิบัติโดยใช้แนวความคิด 7S’ Mckensey
บริหารจัดการตามหลักการจัดการ ตามหลักการ POLC
ออกแบบผลิตภัณฑ์ ทั้งคุณภาพ ราคา รูปลักษณ์ของสินค้า
จัดหาสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและมีส่วนผสมที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย
พัฒนาสินค้าใหม่ที่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเพื่อดำเนินกระบวนการผลิตจัดหานวัตกรรมใหม่ในสินค้าหรือบริการ
พัฒนาและปรับปรุงขั้นตอนในการผลิตด้วยระบบเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตตามหลัก GMP
กำหนดตำแหน่งราคาคุณภาพของสินค้าที่คัดเลือกที่จะจำหน่ายเพื่อหาจุดขาย
กำหนดกลุ่มเป้าหมายและช่องทางการจัดจำหน่าย และแนวโน้มตลอดจนวิธีการทำงานของตลาด
กำหนดการแบ่งส่วนตลาด (Segmentation) ของสินค้า
กำหนดตลาดเป้าหมาย (Target)ของสินค้า
กำหนดตำแหน่ง(Positioning) ของสินค้า
ศึกษาความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคโดยการทำวิจัยกลุ่มตัวอย่างเพื่อวางแผนในอนาคต
ติดตาม วิเคราะห์ศึกษาความพึงพอใจจากการบริโภคจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อทราบแนวโน้มในอนาคต
วิเคราะห์สถานการณ์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของธุรกิจ
กำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด วิเคราะห์แรงกดดันห้าประการ วิเคราะห์คู่แข่งขัน ความรุนแรงทางการแข่งขัน วิเคราะห์ตำแหน่งของผลิตภัณฑ์
กำหนดรูปแบบการแบ่งส่วนทางการตลาด กำหนดตลาดเป้าหมาย การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์
พัฒนาและปรับปรุงโปรแกรมที่ใช้คำนวณแผนการตลาดหรือแผนการจ่ายผลตอบแทนให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีอยู่เสมอ
พัฒนานำเทคโนโลยีใหม่ๆมาเสริมประสิทธิภาพในการใช้โปรแกรมคำนวณแผนการตลาดหรือแผนการจ่ายผลตอบแทนได้อย่างถูกต้อง
เลือกเงื่อนไขแผนการจ่ายผลตอบแทนให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายและตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
วิเคราะห์ ประเมิน การเลือกใช้แผนตรงตามความต้องการของผู้ร่วมธุรกิจหรือไม่
วัดผลการทำงานโดยการวิเคราะห์ยอดขาย กำไร ส่วนครองตลาด Market shareจัดทำงบประมาณงบกำไรขาดทุน วิเคราะห์ทางการเงิน
วิเคราะห์อัตราการเจริญเติบโตทางการตลาด วิเคราะห์การขาย วิเคราะห์สัดส่วนในการครองตลาด วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายทางการ ตลาด วิเคราะห์ส่วนผสมทางการ ตลาดวิเคราะห์ความพอใจของลูกค้า
กำหนดรูปแบบวิธีการในการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพจัดทำการอบรมแบบ E-Learning
กำหนดรูปแบบวิธีการเทคนิคการขายส่วนบุคคล
ฝึกทักษะการบริหารคน ด้านจิตวิทยา
กำหนดการอบรมทักษะความเป็นผู้นำของบุคลากรในระดับต่าง ๆ ภายในองค์กร
กำหนดการอบรมเสริมสร้างความเป็นผู้นำ (Intelligence Leadership) และอบรมหลักการบริหารธุรกิจอย่างมืออาชีพให้กับบุคลากรในองค์กร
ประเมินผลการผ่านเกณฑ์ของกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม
จำนวนอัตราการผ่านเกณฑ์ของกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม
รวบรวมข้อมูลจากการติดตามและประเมินมาใช้วางแผนโครงการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง
วางแนวทางการประเมินกระบวนการฝึกอบรมทั้งระบบ มีหลักการพิจารณาผลการฝึกอบรม (Outputs) อาทิ พิจารณาจากปฏิกิริยา,พิจารณาจากการเรียนรู้,พิจารณาจากพฤติกรรมและผลลัพธ์หรือผลกระทบ
ให้มีการเรียนรู้ เข้าใจและปฏิบัติตามกฎจรรยาบรรณ
มีระบบการตรวจสอบจรรยาบรรณของผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม
จัดให้มีการประเมินจากข้อร้องเรียนที่ได้รับจากการทำงานของสมาชิก
พัฒนา หาแนวทางและข้อกำหนดใหม่ๆเพื่อให้สอดคล้องต่อการแก้ปัญหาจากข้อร้องเรียน
คัดกรองสินค้าให้ได้มาตรฐานตามที่ อย. สคบ. กำหนด
ตรวจสอบส่วนประกอบและคุณสมบัติของสินค้าให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย
กำหนดเกณฑ์การผลิตสินค้าที่ผ่านการรับอนุญาตและได้รับการรับรองจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
กำหนดเกณฑ์ราคาสมเหตุสมผลในราคาที่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
วิเคราะห์ห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain Analysis) วิเคราะห์กิจกรรมหลัก (Primary Activities) และกิจกรรมสนับสนุน (Support Activities)
วิเคราะห์กิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุนที่มีคุณภาพและบริหารต้นทุนที่เหมาะสมในทุกกิจกรรม
วิเคราะห์ผลที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders Analysis) จะได้รับ จากการดำเนินงานของธุรกิจ
วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จตามหลักความสมดุลทั้งสี่ด้าน Balanced Score Card ในการประเมินประสิทธิภาพขององค์การ
ตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าและตรวจสอบกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพตามหลักสากล
105212 ตรวจสอบขั้นตอนการขนส่งและการจัดจำหน่ายที่ถูกต้องตามกฎหมายและได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐ
ตรวจสอบความถูกต้องในส่วนประกอบของตัวสินค้าหรือบริการ
ตรวจสอบความถูกต้องในการนำเข้าสินค้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
พัฒนานวัตกรรมใหม่โดยจัดให้มีแผนกวิจัยและพัฒนาสินค้าใหม่ (โดยองค์กรพัฒนาเอง) และจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
จัดหานักวิจัยและพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีความรู้ตรงตามลักษณะของสินค้า
พัฒนานวัตกรรมใหม่ในตัวสินค้าโดยการติดต่อประสานงานผ่านองค์กรภายนอกช่วยพัฒนาสินค้าใหม่
จัดให้มีการประเมินผลลัพธ์จากการซื้อสินค้าด้วยการเปรียบเทียบความคาดหวังใน 3 ระดับ ประกอบด้วย ความประทับใจ,ความพอใจ และความผิดหวัง
จัดให้มีระบบการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM: Customer Relationship Management) เพื่อใช้พัฒนาความสัมพันธ์ทางธุรกิจโดยเฉพาะการรักษาลูกค้าและผลักดันการเติบโตของยอดขายได้
พัฒนาสินค้าใหม่ที่มีนวัตกรรมการบริโภคหรือการใช้งานที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
พัฒนาสินค้าใหม่ที่มีนวัตกรรมการบริโภคหรือการใช้งานในระยะยาวไม่ก่อให้เกิดผล ข้างเคียงต่อผู้บริโภคหรือมีคำเตือนให้ผู้บริโภคได้รับทราบ
พัฒนาองค์ความรู้หรือแนวคิดใหม่ด้วยนวัตกรรมการพัฒนาสินค้าและบริการได้อย่างยั่งยืน
พัฒนาฐานข้อมูลการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาสินค้าบริการใหม่ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้าในตลาด
สอบถามความพึงพอใจในการใช้หรือการบริโภคสินค้าใหม่เพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
ประเมินความพอใจของผู้บริโภคที่ได้ใช้สินค้าใหม่ที่ได้พัฒนานวัตกรรมออกสู่ตลาดและความนิยมในสินค้าของกลุ่มตลาดเป้าหมาย
แสวงหาลูกค้าเพิ่มเติมและขยายฐานลูกค้าใหม่เพื่อนำผลิตภัณฑ์ที่ได้พัฒนานวัตกรรมไปใช้ในระบบ แฟรนไชส์
กำหนดส่วนแบ่งทางการตลาดสำหรับกลุ่มลูกค้าที่บริโภคสินค้าหรือบริการกลุ่มใหม่เพื่อขยายส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้น
จัดให้มีระบบการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป CRM ในการบริหารฐานลูกค้าเดิมและสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ มีระบบเก็บข้อมูลสินค้า (Data mart) ระบบข้อมูลคลังสินค้า (Data ware house) ระบบช่วยในสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support) ระบบปรับ ปรุงประสิทธิภาพภายใน (Workflow Automation)
จัดกิจกรรมทางการตลาดเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า
บริหารโครงสร้างองค์กรให้มีแผนงานรับผิดชอบด้านบริหารลูกค้าสัมพันธ์
จัดบุคลากรที่มีความสามารถและทักษะในการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
วิเคราะห์ผลกระทบจากการขยายตลาด โดยใช้ข้อมูล ERP เพื่อประเมินดูผลลัพธ์ของอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
วิเคราะห์แนวทางแก้ไขผลกระทบที่เกิดจากการขยายตลาดในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทางการตลาด การส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านบุคลากรปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
วิเคราะห์งบการเงิน อัตราส่วนทางการเงินและอัตราส่วนในการทำกำไรจากการขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
วิเคราะห์การวางแผนทางการเงิน การบริหารเงินทุนหมุนเวียน วิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน ระบบการจัดเก็บเงิน การบริหารลูกหนี้ การจัดหาเงินทุนของธุรกิจ
วิเคราะห์ความเสี่ยงจากสถานการณ์ต่าง ๆ และจากความผันผวนทางการเงินและเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Risk Management)
เปรียบเทียบต้นทุนทางการเงินปัจจุบันขององค์กรกับตลาด
แสวงหาแหล่งการเงินที่มีต้นทุนต่ำกว่า
จัดให้มีเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ทางการเงิน และการแสวงหาแหล่งเงินที่เหมาะสมให้กับธุรกิจ
จัดให้มีเครื่องมือทางการเงินในการพยากรณ์หรือการคาดการณ์การเติบโตของธุรกิจ
จัดเตรียมศูนย์กระจายสินค้าบนทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมที่มีขนาดพื้นที่ใช้สอยที่ใช้งบประมาณคุ้มค่าต่อยอดขายและการใช้บริการสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
จัดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถตามจำนวนที่รองรับผู้ใช้บริการพร้อมทั้งมีอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย ตรงความต้องการของผู้ใช้บริการ
จัดหาโซลูชั่นด้านการผลิตและกระจายสินค้าที่ครบวงจรในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)เพื่อช่วยเพิ่มรายได้, ลดต้นทุน, จัดส่งสินค้าได้ อย่างรวดเร็วและใช้ประโยชน์ของทรัพย์สินที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า
จัดหาเทคโนโลยีด้านอินเตอร์เน็ตมาใช้ในด้านการผลิตและการกระจายสินค้าเพื่อช่วยปรับปรุงการสื่อสารและสามารถปรับตัวต่อความต้องการของลูกค้าและตลาดได้อย่างรวดเร็ว
จัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงานเชื่อมโยงทั้งระบบการควบคุมสินค้าและการจัดเก็บตรงตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า (Just in Time)
จัดให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบการเงิน การจัดสต๊อกสินค้า การคัดเลือกสินค้า การชำระค่าสินค้า การชำระเงินผ่านธนาคาร ระบบการชำระภาษี
จัดให้มีซอฟต์แวร์ระบบบัญชี ระบบบริหารคลังสินค้า ระบบสต็อก นำอีดีไอมาใช้แทนใบสั่งของกับผู้ผลิตสินค้าราย ใหญ่ๆ เพื่อการสั่งซื้อ สินค้าเร็วขึ้น
จัดให้มีระบบ Tracking ควบคุมกระบวนการ ระยะเวลาของการนำเข้า และส่งออกสินค้าไปสู่ลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
จัดทำเอกสารใบส่งสินค้าที่มีรายละเอียดรายการสินค้าและจำนวนสินค้าที่สั่งซื้อ วันที่ซื้อสินค้าพร้อมสำเนาส่งมอบลูกค้าอย่างถูกต้องครบถ้วน
จัดทำเอกสารใบแจ้งหนี้ที่แสดงวิธีการชำระ และแสดงจำนวนเงินที่ต้องชำระ พร้อมแสดงหลักฐานการชำระเงินอย่างถูกต้องครบถ้วน
ตรวจสอบความถูกต้องของรหัสสินค้า ชนิดและประเภทของสินค้าอย่างถูกต้องครบถ้วน
ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารรายการแสดงจำนวนสินค้าทั้งหมดที่สั่งซื้อและรวมจำนวนเงินที่จะจัดเก็บอย่างถูกต้องครบถ้วน
จัดให้มีอุปกรณ์การชำระเงินจากบัตรอิเล็กทรอนิกส์ทั้งบัตรเดบิต เครดิต และเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยขออนุญาตการใช้จากธนาคาร หรือการมีระบบการชำระเงินที่ขออนุญาตใช้จากธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยองค์กรเอง และมีเคาน์เตอร์รับชำระเงินทั้งเงินสด บัตรเครดิต บัตรเดบิต ที่มีความสะดวก ปลอดภัยถูกต้องสำหรับลูกค้า
จัดให้มีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ปฏิบัติตามขั้นตอนของระบบการชำระเงินของธนาคารที่กำหนดและมาตรฐานตามข้อบังคับของธนาคารแห่งประเทศไทย
ตรวจสอบรายละเอียดการรับชำระเงินจากลูกค้าอย่างถูกต้องครบถ้วน
ออกใบสำคัญรับเงินให้แก่ลูกค้าเมื่อชำระเงินครบตามจำนวนที่จัดเก็บอย่างถูกต้อง
เกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria, PC)
แนวทางการประเมินสำหรับผู้ประเมินสมรรถณะย่อยนี้ (Guidance to Assessors of this Element)