หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนบำรุงรักษาโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 23102

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนบำรุงรักษาโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2563

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักเทคโนโลยีวางโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นผู้ที่สามารถรวบรวมข้อมูล และวางแผนจัดทำแผนบำรุงรักษาโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง จัดทำแผนดำเนินงานบำรุงรักษาโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง ให้สอดคล้องตามแผนที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบการวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
3521 ช่างเทคนิคด้านการแพร่ภาพกระจายเสียงและโสตทัศนูปกรณ์3522 ช่างเทคนิควิศวกรโทรคมนาคม7422 ช่างติดตั้งและผู้ให้บริการด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
23102.01 รวบรวมข้อมูล และวางแผนจัดทำแผนบำรุงรักษาโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง 1.1 ระบุความต้องการทางด้านเทคนิคที่สอดคล้องกับแผนบำรุงรักษาโครงข่ายสายใยแก้วนำแสงได้ 23102.01.01 120549
23102.01 รวบรวมข้อมูล และวางแผนจัดทำแผนบำรุงรักษาโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง 1.2 วิเคราะห์โครงข่ายสายใยแก้วนำแสงที่ต้องการบำรุงรักษาตามแผน 23102.01.02 120550
23102.02 จัดทำแผนดำเนินงานบำรุงรักษาโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง ให้สอดคล้องตามแผนที่กำหนด 2.1 จัดเตรียมข้อมูลความต้องการทรัพยากรให้สอดคล้องกับความต้องการด้านเทคนิคและความจุของโครงข่ายหลัก 23102.02.01 120553
23102.02 จัดทำแผนดำเนินงานบำรุงรักษาโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง ให้สอดคล้องตามแผนที่กำหนด 2.2 จัดเตรียมแผนดำเนินงานให้สอดคล้องกับทรัพยากรและเวลาตามที่กำหนด 23102.02.02 120554

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ความสามารถในการจัดทำเอกสารแสดงรายการ (Checklist) ที่บันทึกข้อมูลผลการทำบำรุงรักษา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานเครื่องมือวัด, อุปกรณ์ที่จำเป็นในงานไมโครเวฟ



2. ความรู้เกี่ยวกับสเปค, ค่ามาตรฐานของอุปกรณ์ในงานนั้น ๆ



3. ความรู้เกี่ยวกับ Network Configuration, Topology, การวัด/อ่านค่าที่จำเป็นในระบบผ่านทาง NMS



4. ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสื่อสารไมโครเวฟ



 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. ผลจากการทดสอบ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ผลจากการทดสอบ

  2. ผลจากสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด  ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน




  1. การประเมินผลการปฏิบัติงานจากแบบทดสอบภาคปฏิบัติ

  2. ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้ ผลจากการสัมภาษณ์ ผลจากแบบทดสอบภาคทฤษฎี


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 



          ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. เครื่องมือ อะไหล่ และอุปกรณ์ ที่ใช้ในงานบำรุงรักษานี้ให้เตรียมตามเอกสารการใช้ทรัพยากรที่ระบุไว้แล้ว ได้แก่ บันได ไขขวง ประแจ เครื่องวัดสัญญาณ อะไหล่ของอุปกรณ์ เครื่องรับ/ส่งสัญญาณไมโครเวฟ สายอากาศ สายนำสัญญาณเป็นต้น

  2. การประสานงาน จะติดต่อกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานตามที่ระบุไว้จากเอกสารที่ได้ทำไว้แล้ว

  3. ขั้นตอนปฏิบัติงาน เป็นกระบวนการทำการตรวจสอบและวัดค่าพารามิเตอร์ ในระหว่างอุปกรณ์ทำงานอยู่

  4. เอกสารแผนดำเนินการสำรองหรือแก้ไขปัญหากรณีฉุกเฉิน จะเป็นขั้นตอนวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหากเกดข้อผิดพลาดในระหว่างทำงาน ให้สามารถแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วขึ้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้ 



          1. สมรรถนะย่อย 23102.01 รวบรวมข้อมูล และวางแผนจัดทำแผนบำรุงรักษาโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์



          2. สมรรถนะย่อย 23102.02 จัดทำแผนดำเนินงานบำรุงรักษาโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง ให้สอดคล้องตามแผนที่กำหนด ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์



 


ยินดีต้อนรับ