หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

นิเทศการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-INKT-317A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ นิเทศการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความสามารถในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการวางแผนการนิเทศการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรที่ถูกต้องตามหลักการ สามารถนิเทศการดำเนินงานได้อย่างถูกต้องตามแผนที่กำหนด มีการประเมินผลการนิเทศ เพื่อวัดสัมฤทธิ์ผลว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่ อย่างไร ตลอดจนการนำผลการประเมินไปพัฒนา และปรับปรุงระบบการทำงานภายใต้สถานการณ์ที่ซับซ้อน หรือสร้างองค์ความรู้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          นักส่งเสริมการเกษตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B321 วางแผนการนิเทศการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร 1. กำหนดวัตถุประสงค์ในการนิเทศการดำเนินงานส่งเสริมได้ B321.01 93377
B321 วางแผนการนิเทศการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร 2. เขียนแผนการนิเทศให้สอดคล้องกับการดำเนินงานได้ชัดเจน สามารถดำเนินการได้ B321.02 93378
B322 นิเทศการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร 1. ดำเนินการนิเทศได้ตามบทบาทของผู้นิเทศที่เหมาะสม B322.01 93379
B322 นิเทศการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร 2. บันทึก/สรุปผลการนิเทศได้ B322.02 93380
B323 ประเมินผลการนิเทศการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร 1. ประมวลกลั่นกรองข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลการนิเทศได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง เป็นไปตามข้อกำหนด B323.01 93381
B323 ประเมินผลการนิเทศการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร 2. ดำเนินงานประเมินผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และสอดคล้องกับแผนงานที่กำหนด B323.02 93382
B323 ประเมินผลการนิเทศการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร 3. วิเคราะห์และแปลผลข้อมูลที่ได้จากการดำเนินงานได้ B323.03 93383
B323 ประเมินผลการนิเทศการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร 4. สรุปและเขียนรายงานการประเมินผลได้ B323.04 93384
B323 ประเมินผลการนิเทศการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร 5. นำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาให้เกิดองค์ความรู้ใหม่หรือระบบการนิเทศการดำเนินงาน B323.05 93385

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • หลักการส่งเสริมการเกษตร

  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเกษตร


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) การคิดวิเคราะห์



(ก2) การประสานงาน



(ก3) การให้คำปรึกษา แนะนำ



(ก4) การสร้างแรงจูงใจ



(ก5) การตัดสินใจ



(ก6) ภาวะผู้นำ



(ก7) การแก้ไขปัญหา



(ก8) การบริหาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) หลักการนิเทศ



(ข2) ความรู้เฉพาะในเรื่องที่จะนิเทศ



(ข3) การวางแผน                                             



(ข4) การเขียนโครงการ



(ข5) การเขียนรายงาน



(ข6)การประเมินเพื่อการนิเทศในงานส่งเสริม



(ข7) ภาวะผู้นำ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



               (ก1) ข้อเสนอโครงการ



               (ก2) เอกสารสรุปรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล



               (ก3) แผนงานนิเทศการดำเนินงาน



               (ก4) บันทึก/รายงานการปฏิบัติงาน



               (ก5) แฟ้มสะสมผลงาน                     



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



               (ข1) ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง



               (ข2) ใบรายงานผลการศึกษาในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง



               (ข3) หลักการและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปรายงาน



               (ข4) การใช้คอมพิวเตอร์ในการสืบค้น วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปจัดทำเอกสารรายงาน



               (ข5) การบันทึก/รายงานการปฏิบัติงาน



               (ข6) การวางแผนการวิจัยและพัฒนา



               (ข7) การเขียนแผนงานโครงการ



               (ข8) การเขียนบันทึก/รายงานการปฏิบัติงาน       



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



               เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้   



          (ง) วิธีการประเมิน          



               - ข้อสอบข้อเขียน



               - การสัมภาษณ์



               - ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ



               (ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องสามารถ



                      1) ศึกษา รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศการดำเนินงานส่งเสริมได้ครบถ้วนจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสมกับประเภทของข้อมูล และการนำไปใช้งาน



                      2) กำหนดวัตถุประสงค์ในการนิเทศการดำเนินงานส่งเสริมได้ชัดเจน ถูกต้อง สามารถวัด และประเมินผลได้



                      3) เขียนแผนการนิเทศได้ชัดเจน สามารถดำเนินการได้ มีองค์ประกอบสำคัญครบถ้วน ถูกต้อง



                      4) เตรียมความพร้อมก่อนการนิเทศและดำเนินงานนิเทศได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน สอดคล้องกับแผนงานที่วางไว้



                      5) ประมวลกลั่นกรองข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลการนิเทศได้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง



                      6) เตรียมความพร้อมก่อนการประเมินผล (เช่น ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น) และดำเนินงานประเมินผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และสอดคล้องกับแผนงานที่กำหนด



                      7) วิเคราะห์และแปลผลข้อมูลที่ได้จากการดำเนินงานได้อย่างรอบคอบ ตรงตามความเป็นจริง และถูกต้องตามหลักการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล ตลอดจนบันทึก/สรุปผลการนิเทศ เขียนรายงานการประเมินผลได้อย่างถูกต้อง ไม่ลำเอียง และมีองค์ประกอบครบถ้วน



                      8) นำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาให้เกิดองค์ความรู้ใหม่หรือระบบการนิเทศการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ



               (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบ จะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามหน่วยสมรรถนะ



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



               (ข1) การนิเทศงานส่งเสริมการเกษตร



                      การนิเทศงานส่งเสริมการเกษตร มีความหมายครอบคลุม 6 ประการ ดังนี้



                           1) เป็นกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง แต่เน้นบุคคลที่เกี่ยวข้องมากกว่างานที่ปฏิบัติ



                           2) เป็นการติดตามให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยแก้ไขปัญหาข้อขัดในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่



                           3) ช่วยประสานความร่วมมือและความสามัคคี ให้เกิดขึ้นทุกฝ่าย เพราะไม่ใช่การสั่งการหรือจับผิด



                           4) สร้างขวัญกำลังใจและจูงใจให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ                



                           5) พัฒนาเจ้าหน้าที่ให้สามารถปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น



                           6) เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และนโยบายขององค์การ



                      การนิเทศ (supervising) เป็นการดูแล ตรวจเยี่ยม ให้คำแนะนำ สอนงาน โดยมีเป้าหมายคือ คนที่เป็นผู้ปฏิบัติงานนั้น ได้มีขวัญ กำลังใจ ความรู้ ทัศนคติ และทักษะที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านบุคลากร ทั้งในด้านสติปัญญา (cognitive) จิตใจ (affective) และทักษะ (psychomotor) เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในงาน และพัฒนาวิชาชีพ



                      วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการนิเทศ 4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาบุคลากร การพัฒนางาน การสร้างความสัมพันธ์ และการสร้างขวัญและกำลังใจ



                      หลักสำคัญในงานนิเทศ มีดังนี้



                           1) หลักความถูกต้องทางวิชาการ (theoretically sound)



                           2) หลักความเป็นเหตุเป็นผล (reasonableness)



                           3) หลักการมีส่วนร่วม (participation)



                           4) หลักการสร้างสรรค์ (creativity)



                           5) หลักภาวะผู้นำ (leadership)



                           6) หลักมนุษยสัมพันธ์ (relationship)



               (ข2) วิธีการนิเทศในงานส่งเสริมการเกษตร



                      วิธีการนิเทศในงานส่งเสริมการเกษตร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ นอกจากผู้นิเทศงานจะต้องมีความรู้ความ สามารถทั้งด้านวิชาการ การบริหารจัดการ การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการติดต่อสื่อสารแล้ว ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การเลือกวิธีการนิเทศงานที่เหมาะสมกับผู้รับการนิเทศด้วย ทั้งนี้วิธีการที่ใช้ในการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรมี 4 วิธีดังนี้



                           1) การนิเทศเป็นรายบุคคล เป็นวิธีการที่ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ จะมีปฏิสัมพันธ์ใกล้ชิดเพื่อให้ เข้าใจกันและกันเพียงพอที่จะหาวิธีแก้ปัญหา หรือปรับปรุงการทำงานได้ตรงจุด



                           2) การนิเทศเป็นรายกลุ่ม เป็นวิธีการที่ผู้นิเทศงาน จัดทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่จำนวนมาก เพื่อร่วมกันป้องกันและแก้ปัญหาในการทำงาน และพัฒนาการทำงานให้มีปะสิทธิภาพ



                           3) การนิเทศทางไกล เป็นการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรโดยใช้สื่อต่าง ๆ เป็นตัวกลางในการนิเทศงาน ผู้รับการนิเทศจึงไม่ต้องพบหน้ากับผู้นิเทศงาน



                           4) การนิเทศผ่านศูนย์ที่จัดตั้งโดยหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งเน้นเป็นศูนย์กลางการพัฒนาการเกษตรระดับตำบล นักส่งเสริมและเกษตรกรในชุมชนมีส่วนร่วมในการ วางแผนกิจกรรมการเกษตรที่มีการร่วมคิด ร่วมเรียนรู้และร่วมตัดสินใจในการพัฒนาการเกษตร



                      กระบวนการนิเทศ มี 6 ขั้นตอน ดังนี้



                      1) ขั้นประเมินสภาพปัจจุบัน เป็นกระบวนการศึกษาสภาพการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ เพื่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งขั้นตอนนี้ สามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ การสังเกต การตรวจสอบ การวัดผล การประเมิน และการเปรียบเทียบการทำงาน



                      2) ขั้นวางแผน เป็นกระบวนการจัดเรียงลำดับความสำคัญ (priority) เพื่อกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ คาดการณ์ล่วงหน้าการกำหนดตารางงานการค้นหาวิธีปฏิบัติงาน และการวางโปรแกรมงาน การจัดทำโครงการ การตั้งเกณฑ์มาตรฐาน การรวบรวมทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งคนและวัสดุอุปกรณ์



                      3) ขั้นการลงมือปฏิบัติ เป็นการตัดสินใจกำหนดความรู้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน การเลือกสรรบุคคล การเร้าจูงใจให้มีกำลังใจคิดริเริ่มอะไรใหม่ ๆ การสาธิต การจูงใจ และให้คำแนะนำ การสื่อสารการกระตุ้น ส่งเสริมกำลังใจ การแนะนำนวัตกรรมใหม่ ๆ และให้ความสะดวกในการทำงาน



                      4) ขั้นการสร้างขวัญและกำลังใจ โดยการให้คำปรึกษาอาจแบ่งได้เป็น 2 แนวทาง คือ แนวทางเชิงบวก (positive method) เช่นการเสริมสร้างให้ผู้รับการนิเทศ มีความมั่นใจและพึงพอใจ การให้โอกาสการให้รางวัลด้วยการชมเชย เป็นต้น แนวทางเชิงลบ (negative method) เช่น การทวนสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงาน การดำเนินงาน การฟื้นฟูหรือปรับปรุงงานที่ดำเนินการแล้ว ตามการให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด เป็นต้น



                      5) ขั้นประเมินผลการตัดสินการปฏิบัติงาน การวิจัย และการวัดผลการปฏิบัติงาน กิจกรรมที่สำคัญ คือ พิจารณาผลงานในเชิงปฏิบัติว่าได้ผลมากน้อยเพียงใด และวัดผลด้วยการประเมินอย่างมีแบบแผน มีความเที่ยงตรง ทั้งนี้ควรจะมีการวิจัยด้วย



                      6) ขั้นรายงาน เป็นการรายงานผลการนิเทศ โดยสามารถรายงานตามขั้นตอนของการนิเทศ โดยระบุถึงมาตรฐานที่กำหนด ผลที่ได้รับจากการนิเทศ ประสิทธิผลของการนิเทศ ตลอดจนระบุปัญหา และข้อเสนอแนะเพื่อใช้ในการปรับปรุงกระบวนการนิเทศให้มีความเหมาะสมต่อไป



               (ข3) การประเมินผลการนิเทศงาน



                      การประเมินผลการนิเทศงาน จะต้องมีการประเมินผลการดำเนินกิจกรรม ว่าบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือไม่ วิธีการที่ใช้เหมาะสมหรือไม่ ทั้งนี้การประเมินผลสามารถทำได้ตลอดทุกขั้นตอนของการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตร โดยการประเมินผลขั้นสุดท้ายจะต้องวัดผลสำเร็จของงาน จากการพิจารณาผลที่เกิดขึ้นเปรียบเทียบกับมาตราฐานที่กำหนด



                      การประเมินผล คือ กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลที่เกิดขึ้นจริงจากการดําเนิน โครงการ/กิจกรรม นํามาวิเคราะห์ เปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์/เป้าหมายโครงการ และจัดทํารายงานเสนอ

ผู้เกี่ยวข้อง เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการปรับปรุง พัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลโครงการ หรือช่วยให้ผู้บริหารสั่งการ ตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายในโครงการ/กิจกรรมนั้น ๆ จากฐานข้อมูล

เชิงประจักษ์ การรวบรวมข้อมูล ความสําเร็จจากการดําเนินงานโครงการในพื้นที่ ตัวชี้วัดซึ่งเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่สําคัญของการขับเคลื่อนโครงการและเป็น เครื่องมือ ประเมินความก้าวหน้าในการมุ่งสู่

การพัฒนาอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด คือ



                           1) ระดับความสําเร็จการมีส่วนร่วม



                           2) ระดับความสําเร็จการจัดการความรู้



                           3) ความยั่งยืนของกิจกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อม



                      รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลผลกระทบ ด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการดําเนินโครงการพัฒนา ชุมชน/ท้องถิ่นน่าอยู่อย่างยั่งยืน เพื่อช่วยให้ผู้นิเทศงาน และผู้ดําเนินงานเข้าใจสถานภาพ ปัจจุบันของชุมชน และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หลังจากการพัฒนาที่ยั่งยืนได้เริ่มขึ้นแล้ว ข้อมูล ที่สําคัญและยังขาดการจัดเก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบ คือ ข้อมูลเชิงสถิติทางด้านการจัดการ สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ความรู้ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม วิถีการดําเนินชีวิตอย่าง พอเพียง และเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมพหุภาคีเพื่อการพัฒนา ชุมชน/

ท้องถิ่นน่าอยู่อย่างยั่งยืน ซึ่งผลสรุปจากการลงพื้นที่นิเทศและติดตามงาน โดยใช้ แบบบันทึกข้อมูลการนิเทศ เป็นเครื่องมือแบบหนึ่ง ที่จะช่วยพัฒนาแนวทางการ ดําเนินงานโครงการให้เกิดประสิทธิผลในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง และพึ่งพาตนเองได้ตามเป้าหมายของโครงการ ในระยะแรก การวางแผนนิเทศงาน ผู้รับผิดชอบการจัดนิเทศงาน ควรดําเนินการวางแผนและเตรียมงาน ก่อนการลงพื้นที่จริง ประกอบด้วย



                           1) การคัดเลือกผู้นิเทศงาน และ/หรือแต่งตั้งคณะผู้นิเทศงาน



                           2) การเตรียมการนิเทศงาน ในเรื่อง



                               - ผู้นิเทศงาน และชุมชน/ท้องถิ่น/แกนนํา ผู้ถูกนิเทศ



                               - สถานที่ และเวลาที่จะนิเทศ



                               - พาหนะ และอุปกรณ์



                               - เป้าหมาย และข้อมูล พื้นฐาน



                               - เครื่องมือ แบบบันทึกข้อมูลการนิเทศที่จะใช้ในการนิเทศงานโครงการและแบบรายงานการนิเทศงาน



                           3) การซักซ้อมความเข้าใจทีม/คณะผู้นิเทศงาน ชี้แจงแนวทางปฏิบัติตามกรอบแนวคิดโครงการ และเกณฑ์การประเมินความสําเร็จ



                           องค์ประกอบที่สำคัญของแผนงานประกอบด้วย เหตุผลความจำเป็น วัตถุประสงค์ เป้าหมาย วีธีการ ระยะเวลา และสถานที่ดำเนินงาน งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ ฯลฯ



                           รูปแบบรายงาน ประกอบด้วย บทนำ วิธีการดำเนินงาน ผลการวิเคราะห์ สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          18.1 ข้อสอบข้อเขียนปรนัย 4 ตัวเลือก



          18.2 แบบประเมินผลการสัมภาษณ์



          18.3 แบบประเมินผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว



ยินดีต้อนรับ