หน่วยสมรรถนะ
บริหารโครงการในงานส่งเสริมการเกษตร
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ARC-ZIXM-316A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | บริหารโครงการในงานส่งเสริมการเกษตร |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
N/A
|
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความสามารถในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการวางแผนการบริหารโครงการที่ถูกต้องตามหลักการ สามารถบริหารโครงการได้อย่างถูกต้องตามแผนที่กำหนดมีการติดตามและประเมินผลโครงการ เพื่อวัดสัมฤทธิ์ผลว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่ อย่างไร ตลอดจนการนำผลการติดตามและประเมินผลไปพัฒนาและปรับปรุงระบบการทำงาน ภายใต้สถานการณ์ที่ซับซ้อน หรือสร้างองค์ความรู้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
นักส่งเสริมการเกษตร |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
ระเบียบกระทรวงการคลัง (ถ้ามี) |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
B311 วางแผนบริหารโครงการ | 1. ศึกษา สำรวจ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเกษตรและข้อมูลที่เชื่อถือได้ | B311.01 | 93367 |
B311 วางแผนบริหารโครงการ | 2. ระบุประเด็นความจำเป็นในการจัดทำโครงการในงานส่งเสริมการเกษตร | B311.02 | 93368 |
B311 วางแผนบริหารโครงการ | 3. เขียนโครงการในงานส่งเสริมการเกษตรได้ชัดเจน สามารถดำเนินการได้ | B311.03 | 93369 |
B312 บริหารการดำเนินโครงการ | 1. สามารถจัดสรรทรัพยากรในการดำเนินโครงการได้อย่างเหมาะสม | B312.01 | 93370 |
B312 บริหารการดำเนินโครงการ | 2. กำกับติดตามการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ | B312.02 | 93371 |
B312 บริหารการดำเนินโครงการ | 3. บันทึก/สรุปรายงานผลการดำเนินงานได้ | B312.03 | 93372 |
B313 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร | 1. รวบรวมข้อมูลในการติดตามผลการดำเนินงานได้ | B313.01 | 93373 |
B313 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร | 2. วิเคราะห์และแปลผลข้อมูลที่ได้จากการติดตามและประเมินผลได้ | B313.02 | 93374 |
B313 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร | 3. สรุปและเขียนรายงานการติดตามและประเมินผลได้ | B313.03 | 93375 |
B313 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร | 4. นำผลการติดตามและประเมินไปใช้ในการพัฒนาให้เกิดองค์ความรู้ใหม่หรือระบบการบริหารโครงการ | B313.04 | 93376 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
|
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ (ก1) การประสานงาน (ก2) การบริหารด้านต่าง ๆ เช่น ทรัพยากร ทั้งงาน เงิน คน และการจัดการ (อาทิ การบริหารความขัดแย้ง การบริหารความเสี่ยง การบริหารเชิงกลยุทธ์) (ก3) การสื่อสาร (ก4) การทำงานเป็นทีม (ก5) การวิเคราะห์ (ก6) การจูงใจ (ข) ความต้องการด้านความรู้ (ข1) หลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม (ข2) การสื่อสาร (ข3) หลักและวิธีการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ (ข4) เครื่องมือในการวิเคราะห์ อาทิ SWOT, TOWS Matrix, 7s (ข5) การบริหารด้านต่าง ๆ เช่น ทรัพยากร ทั้งงาน เงิน คน และการจัดการ (อาทิ การบริหารความขัดแย้ง การบริหารความเสี่ยง การบริหารเชิงกลยุทธ์) (ข6) ภาวะผู้นำ (ข7) หลักการจูงใจ (ข8) การติดตามและประเมินผล |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) (ก1) เอกสารรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล (ก2) เอกสารสรุปรายงานผลการวิเคราะห์โครงการ (ก3) บันทึก/รายงานการปฏิบัติงาน (ก4) แฟ้มสะสมผลงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) (ข1) ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง (ข2) หลักการและวิธีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปรายงาน (ข3) การบันทึก/รายงานการปฏิบัติงาน (ข4) การบันทึก/รายงานการติดตามและประเมินผลโครงการ (ข5) การวางแผนการบริหารโครงการ (ค) คำแนะนำในการประเมิน เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ (ง) วิธีการประเมิน - ข้อสอบข้อเขียน - การสัมภาษณ์ - ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ (ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องสามารถ 1) ศึกษา สำรวจ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเกษตรและที่เกี่ยวข้องจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ครบถ้วน ถูกต้อง 2) ระบุประเด็นความจำเป็นในการจัดทำโครงการในงานส่งเสริมการเกษตรได้ชัดเจน ถูกต้อง สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ข้อมูล 3) เขียนโครงการในงานส่งเสริมการเกษตรได้ชัดเจน สามารถดำเนินการได้ มีองค์ประกอบสำคัญครบถ้วน ถูกต้องตามหลักการเขียนโครงการ 4) จัดเตรียมทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินโครงการได้ครบถ้วน ถูกต้อง พร้อมใช้งาน (เช่น ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมสถานที่ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น) และดำเนินโครงการได้ถูกต้องสอดคล้องกับแผนงานที่วางไว้ 5) ดำเนินงานติดตามและประเมินผล ประมวลกลั่นกรองข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และสอดคล้องกับแผนงานที่กำหนด 6) วิเคราะห์และแปลผลข้อมูลที่ได้จากการติดตามและประเมินผลได้อย่างรอบคอบตรงตามความเป็นจริง และถูกต้องตามหลักการติดตามและประเมินผล 7) บันทึก/สรุปรายงานผลการดำเนินงาน เขียนรายงานการติดตามและประเมินผลได้ครบถ้วน ถูกต้อง เชื่อถือได้ และมีองค์ประกอบตามที่กำหนด 8) นำผลการติดตามและประเมินไปใช้ในการพัฒนาให้เกิดองค์ความรู้ใหม่หรือระบบการบริหารโครงการที่มีประสิทธิภาพ (ก2) เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้ (ข) คำอธิบายรายละเอียด (ข1) หลักการวิเคราะห์โครงการ หลักการวิเคราะห์โครงการ ประกอบด้วย การเลือกโครงการภายใต้ความพร้อมหรือข้อจำกัดของทรัพยากรทุกด้าน ทั้งกำลังคนและงบประมาณ ความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน ความคุ้มค่า ตลอดจนความเสี่ยงในการดำเนินงาน เป็นต้น (ข2) การบริหารโครงการ (Project Management) การบริหารโครงการ (Project Management) หมายถึง การจัดการ (หรือบริหาร) โครงการที่ต้องอาศัยพื้นฐานของกระบวนการจัดการ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organizing) การนำ (Leading) หรือการจูงใจ (Motivating) และการควบคุม (Controlling) ทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้ อาจกล่าวได้ว่า การบริหารโครงการ คือการบริหารจัดการทรัพยากรที่เรามีอยู่ให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ การดำเนินกิจกรรมใด ๆ ต้องเตรียมแผนบริหารโครงการ ให้สัมพันธ์กันกับระยะเวลาในการดำเนินงาน การบริหารโครงการจึงมีความแตกต่างจากการบริหารงานตามปกติทั่วไปหลายประการ เช่น ใช้ช่วงระยะเวลาและทรัพยากรอย่างจำกัด มีทีมงานหมุนเวียนยืดหยุ่นได้ โดยอาศัยความรู้ความชำนาญของบุคลากรในแต่ละด้าน ซึ่งมีโอกาสเกิดความขัดแย้งระหว่างการทำงานสูง ดังนั้น การบริหารโครงการ จึงควรทำการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ศึกษาความเป็นไปได้ พัฒนาระบบบริหารโครงการต่อไป (ข3) การวางแผน การวางแผนเป็น “กระบวนการ” (Process) ซึ่งปรากฏด้วยกิจกรรม (Activity) ที่จะต้องกระทำกันอย่างต่อเนื่อง และสามารถปรับให้เข้าได้กับข้อมูลที่ได้รับทั้งที่เป็นข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) และข้อมูลที่มาจากกระบวนการและระบบอื่น การวางแผนสำหรับองค์หนึ่งองค์กรใดมิใช่การกระทำเพียง (ข4) การบริการจัดการโครงการ หรือProject Management การบริการจัดการโครงการ หรือProject Management โดยทั่วไปนั้น ประกอบไปด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) Project Initiation เริ่มต้นจากการสร้างไอเดีย ดูว่าเราอยากทำอะไร วิเคราะห์ว่าเรามีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร 2) Project Planning ขั้นต่อมาจึงวางแผนว่าจะทำอะไร อย่างไร วิเคราะห์กิจกรรมทั้งหมดที่ต้องทำออกมา และวางแผนว่าจะทำอะไรก่อนหลัง แต่ละขั้นตอนใช้เวลาเท่าไหร่ และใครควรจะเป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมนั้น ๆ 3) Project Execution ลงมือทำโปรเจกต์ และติดตามความคืบหน้าของงานให้ใกล้เคียงกับแผนที่วางเอาไว้ให้มากที่สุด เพื่อให้สามารถควบคุมเวลาและงบประมาณได้ 4) Project Closure เมื่อลงมือทำจนแล้วเสร็จขั้นตอนการปิดโปรเจกต์ ประเมินผลการทำงานที่ผ่านมา ว่ามีอะไรที่สำเร็จหรือผิดพลาดอย่างไรบ้าง และเป็นเพราะอะไร ถอดบทเรียนเพื่อนำไปใช้ในการทำงานต่อไป (ข5) เครื่องมือที่นิยมใช้ในการวางแผนและติดตามความคืบหน้าของโครงการ มีหลากหลาย ตัวอย่างเช่น Gantt Chart โดยรูปแบบของ Gantt Chart จะเป็นตารางที่บอกถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องทำทั้งหมดในโครงการ ลำดับการทำกิจกรรม ระยะเวลาดำเนินงาน และผู้รับผิดชอบ บางแบบอาจจะมีพวกอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมนั้น ๆ งบประมาณที่ใช้ และช่องหมายเหตุ สำหรับใส่คำอธิบายต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ด้วย เหมาะกับ "ผู้เริ่มต้น" ทำโครงการในตอนแรก ตัวอย่างเช่น Gantt Chart สำหรับโครงการเพื่อสังคมในระบบบ่มเพาะของ School of Changemakers S-Curve technique การบริหารจัดการโครงการ มักใช้เครื่องมือ S Curve มาเป็นตัวติดตามแผนงานโครงการ (Monitoring) หรือประเมินผลโครงการ (Project Apprialsal) เพื่อดูผลการดำเนินงานและแก้ไขปรับจุดด้อยต่าง ๆ เพื่อทำงานใหบรรลุวัตถุประสงค์ หรือเป็นการดูพฤติกรรมของโครงการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะได้แก่ ก. ระยะเริ่มโครงการ มักเป็นการเตรียมงาน (Site preparation) การเปิดหน้างาน (Site Clearing) จึงมีหน้างานให้ดำเนินการได้ไม่มากนัก ใช้เวลามาก เมื่อเขียนเส้นกราฟจะลาดเอียงและโค้งขึ้นเหมือนปลายตัว S ข. ระยะกลางโครงการ เป็นช่วงที่สามารถเปิดหน้างานได้มากขึ้น สามารถทำงานได้หลายกลุ่ม มีความก้าวหน้าของงานโดยรวมมาก ใช้เวลาน้อย เมื่อเขียนเส้นกราฟจะลาดเอียง และโค้งขึ้นมากตามศักยภาพการทำงานจึงเป็นเสมือนช่วงลำตัว S ค. ระยะปลายโครงการ เป็นช่วงที่ทำงานแล้วเสร็จไปมาก เหลือเพียงงานเก็บจุดบกพร่อง ทำความสะอาดโครงการ (Site Cleaning) การเบิกงวดมีน้อย มีความก้าวหน้าของงานรวม PDCA cycle PDCA หรือที่เรียกว่าวงจรเดมิง (อังกฤษ: Deming Cycle) หรือวงจรชูฮาร์ต (Shewhart Cycle) คือวงจรการควบคุมคุณภาพ 1) Plan(วางแผน) หมายถึง การวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบ ครอบคลุมถึงการกำหนดหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน อาจประกอบด้วยการกำหนดเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน Plan 2) Do (ปฏิบัติตามแผน) หมายถึง การดำเนินการตามแผน อาจประกอบด้วย การมีโครงสร้างรองรับ การดำเนินการ (เช่น คณะกรรมการหรือหน่วยงานของคณะ) มีวิธีการ ดำเนินการ (เช่น มีการประชุมของคณะกรรมการมีการจัดการเรียน การสอน มีการแสดงความจำนงขอรับนักศึกษาไปยังทบวงมหาวิทยาลัย) และมีผลของการดำเนินการ (เช่น รายชื่อนักศึกษาที่รับในแต่ละปี) 3) Check (ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน) หมายถึง การประเมินแผน อาจประกอบด้วย การประเมินโครงสร้างที่รองรับ การดำเนินการ การประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน และการประเมินผลของการดำเนินงานตามแผนที่ได้ตั้งไว้ โดยในการประเมินดังกล่าวสามารถ ทำได้เองโดยคณะกรรมการที่รับผิดชอบแผนการดำเนินงานนั้น ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของการประเมินตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการอีกชุดมาประเมินแผน หรือไม่จำเป็นต้องคิดเครื่องมือหรือแบบประเมินที่ยุ่งยากซับซ้อน 4) Act (ปรับปรุงแก้ไข) หมายถึง การนำผลการประเมินมาพัฒนาแผน อาจประกอบด้วย การนำผลการ ประเมินมาวิเคราะห์ว่ามีโครงสร้าง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใดที่ควรปรับปรุงหรือพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก และสังเคราะห์รูปแบบการดำเนินการใหม่ที่เหมาะสม สำหรับการดำเนินการ (ข6) การจัดการความเสี่ยง ความเสี่ยง (Risk) คือ การวัดความสามารถ ที่จะดำเนินการให้วัตถุประสงค์ของงานประสบความสำเร็จภายใต้การตัดสินใจ งบประมาณ กำหนดเวลา และข้อจำกัดด้านเทคนิคที่เผชิญอยู่ อย่างเช่นการจัดทำโครงการเป็นชุดของกิจกรรมที่จะดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งในอนาคต โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด มาดำเนินการให้ประสบความสำเร็จภายใต้กรอบเวลาอันจำกัด ซึ่งเป็นกำหนดการปฏิบัติการในอนาคต ความเสี่ยงจึงอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาอันเนื่องมาจากความไม่แน่นอน และความจำกัดของทรัพยากรโครงการ ผู้บริหารโครงการจึงต้องจัดการความเสี่ยงของโครงการ เพื่อให้ปัญหาของโครงการลดน้อยลง และสามารถดำเนินการให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ การจัดการความเสี่ยงหรือการบริหารความเสี่ยง (Risk management) คือ การจัดการความเสี่ยงทั้งในกระบวนการในการระบุวิเคราะห์ (Risk analysis) ประเมิน (Risk assessment) ดูแล ตรวจสอบ และควบคุมความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับกิจกรรม หน้าที่ และกระบวนการทำงาน เพื่อให้องค์กรลดความเสียหายจากความเสี่ยงมากที่สุด อันเนื่องมาจากภัยที่องค์กรต้องเผชิญในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือเรียกว่า อุบัติภัย (Accident) (ข7) การติดตามและการประเมินผลโครงการ การติดตาม (Monitoring) หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินงานเป็นไปตามแผนปฏิบัติงานที่วางไว้หรือไม่ การติดตามผลเป็นการติดตามปัจจัยนำเข้า (Inputs) กิจกรรมที่ดำเนินการ (Activities) ผลผลิตที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรม (Outputs) และผลลัพธ์หรือผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินโรงการ (Outcome & Impact) จุดมุ่งหมายของการติดตาม มีดังนี้ 1) เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ 2) เพื่อให้ใช้ทรัพยากรได้เต็มที่ คุ้มค่า และประหยัด 3) เพื่อทราบถึงปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงาน 4) เพื่อให้ได้แนวทางแก้ไข ปรับปรุง ปัจจัยนำเข้า และกิจกรรมต่าง ๆ 5) เพื่อส่งเสริมสนันสนุนให้โครงการบรรลุผล การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง กระบวนการตัดสินคุณค่าของแผนงาน หรือโครงการด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วนำมาวิเคราะห์ เพื่อนำผลมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ว่าบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ จุดหมายของการประเมินผล คือ 1) เพื่อใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศประกอบการตัดสินใจของผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ หรือ ผู้บริหารในการตัดสินคุณค่าของโครงการ 2) เพื่อให้การบริหารโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 3) เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงโครงการที่คล้ายกัน 4) เพื่อตรวจสอบผลการดำเนินโครงการว่าประสบผลสำเร็จหรือไม่ 5) เพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบได้จากสาธารณชน ความสำคัญของการติดตามและการประเมินผล ช่วยในการตัดสินใจนำโครงการไปใช้ ช่วยให้ทราบว่า โครงการยังมีความจำเป็นต้องทำต่อไปหรือต้องขยายโครงการออกไปหรือไม่ สามารถนำผลที่ได้จากการประเมินมาใช้ในการตัดสินใจ ปรับปรุงโครงการ วิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ อย่างไร มีปัญหา อุปสรรคต่อความสำเร็จอย่างไร เพื่อนำไปใช้วางแผนในโครงการที่มีลักษณะใกล้เคียงหรือคล้ายคลึงกันต่อไป |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 ข้อสอบข้อเขียนปรนัย 4 ตัวเลือก 18.2 แบบประเมินผลการสัมภาษณ์ 18.3 แบบประเมินผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว |