หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ส่งเสริมการประยุกต์ใช้ผลการทดสอบที่สำเร็จแล้ว

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-QLGT-320A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ส่งเสริมการประยุกต์ใช้ผลการทดสอบที่สำเร็จแล้ว

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความสามารถในการส่งเสริมการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร ที่ผ่านการทดสอบแล้วว่าเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของพื้นที่และเกษตรกร ประกอบด้วย การส่งเสริมการประยุกต์ใช้ผลการทดสอบที่สำเร็จแล้วอย่างกว้างขวางและประเมินและสรุปรายงานผลการดำเนินงานส่งเสริม ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถวางแผนการส่งเสริมการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร ดำเนินงานตามแผนการส่งเสริม ประเมิน สรุป และรายงานผลการส่งเสริมการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          นักส่งเสริมการเกษตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B431 ส่งเสริมการประยุกต์ใช้ผลการทดสอบที่สำเร็จแล้ว 1. สนับสนุนเกษตรกรที่ร่วมทำแปลงทดสอบจนสำเร็จให้จัดทำแปลงเรียนรู้ต้นแบบ B431.01 93415
B431 ส่งเสริมการประยุกต์ใช้ผลการทดสอบที่สำเร็จแล้ว 2. ถ่ายทอดองค์ความรู้ในรูปแบบของวิทยากรเกษตรกร B431.02 93416
B431 ส่งเสริมการประยุกต์ใช้ผลการทดสอบที่สำเร็จแล้ว 3. ขยายพื้นที่และจำนวนเกษตรกรผู้ประยุกต์ใช้ผลการทดสอบ B431.03 93417
B431 ส่งเสริมการประยุกต์ใช้ผลการทดสอบที่สำเร็จแล้ว 4. ให้คำปรึกษาแนะนำ ช่วยเหลือ สนับสนุนทางวิชาการและการจัดการ B431.04 93418
B432 ประเมินและสรุปรายงานผลการดำเนินงานส่งเสริม 1. ประเมินและสรุปผลการส่งเสริมการประยุกต์ใช้ B432.01 93419
B432 ประเมินและสรุปรายงานผลการดำเนินงานส่งเสริม 2. รายงานผลการส่งเสริม B432.02 93420

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะการใช้แนวทางการส่งเสริมแบบมีส่วนร่วม



(ก2) ทักษะการจัดทำแปลงเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล



(ก3) ทักษะการฝึกอบรมและพัฒนาวิทยากรเกษตรกร



(ก4) ทักษะการนิเทศในงานส่งเสริม



(ก5) ทักษะการประเมินผลการส่งเสริม



(ก6) ทักษะการเขียนรายงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมแบบมีส่วนร่วมหรือแบบเกษตรกรสู่เกษตรกร



(ข2) ความรู้เกี่ยวกับหลักและเทคนิคการจัดทำแปลงเรียนรู้



(ข3) ความรู้เกี่ยวกับการฝึกอบรมและพัฒนาวิทยากรเกษตรกร



(ข4) ความรู้เกี่ยวกับการนิเทศในงานส่งเสริม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการ สมควรใช้หลักฐาน (ก) และ (ข) ประกอบกัน



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงานวิจัยทดสอบในไร่นาแบบมีส่วนร่วม จากหัวหน้างาน/ผู้ประกอบการ



(ก2) เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงานติดตามและประเมินผลโครงการ



(ก3) ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว         



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการติดตามและประเมินผล



(ข2) ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน         



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



- สอบข้อเขียน                                                      



- การสัมภาษณ์



- ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          (ก1) ผู้เข้ารับการประเมินกำหนดเลือกใช้รูปแบบ วิธีการและเครื่องมือในการส่งเสริมแบบมีส่วนร่วม ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับผลการสำรวจและประเมินชุมชนและกลุ่มเป้าหมาย



          (ก2) ผู้เข้ารับการประเมินอธิบายผลการดำเนินงานส่งเสริมได้อย่างชัดเจน ตรงตามความเป็นจริง โดยไม่มีอคติ



          (ก3) ผู้เข้ารับการประเมินอธิบายผลสรุปจากการดำเนินงานส่งเสริมได้อย่างชัดเจน และครบถ้วนตามวัตถุประสงค์



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



(ข1) การส่งเสริมการเกษตร (Agricultural Extension)



                              การส่งเสริมการเกษตร (Agricultural Extension) หมายถึง กระบวนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม ที่เป็นประโยชน์และปฏิบัติได้ไปสู่เกษตรกร และช่วยให้พวกเขาได้เรียนรู้จนมีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดี ทำให้มีศักยภาพในการคิด ตัดสินใจ และแก้ปัญหา สามารถประกอบการผลิตได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ กับทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขาของครัวเรือน และของชุมชนให้ดีขึ้น ด้วยการพึ่งตนเองและพึ่งพากันและกัน



(ข2) การส่งเสริมแบบมีส่วนร่วม (Participatory Agricultural Extension)



                              การส่งเสริมแบบมีส่วนร่วม (Participatory Agricultural Extension) เป็นแนวทางการส่งเสริมแบบหนึ่งที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าการส่งเสริมแบบเกษตรกรสู่เกษตรกร (Farmer to farmer extension Approach) หมายถึง การส่งเสริมที่เกษตรกรมีบทบาทในการส่งเสริมเผยแพร่แก่เพื่อนเกษตรกรด้วยกัน โดยได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนทางวิชาการจากนักส่งเสริมการเกษตร และนักวิชาการเกษตรในสาขาที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกษตรกรนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ใปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหา และพัฒนาการประกอบการเกษตรของครัวเรือนให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น บนพื้นฐานแนวคิดของการพึ่งตนเอง



(ข3) วิทยากรเกษตรกร (Farmer Trainer)



                              วิทยากรเกษตรกร (Farmer Trainer) หมายถึง เกษตรกรที่มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมเผยแพร่แก่เพื่อนเกษตรกรด้วยกัน ในเรื่องใดโดยเฉพาะหรือหลายเรื่องประกอบกันของการประกอบการเกษตร ทำให้เพื่อนเกษตรกรเข้าใจและยอมรับในเรื่องที่นำไปส่งเสริมเผยแพร่หรือถ่ายทอดนั้น



(ข4) แปลงเรียนรู้ต้นแบบ



                              แปลงเรียนรู้ต้นแบบ หมายถึง แปลงเกษตรที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างแสดงสิ่งที่ได้ทดสอบแล้วว่าเหมาะสมแก่ชุมชนท้องถิ่นแก่เกษตรกรและผู้สนใจ เพื่อเรียนรู้การทำการเกษตรในเรื่องที่แสดงเป็นขั้นตอนไปจนจบสิ้นกระบวนการ และแสดงผลที่เกิดขึ้น โดยผู้ทำแปลงทดสอบเป็นเกษตรกรผู้มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่แสดง อาจทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม เป็นการลงมือทำจริงตามแผนการผลิตร่วมกับแผนการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้สนใจเรียนรู้และเข้าใจในสิ่งที่ทำและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น



(ข5) การขยายพื้นที่และจำนวนเกษตรกร



                              การขยายพื้นที่และจำนวนเกษตรกรเป็นการส่งเสริมเพื่อขยายผลการทดสอบในไร่นาที่สำเร็จแล้วไปสู่ชุมชน โดยเริ่มจากชุมชนที่ใช้เป็นสถานที่ทดสอบนั้น ไปสู่ชุมชนโดยรอบ และชุมชนอื่น ๆ ต่อไป ทั้งนี้ พื้นที่ที่จะส่งเสริมควรมีลักษณะทางระบบนิเวศน์การเกษตรเช่นเดียวกับพื้นที่ที่ทดสอบจึงจะลดความเสี่ยงของเกษตรกร และเพิ่มโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จในการประยุกต์ใช้สิ่งที่นำไปส่งเสริมเผยแพร่ได้ ในสภาพความเป็นจริงของชุมชน และสอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร



(ข6) สนับสนุนทางวิชาการและการจัดการ



                              สนับสนุนทางวิชาการและการจัดการหมายถึง การสนับสนุน ช่วยเหลือ แนะนำของนักส่งเสริมการเกษตรแก่เกษตรกรผู้ทำแปลงเรียนรู้ต้นแบบ และเกษตรกรที่สนใจเรียนรู้การประยุกต์ใช้สิ่งที่แสดงในแปลงเรียนรู้ต้นแบบนั้น เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีความเชื่อมั่นในความรู้ที่ได้รับ และมั่นใจในการนำไปประยุกต์ใช้ในที่ทำกินของตน



(ข7) ประเมินและสรุปผลการส่งเสริม



                              ประเมินและสรุปผลการส่งเสริม หมายถึง การประเมินการส่งเสริมอย่างเป็นระบบโดยใช้ทฤษฎีและแนวคิดการวิจัยประเมินผล วิธีการและเครื่องมือในการประเมิน ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของศาสตร์การเกษตรสาขาที่เกี่ยวข้องและศาสตร์การวิจัย ทำให้ได้ผลการประเมินตรงตามวัตถุประสงค์ ได้รับการเชื่อถือและยอมรับจากประชาคมวิจัยทางการส่งเสริมการเกษตร



(ข8) รายงานผลการส่งเสริม



                              รายงานผลการส่งเสริม หมายถึง การจัดทำรายงานสรุปผลการประเมินการส่งเสริมการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมทางการเกษตร ที่ผ่านการทดสอบสำเร็จแล้วไปยังเกษตรกรในพื้นที่อื่น ๆ โดยจัดทำรายงานในรูปแบบทางวิชาการและทางการส่งเสริมเผยแพร่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก



18.2 การสัมภาษณ์ตามหน่วยสมรรถนะ



18.3 พิจารณาหลักฐานจากผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว



ยินดีต้อนรับ