หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการทดสอบภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-ISKR-319A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการทดสอบภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับดำเนินการทดสอบภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร ตามแผนที่ได้วางไว้ ประกอบด้วย การดำเนินการทดสอบในไร่นาแบบมีส่วนร่วม การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการทดสอบในไร่นา การอภิปรายและสรุปการเรียนรู้จากการดำเนินการทดสอบในไร่นา และการประเมินและสรุปผลการทดสอบในไร่นา ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถดำเนินการทดสอบในไร่นาตามแผนที่วางไว้อย่างเป็นระบบ ถูกต้องตามหลักวิชาการและหลักปฏิบัติในการวิจัยทดสอบ และด้วยการเข้ามีส่วนร่วมของเกษตรกรและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตลอดกระบวนการทดสอบ นำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการทดสอบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          นักส่งเสริมการเกษตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B421 ดำเนินการทดสอบในไร่นาแบบมีส่วนร่วม 1. สื่อสารทำความเข้าใจระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และกระบวนการทดสอบรวมทั้งข้อตกลงร่วมกัน B421.01 93403
B421 ดำเนินการทดสอบในไร่นาแบบมีส่วนร่วม 2. บริหารจัดการทดสอบตามแผนที่วางไว้ B421.02 93404
B421 ดำเนินการทดสอบในไร่นาแบบมีส่วนร่วม 3. ดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้ตลอดช่วงการทดสอบ B421.03 93405
B421 ดำเนินการทดสอบในไร่นาแบบมีส่วนร่วม 4. แก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วม B421.04 93406
B421 ดำเนินการทดสอบในไร่นาแบบมีส่วนร่วม 5. ปรับปรุงการทดสอบ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และวัตถุประสงค์ของการทดสอบ B421.05 93407
B422 รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการทดสอบในไร่นา 1. กำหนดเกณฑ์วัดและประเมินผลการทดสอบสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการทดสอบ B422.01 93408
B422 รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการทดสอบในไร่นา 2. รวบรวมและบันทึกข้อมูลตามข้อกำหนด B422.02 93409
B422 รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการทดสอบในไร่นา 3. วิเคราะห์ข้อมูลถูกต้องตามหลักการวิจัยทดสอบ B422.03 93410
B423 อภิปรายและสรุปการเรียนรู้จากการดำเนินการทดสอบในไร่นา 1. อภิปรายสร้างเสริมการเรียนรู้ที่ชัดเจนโดยรับฟัง ตอบคำถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น B423.01 93411
B423 อภิปรายและสรุปการเรียนรู้จากการดำเนินการทดสอบในไร่นา 2. สรุปการเรียนรู้ร่วมกับเกษตรกรชัดเจน ตรงตามวัตุประสงค์ B423.02 93412
B424 ประเมินและสรุปผลการทดสอบ 1. ประเมินและสรุปผลการเรียนรู้ของเกษตรกร B424.01 93413
B424 ประเมินและสรุปผลการทดสอบ 2. รายงานผลการเรียนรู้ตรงตามวัตถุประสงค์ B424.02 93414

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะการบริหารจัดการงานวิจัยทดสอบในไร่นาแบบมีส่วนร่วม



(ก2) ทักษะการแก้ไขปัญหาในการทดสอบในไร่นาแบบมีส่วนร่วม



(ก3) ทักษะการบริหารจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง



(ก4) ทักษะการใช้เครื่องมือและเทคนิคการสร้างการเรียนรู้ของเกษตรกร



(ก5) ทักษะการนำเสนอที่มีประสิทธิผล การตอบคำถาม การอภิปราย การสรุปผล



(ก6) ทักษะการเป็นวิทยากรกระบวนการที่มีประสิทธิผล



(ก7) ทักษะการประเมินการเรียนรู้ของเกษตรกร



(ก8) ทักษะการเขียนรายงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับหลักและเทคนิคการบริหารจัดการทดสอบในไร่นาแบบมีส่วนร่วม



(ข2) ความรู้เกี่ยวกับการจัดการปัญหาการทดสอบในไร่นาแบบมีส่วนร่วม



(ข3) ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดเกณฑ์วัดและประเมินผล



(ข4) ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดวิธีการและเครื่องมือเก็บรวบรวมและบันทึกข้อมูลจากการทดสอบอย่างเป็นระบบ



(ข5) ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ



(ข6) ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง



(ข7) ความรู้เกี่ยวกับการเป็นวิทยากรกระบวนการที่มีประสิทธิผลในการทดสอบในไร่นา



(ข8) ความรู้เกี่ยวกับหลักและเทคนิคการฟัง การตอบคำถาม การอภิปราย การสรุปผลการเรียนรู้



(ข9) ความรู้เกี่ยวกับการประเมินการทดสอบในไร่นา



(ข10) ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำรายงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการ สมควรใช้หลักฐาน (ก) และ (ข) ประกอบกัน



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงานวิจัยทดสอบในไร่นาแบบมีส่วนร่วมจากหัวหน้างาน/ผู้ประกอบการ



(ก2) ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการวิจัยทดสอบในไร่นาแบบมีส่วนร่วม



(ข2) ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน  



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้      



(ง) วิธีการประเมิน



- การสอบข้อเขียน



- การสัมภาษณ์



- ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



N/A



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด



(ข1) สื่อสารทำความเข้าใจ



                              สื่อสารทำความเข้าใจ หมายถึง การสื่อสารทำความเข้าใจให้ชัดเจนตรงกันกับเกษตรกรและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการทดสอบ กระบวนการทดสอบ เงื่อนไขและเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อตกลงที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องกัน เพื่อให้มีความพร้อมในการดำเนินการทดสอบให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้



(ข2) บริหารจัดการทดสอบ



                              บริหารจัดการทดสอบ หมายถึง การบริหารจัดการโครงการทดสอบในไร่นาให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของเกษตรกร มีการใช้ทรัพยากรในการทดสอบอย่างมีประสิทธิภาพ ประสานความร่วมมือและการทำงานร่วมกันของเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องในขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการทดสอบ เพื่อให้การดำเนินการทดสอบเป็นไปตามหลักและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง ของการวิจัยทดสอบในไร่นาแบบมีส่วนร่วม และมีควา,คล่องตัวเหมาะแก่สถานการณ์

ที่มักมีการเปลี่ยนแปลง และบางครั้งไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังไว้



(ข3) ดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้



                              ดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้หมายถึง การกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ ว่าเกษตรกรจะเรียนรู้ในเรื่องอะไรจากการร่วมดำเนินการทดสอบภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมทางการเกษตร ที่ได้นำมาทดสอบในที่ทำกินของเกษตรกรในชุมชนเป้าหมาย การดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง โดยเกษตรกรมีส่วนร่วมอย่างสำคัญและอย่างแข็งขันในการคิดและทำทุกขั้นตอนของการทดสอบ และฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าทางวิชาการและการบริหารจัดการ เข้าร่วมมือสนับสนุนตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าและทุกฝ่ายได้เห็นชอบแล้ว



(ข4) แก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วม



                              แก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วม หมายถึง การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินการทดสอบในไร่นา ด้วยความร่วมมือกันระหว่างนักส่งเสริมการเกษตร เกษตรกร และผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการทดสอบ โดยดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เริ่มจากการร่วมกันทำความเข้าใจสภาพปัญหาการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา การพิจารณาผลที่เกิดขึ้น การหาทางเลือกในการแก้ปัญหา การประเมินทางเลือก การตัดสินใจเลือกทางเลือกที่มีศักยภาพหรือเป็นไปได้มากที่สุดที่จะแก้ปัญหาให้ลุล่วงไป และการนำทางเลือกไปดำเนินการเพื่อให้เกิดผลสำเร็จในสภาพความเป็นจริงของพื้นที่และของเกษตรกร จากนั้นก็ติดตามและประเมินผลการแก้ปัญหาว่าสำเร็จหรือไม่ อย่างไร



(ข5) ปรับปรุงการทดสอบ



                              ปรับปรุงการทดสอบ หมายถึง การปรับปรุงการดำเนินการทดสอบให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มักมีการเปลี่ยนแปลงและไม่แน่นอน เป็นการทำให้การทดสอบมีความอ่อนตัวหรือคล่องตัวเหมาะแก่สถานการณ์ แต่ยังคงถูกต้องตามหลักวิชาการและแนวทางปฏิบัติของการทดสอบในไร่นา แบบมีส่วนร่วม เพื่อทำให้มีความมั่นใจว่าการทดสอบจะดำเนินไปจนประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการทดสอบ



(ข6) เกณฑ์วัดและประเมินผลการทดสอบ



                              เกณฑ์วัดและประเมินผลการทดสอบ หมายถึง การกำหนดตัวชี้วัดผลสำเร็จของการทดสอบ ที่ต้องตรงตามวัตถุประสงค์ของการทดสอบ และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของประชาคมวิจัยทดสอบในไร่นา รวมทั้งทางวิทยาศาสตร์การเกษตรสาขาที่ทำวิจัยทดสอบนั้น เกณฑ์ที่ใช้วัดและประเมินผลการทดสอบในไร่นามีทั้งด้านวิทยาศาสตร์การเกษตรสาขาที่ทำวิจัยทดสอบ ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านสังคมศาสตร์หรือพฤติกรรมศาสตร์ ด้านการส่งเสริมการเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้การกำหนดเกณฑ์จะเป็นการคิดและตัดสินใจร่วมกันระหว่างนักส่งเสริมการเกษตร เกษตรกร

และผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการทดสอบครั้งนั้น



(ข7) รวบรวมและบันทึกข้อมูลตามข้อกำหนด



                              รวบรวมและบันทึกข้อมูลตามข้อกำหนดหมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการทดสอบในไร่นา ในรูปแบบที่กำหนดขึ้นอย่างมีระบบและขั้นตอน ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยใช้เครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลรวมทั้งการบันทึกที่เหมาะสม มีการตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของข้อมูล เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงและน่าเชื่อถือ สามารถนำไปจัดกระทำในรูปแบบที่เหมาะสมแก่การวิเคราะห์ต่อไป



(ข8) วิเคราะห์ข้อมูลถูกต้องตามหลักการวิจัยทดสอบ



                              วิเคราะห์ข้อมูลถูกต้องตามหลักการวิจัยทดสอบ หมายถึง การวางแนวทางวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ทุกระยะของการทดสอบในไร่นา มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ และ/หรือการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ แล้วตีความหรือแปลความผลการวิเคราะห์สรุปผลการวิเคราะห์ เพื่อตอบโจทย์หรือประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วน ตรงตามวัตถุประสงค์ของการทดสอบ และอยู่ในขอบเขตของการทดสอบในไร่นาที่ดำเนินการนั้น



(ข9) สร้างเสริมการเรียนรู้



                              สร้างเสริมการเรียนรู้ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมที่กระตุ้นการเข้ามีส่วนร่วมของเกษตรกร ในการพูด การแสดงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล การสังเคราะห์ การสรุปผล ทำให้เกษตรกรเกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และพัฒนาการเรียนรู้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่การพัฒนาตนเองของเกษตรกร และการพัฒนาการทำงานร่วมกลุ่มหรือการทำงานเป็นทีม ทำให้การเรียนรู้มีความก้าวหน้า มีทิศทาง และมุ่งสู่วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้



(ข10) การรับฟัง ตอบคำถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น



                              การรับฟัง ตอบคำถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นความพยายามอย่างมีทิศทางและเป็นระบบ เพื่อให้เกิดการติดต่อสื่อสารสองทางที่มีการตรวจสอบความเข้าใจให้ตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับสาร และมั่นใจว่ามีการสนองตอบในความคิดที่ตรงกัน การเรียนรู้มีความก้าวหน้า มีทิศทาง และมุ่งสู่วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้



(ข11) สรุปการเรียนรู้ร่วมกับเกษตรกร



                              สรุปการเรียนรู้ร่วมกับเกษตรกร หมายถึง การตกผลึกบทเรียนที่ได้รับจากประสบการณ์ตรงของเกษตรกรในการดำเนินการทดสอบภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมทางการเกษตรที่นำมาทดสอบในที่ทำกินของเกษตรกร ผนวกกับความคิดเห็นของนักส่งเสริมการเกษตร นักวิชาการเกษตรสาขาที่ทำวิจัยทดสอบ และผู้เกี่ยวข้องในการทดสอบ ทำให้ได้ข้อสรุปที่มีสาระที่เป็นประโยชน์และมีคุณค่า ควรแก่การนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนเสริมสร้างและพัฒนาการเรียนรู้ให้สูงยิ่งขึ้น ทำให้เกษตรกรมีองค์ความรู้และเกิดปัญญา รู้เท่าทันเหตุการณ์และความเป็นจริงด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ และด้วยเหตุผล สามารถเป็นวิทยากรเกษตรกร (Farmer trainer) ในการส่งเสริมขยายผลการทดสอบที่สำเร็จแล้วต่อไป



(ข12) ประเมินผลการทดสอบในไร่นา



                              ประเมินผลการทดสอบในไร่นาหมายถึง การวัดและประเมินผลตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยดำเนินการอย่างเป็นระบบ และถูกต้องตามหลักทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติของการวิจัยประเมินผลในการทดสอบในไร่นา ทำให้การประเมินผลเป็นที่ยอมรับของประชาคมวิจัยทดสอบ และของวิทยาศาสตร์การเกษตรสาขาที่ทำวิจัยทดสอบ



(ข13) รายงานผลการทดสอบ



                              รายงานผลการทดสอบ หมายถึง การรายงานสรุปผลการทดสอบในไร่นาที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการทดสอบ การอภิปรายผลการทดสอบ และการให้ข้อเสนอแนะทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ทำให้เกิดประโยชน์ในการบริหารจัดการโครงการทดสอบในไร่นาให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเกิดประโยชน์ทั้งทางวิชาการและปฏิบัติการส่งเสริมการเกษตรอีกด้วย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1.  



18.1 ข้อสอบข้อเขียนปรนัย 4 ตัวเลือก



18.2 แบบประเมินผลการสัมภาษณ์



18.3 แบบประเมินผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว



ยินดีต้อนรับ