หน่วยสมรรถนะ
พัฒนากลุ่มเกษตรกร และเครือข่ายเกษตรกร
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ARC-YYTW-315A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | พัฒนากลุ่มเกษตรกร และเครือข่ายเกษตรกร |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
N/A
|
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ และความจำเป็นที่แท้จริงของกลุ่มเกษตรกร และเครือข่ายเกษตรกร ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม วางแผนการพัฒนา รวมถึงจัดทำโครงการพัฒนา เพื่อการพัฒนากลุ่มเกษตรกร และเครือข่ายเกษตรกรแบบมีส่วนร่วม เป็นไปตามหลักการและวิธีการในการพัฒนากลุ่มเกษตรกร และเครือข่ายเกษตรกรตลอดจนการติดตามและประเมินผลการพัฒนากลุ่มเกษตรกร และเครือข่ายเกษตรกร สามารถแก้ปัญหา ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มเกษตรกร และเครือข่ายเกษตรกรได้ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
นักส่งเสริมการเกษตร |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
B221 วางแผนการพัฒนากลุ่ม และเครือข่าย | 1. วิเคราะห์สถานการณ์และความจำเป็นในการพัฒนากลุ่มและเครือข่าย | B221.01 | 93352 |
B221 วางแผนการพัฒนากลุ่ม และเครือข่าย | 2. กำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตของการพัฒนากลุ่มและเครือข่ายได้ | B221.02 | 93353 |
B221 วางแผนการพัฒนากลุ่ม และเครือข่าย | 3. กำหนดแนวทาง วิธีการและเทคนิคในการเสริมสร้างและพัฒนากลุ่มและเครือข่าย | B221.03 | 93354 |
B221 วางแผนการพัฒนากลุ่ม และเครือข่าย | 4. ระบุบุคคล องค์กร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างกลุ่มและเครือข่าย | B221.04 | 93355 |
B221 วางแผนการพัฒนากลุ่ม และเครือข่าย | 5. จัดทำแผนการพัฒนากลุ่มและเครือข่าย | B221.05 | 93356 |
B222 พัฒนากลุ่ม และเครือข่าย | 1 .สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นให้เกิดกลุ่มและเครือข่าย | B222.01 | 93357 |
B222 พัฒนากลุ่ม และเครือข่าย | 2. สร้างความเข้าใจในเรื่องการมีส่วนร่วมและบทบาทของกลุ่มและเครือข่าย | B222.02 | 93358 |
B222 พัฒนากลุ่ม และเครือข่าย | 3. กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกิจกรรมกลุ่ม | B222.03 | 93359 |
B222 พัฒนากลุ่ม และเครือข่าย | 4. พัฒนากิจกรรมกลุ่ม/เครือข่ายอย่างต่อเนื่องให้เกิดความเข้มแข็งของกลุ่มและเครือข่าย | B222.04 | 93360 |
B223 การบริหาร/จัดการกลุ่มและเครือข่าย | 1. จัดองค์การหรือจัดโครงสร้างกลุ่มให้เหมาะสม | B223.01 | 93361 |
B223 การบริหาร/จัดการกลุ่มและเครือข่าย | 2. นำกลุ่มด้วยการกระตุ้นให้คนในองค์กรมีส่วนร่วมและส่งเสริมให้สมาชิกในกลุ่มและเครือข่ายได้ใช้ศักยภาพอย่างเหมาะสม | B223.02 | 93362 |
B223 การบริหาร/จัดการกลุ่มและเครือข่าย | 3. วางแนวปฏิบัติ กฎ ระเบียบ กติกาที่เหมาะสมของกลุ่ม | B223.03 | 93363 |
B223 การบริหาร/จัดการกลุ่มและเครือข่าย | 4. บริหารทรัพยากรในการดำเนินกิจกรรมให้กลุ่มและเครือข่ายดำรงอยู่ | B223.04 | 93364 |
B223 การบริหาร/จัดการกลุ่มและเครือข่าย | 5. จัดระบบพัฒนาบุคลากรของกลุ่มอย่างเป็นระบบด้วยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน | B223.05 | 93365 |
B223 การบริหาร/จัดการกลุ่มและเครือข่าย | 6. ติดตามและประเมินผลกลุ่มและเครือข่ายอย่างเป็นระบบ | B223.06 | 93366 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
|
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ (ก1) การสรรหาผู้นำและทำงานร่วมกับผู้นำ (ก2) การประสานงาน (ก3) การจัดการ (ก4) การสื่อสาร (ก5) การทำงานร่วมกับกลุ่มเกษตรกรและเครือข่ายเกษตรกร (ข) ความต้องการด้านความรู้ (ข1) การสรรหา สร้าง และพัฒนาผู้นำ (ข2) หลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม (ข3) การบริหารกลุ่ม/เครือข่าย (ข4) การสื่อสาร (ข5) หลักและวิธีการวิเคราะห์/สังเคราะห์ (ข6) หลักการสร้างและทำงานร่วมกับกลุ่ม/เครือข่าย (ข7) การจัดกิจกรรม/กระบวนการกลุ่มและเครือข่าย |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) (ก1) กลุ่ม/เครือข่ายที่เกิดขึ้น (ก2) แฟ้มสะสมงาน (ก3) แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ (ก4) เอกสารรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล (ก5) แผนงานโครงการพัฒนากลุ่มเกษตรกรและเครือข่ายเกษตรกร (ก6) บันทึก/รายงานการปฏิบัติงาน (ก7) บันทึกรายงานผลการติดตามและประเมินโครงการพัฒนากลุ่มเกษตรกรและเครือข่ายเกษตรกร (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) (ข1) ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง (ข2) หลักการและวิธีการจัดทำแบบสำรวจรวบรวมข้อมูล (ข3) หลักการและวิธีการสำรวจรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และสรุปรายงาน (ข4) การใช้คอมพิวเตอร์ในการสืบค้น วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปจัดทำเอกสารรายงาน (ข5) การบันทึก/รายงานการปฏิบัติงาน (ข6) การวางแผนการพัฒนากลุ่มเกษตรกรและเครือข่ายเกษตรกร (ข7) การเขียนแผนงานโครงการพัฒนา (ข8) การเขียนบันทึก/รายงานการปฏิบัติงาน (ค) คำแนะนำในการประเมิน เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ (ง) วิธีการประเมิน - ข้อสอบข้อเขียน - การสัมภาษณ์ - ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ (ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องสามารถ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ที่เป็นอยู่ สถานการณ์ที่ต้องการให้เป็น และความจำเป็น 2) ดำเนินการพัฒนาเกษตรกรแกนนำให้เป็นไปตามแผนและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 3) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาเกษตรกรแกนนำได้อย่างถูกต้องตามหลักการ วิธีการ สามารถนำผลการติดตามและประเมินผลไปปรับใช้ในการพัฒนาต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ก2) เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (ข) คำอธิบายรายละเอียด (ข1) องค์กรเกษตรกร องค์กรเกษตรกร หมายถึง การที่คนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมารวมกัน มีกิจกรรมร่วมกัน เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาในสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ต่อองค์กรและต่อชุมชน มีแนวปฏิบัติและบทบาทหน้าที่ให้ถือปฏิบัติตามฐานะที่ถูกกำหนดขึ้นจนเป็นองค์กร และมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ซึ่งมีพัฒนาการตั้งแต่ระยะเตรียมการ การก่อตั้ง/ก่อเกิด ระยะการทำกิจกรรม หรือปรับตัวดำรงอยู่ และระยะองค์กรเข้มแข็งมีการขยายตัว (ข2) เครือข่าย เครือข่าย หมายถึง กลุ่ม/องค์กรที่ช่วยเสริมสร้างพลังในการแก้ไขปัญหาและการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน การมีส่วนร่วม และกระบวนการที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายร่วมกันของทุกฝ่าย โดยมีพัฒนาการของเครือข่าย 4 ระยะ คือระยะเตรียมการ/ก่อเกิด ระยะก่อตั้ง ระยะการดำเนินกิจกรรม และระยะขยายเครือข่าย กลุ่มประกอบไปด้วย เป้าหมายของกลุ่ม หรือความสนใจร่วมกัน สมาชิกซึ่งมีจำนวนตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป จนถึงขนาดเท่าใดก็ได้ ผู้นำกลุ่ม กฎระเบียบในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในกลุ่ม กิจกรรมกลุ่มที่ทำร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ร่วมกัน และทุนของกลุ่มซึ่งมีทั้งทุนที่เป็นตัวเงินและทุนที่ไม่เป็นตัวเงิน (ข3) พัฒนาการของกลุ่มและเครือข่าย พัฒนาการของกลุ่ม จัดเป็น4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เตรียมกลุ่ม เป็นระยะของการเตรียมการก่อนเกิดกลุ่ม ในระยะนี้ บุคคลแต่ละคนเริ่มที่จะเข้ามารวมตัวกันเป็นกลุ่ม โดยที่การรวมตัวกันยังไม่มีจุดประสงค์ร่วมกัน ไม่มีโครงสร้าง และลักษณะการทำงานของกลุ่มที่ชัดเจน โดยสมาชิกต่างจะมีการทดสอบพฤติกรรม การแสดงออก และปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อที่จะดูท่าที การยอมรับ การต่อต้าน และพยายามหาแนวทางในการรวมกลุ่มกัน ถ้าเป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ กลุ่มคนที่ไว้ใจกันได้ และมีความสนใจในวิชาการด้านนั้น ๆ ร่วมกันจะมารวมกัน จำนวนคนที่มารวมกันอาจมีไม่มาก ความสัมพันธ์ภายในกลุ่มจะเป็นไปแบบหลวม ๆ มีการเตรียมการโดยการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ของกลุ่ม มีการสร้างความเข้าใจระหว่างสมาชิกที่มารวมกัน และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันอยู่เสมอ ส่วนกลุ่มที่เกิดจากการจัดตั้งของนักส่งเสริมนั้น ในระยะนี้เป็นขั้นของการสร้างฐานของกลุ่ม ซึ่งนักส่งเสริมจะเข้าไปสร้างความคุ้นเคย การยอมรับและความไว้วางใจจากชุมชนและเกษตรกร โดยมีบทบาทในการการสร้างความคุ้นเคยและไว้วางใจ นักส่งเสริมมีการเตรียมการในเรื่องของการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน โดยดึงปัญหาความต้องการของแต่ละครัวเรือนออกมาวิเคราะห์ปัญหา และความต้องการ และกระตุ้นปลุกจิตสำนึกให้กลุ่มเป้าหมายตระหนักถึงปัญหาและความต้องการร่วมกัน ระยะที่ 2 ก่อตั้ง/ก่อเกิด ระยะนี้สมาชิกจะมีการพัฒนาความสัมพันธ์ส่วนบุคคล มีการสร้างความเข้าใจร่วม ค่านิยม บรรทัดฐาน ความสามัคคีในหมู่คณะ กำหนดวัตถุประสงค์ ตลอดจนมีการจัดโครงสร้างของกลุ่ม โดยมีการกำหนดผู้นำ และวางแนวปฏิบัติที่เหมาะสม มีกฎระเบียบกติกาการแสวงหาทรัพยากร วางแผนพัฒนาและเสริมกระบวนการเรียนรู้ ทั้งกลุ่มที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและกลุ่มจัดตั้ง จะมีการนำปัญหามาพูดคุยกันมากขึ้น เกิดความเห็นอกเห็นใจ มีการแบ่งปันความสุขทุกข์ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือกัน จนเพื่อนที่มีความทุกข์ มีกำลังใจนำไปสู่ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ระยะที่ 3 การทำกิจกรรมหรือปรับตัวดำรงอยู่ เมื่อกลุ่มและเครือข่ายมีการพัฒนาขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งสมาชิกมีความเข้าใจร่วมกัน และมีความรู้สึกเป็นส่วนร่วมของกลุ่มแล้ว กลุ่มก็จะทำหน้าที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ มีการดำเนินกิจกรรมหรือขยายกิจกรรม เช่น กลุ่มโรงปุ๋ยอินทรีย์ชุมชน นอกจากทำกิจกรรมผลิตปุ๋ยอินทรีย์แล้ว กลุ่มยังขยายกิจกรรมไปสู่การทำกิจกรรมออมทรัพย์ กิจกรรมสวัสดิการให้กับสมาชิกกลุ่ม มีการกำหนดวิธีการดำเนินการในแต่ละกิจกรรม กำหนด เป้าหมายร่วม วางแผนพัฒนากิจกรรมกลุ่ม การรักษา ปรับปรุง และพัฒนากฎระเบียบให้เหมาะสม และมีการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ ระยะที่ 4 กลุ่มเข้มแข็งมีการขยายตัวของกลุ่มและเครือข่าย ในระยะนี้ สมาชิกมีจำนวนมากขึ้น มีการสร้างความเข้าใจร่วมกัน มีการกระจายงานกิจกรรมให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น เสริมสร้างและพัฒนาความสามารถสมาชิกกลุ่ม และขยายงานไปสู่กิจกรรมใหม่อื่น ๆ มากขึ้น มีการเชื่อมโยงและขยายกิจกรรมไปสู่กิจกรรมที่เป็นประโยชน์และหลากหลายมากขึ้น สร้างพลังร่วมในการดำเนินการ มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกที่ต่อเนื่อง การทบทวนบทเรียนจากการดำเนินการ การประเมินผล และการประชาสัมพันธ์กลุ่ม (ข4) พัฒนาการของเครือข่าย พัฒนาการของเครือข่ายตามวงจรชีวิตเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นตระหนักและการก่อตัวเครือข่าย ในขั้นนี้เป็นขั้นที่มีการศึกษาข้อมูล และสภาพการณ์ การสร้างศรัทธา และหาแนวร่วมการเสนอให้เห็นประเด็นปัญหาการแสวงหาข้อมูลทางเลือกการค้นหาความต้องการและจุดร่วม และการสร้างระบบความสัมพันธ์ของเครือข่าย 2) ขั้นการสร้างพันธกรณีเครือข่าย ขั้นนี้มีการกำหนดวัตถุประสงค์และข้อตกลงร่วมการกำหนดบทบาทหน้าที่ และวางผังเครือข่าย การเริ่มสร้างและการพัฒนาผู้นำ การจัดระบบติดต่อสื่อสาร การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง การติดตามและประเมินผลแบบมีส่วนร่วม และการส่งเสริมและดำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ 3) ขั้นการพัฒนาความสัมพันธ์เครือข่าย ขั้นตอนนี้ มีการทบทวนและสรุปบทเรียนการเสริมสร้างผู้นำ และหน่วยนำครือข่ายการเสริมสร้างกิจกรรมสาธารณะ และเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างความรู้ใหม่ การจัดการความรู้ที่ต่อเนื่อง การเสริมสร้างวัฒนธรรมเครือข่าย เพื่อขจัดความขัดแย้งการเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและระบบตรวจสอบแบบมีส่วนร่วม 4) ขั้นการรักษาความสัมพันธ์เครือข่าย ขั้นตอนนี้มีการจัดกิจกรรมที่ต่อเนื่องการรักษาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสมาชิก การเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ การกำหนดและสร้างระบบจูงใจในการทำงาน การบริหารจัดการข้อมูล และการสร้างเสริมผู้นำรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การบริหารกลุ่มและเครือข่ายในการส่งเสริมการเกษตร มีกิจกรรมหลักที่ต้องดำเนินการได้แก่การจัดองค์การหรือโครงสร้างกลุ่ม การวางแผน การนำกลุ่ม การจัดคนทำงานในกลุ่ม การประสานงาน การบริหารการเงิน การติดตามและประเมินผลกลุ่ม และการขยายเครือข่าย (ข5) การมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วม หมายถึง การมีอิสระในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยความสมัครใจ ทั้งในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมลงมือการปฏิบัติ ร่วมประเมินผล และร่วมกับประโยชน์ หลักการในการบริหารแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วย 1) มีการจัดสรรหน้าที่และอำนาจ ในการปฏิบัติงานให้กับผู้ปฏิบัติงาน คนในองค์กร หรือทีมงาน เพื่อต้องการให้มีทุกคนในองค์กรได้มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ 2) การก่อให้เกิดสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างคนและองค์กรได้อย่างแท้จริง และผลักดันให้คนในองค์กรได้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจขององค์กร 3) รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นและลดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในการทำงาน 4) ทำให้ทุกคนในองค์กรต้องรวมตัวกันเป็นทีมงาน (Teamwork) เพื่อผนึกกำลัง และศักยภาพ ในการแก้ไขปัญหาหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ซึ่งการทำงานลักษณะดังกล่าวนั้นจะเป็นไปตามหลักการขององค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
18.1 ข้อสอบข้อเขียนปรนัย 4 ตัวเลือก 18.2 แบบประเมินผลการสัมภาษณ์ 18.3 แบบประเมินผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
N/A |