หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนทดสอบภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-ZCLA-318A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนทดสอบภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความสามารถในการวางแผนทดสอบภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมทางการเกษตร เพื่อให้ได้แผนการทดสอบที่ชัดเจน สามารถนำไปดำเนินงานให้เกิดผลสำเร็จได้ในสภาพความเป็นจริงของชุมชน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความมั่นใจว่าภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมทางการเกษตร ที่จะนำไปส่งเสริมเผยแพร่แก่เกษตรกรนั้น มีความเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของพื้นที่หรือท้องถิ่น สามารถแก้ปัญหาหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตทางการเกษตรได้ และสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของเกษตรกร ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถกำหนดเกณฑ์และใช้เกณฑ์ในการเลือกชุมชนพื้นที่และเกษตรกรร่วมในการทดสอบ ใช้วิธีการสำรวจและประเมินชุมชนแบบมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และจัดอันดับความสำคัญของปัญหาและความต้องการของเกษตรกร สามารถเลือกภูมิปัญญาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตรที่จะทดสอบ วางแผนและออกแบบการทดสอบแบบมีส่วนร่วม ตามหลักปฏิบัติของการวิจัยทดสอบ ผลที่ได้จากหน่วยสมรรถนะนี้คือข้อเสนอโครงการทดสอบ ที่จัดทำอย่างเป็นระบบ ถูกต้องตามข้อกำหนดและระเบียบวิธีวิจัยทดสอบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          นักส่งเสริมการเกษตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B411 เลือกชุมชนเป้าหมาย 1. ประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนในชั้นต้น B411.01 93386
B411 เลือกชุมชนเป้าหมาย 2. คัดเลือกชุมชนเป้าหมายตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้ B411.02 93387
B412 จัดอันดับปัญหาและความต้องการของเกษตรกรในชุมชนเป้าหมาย 1. ระบุปัญหาการทำการเกษตรของเกษตรกรโดยใช้แนวทางและวิธีการแบบมีส่วนร่วมได้ B412.01 93388
B412 จัดอันดับปัญหาและความต้องการของเกษตรกรในชุมชนเป้าหมาย 2. ระบุความต้องการที่แท้จริงของเกษตรกรได้ B412.02 93389
B412 จัดอันดับปัญหาและความต้องการของเกษตรกรในชุมชนเป้าหมาย 3. จัดอันดับความสำคัญของปัญหาและความต้องการของเกษตรกร ตามเกณฑ์ที่กำหนดได้ B412.03 93390
B413 เลือกภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร 1. ประมวลภูมิปัญญาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตรที่จะใช้แก้ปัญหาและสนองความต้องการที่แท้จริงของเกษตรกรในชุมชนเป้าหมาย B413.01 93391
B413 เลือกภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร 2. เลือกภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตรตามเกณฑ์ที่กำหนด B413.02 93392
B414 เลือกเกษตรกรเข้าร่วมการทดสอบในไร่นา 1. กำหนดเกณฑ์เลือกเกษตรกรเข้าร่วมการทดสอบในไร่นา B414.01 93393
B414 เลือกเกษตรกรเข้าร่วมการทดสอบในไร่นา 2. เลือกเกษตรกรตามเกณฑ์ที่กำหนด B414.02 93394
B415 ออกแบบการทดสอบในไร่นา 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการทดสอบในไร่นาและโจทย์หรือประเด็นปัญหาที่ต้องการคำตอบอย่างชัดเจน B415.01 93395
B415 ออกแบบการทดสอบในไร่นา 2. กำหนดพื้นที่สำหรับการทดสอบชัดเจน ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การวิจัยทดสอบในไร่นา B415.02 93396
B415 ออกแบบการทดสอบในไร่นา 3. ระบุผู้มีส่วนร่วมในการทดสอบใน ไร่นา และบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ B415.03 93397
B415 ออกแบบการทดสอบในไร่นา 4. กำหนดแนวทางและวิธีดำเนินการทดสอบในไร่นาอย่างเป็นระบบ B415.04 93398
B415 ออกแบบการทดสอบในไร่นา 5. กำหนดแนวทางและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ B415.05 93399
B415 ออกแบบการทดสอบในไร่นา 6. กำหนดแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการทดสอบ ที่ตอบโจทย์และวัตถุประสงค์ของการทดสอบ B415.06 93400
B416 จัดทำข้อเสนอโครงการทดสอบในไร่นา 1. เขียนข้อเสนอโครงการทดสอบในไร่นาตามรูปแบบที่กำหนด B416.01 93401
B416 จัดทำข้อเสนอโครงการทดสอบในไร่นา 2. นำเสนอโครงการต่อบุคคลหรือหน่วยงานตามขั้นตอนและกรอบเวลาที่กำหนดเพื่อรับความเห็นชอบ B416.02 93402

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะการเลือกชุมชนเป้าหมาย



(ก2) ทักษะการวิเคราะห์และจัดอันดับปัญหาของชุมชนและเกษตรกรแบบมีส่วนร่วม



(ก3) ทักษะการวิเคราะห์และจัดอันดับความต้องการของเกษตรกรแบบมีส่วนร่วม



(ก4) ทักษะการเลือกภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร



(ก5) ทักษะการเลือกเกษตรกรเข้าร่วมการทดสอบในไร่นาแบบมีส่วนร่วม



(ก6) ทักษะการวางแผนทดสอบในไร่นาแบบมีส่วนร่วม



(ก7) ทักษะการออกแบบการทดสอบในไร่นาแบบมีส่วนร่วม



(ก8) ทักษะการวางแผนจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง



(ก9) ทักษะการจัดทำข้อเสนอโครงการ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้ในการสำรวจและประเมินชุมชนแบบมีส่วนร่วม



(ข2) ความรู้ในการวิเคราะห์และจัดอันดับความสำคัญของปัญหาของชุมชนและเกษตรกรแบบมีส่วนร่วม



(ข3) ความรู้ในการวิเคราะห์และจัดอันดับความต้องการของเกษตรกรแบบมีส่วนร่วม



(ข4) ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมทางการเกษตร



(ข5) ความรู้เกี่ยวกับหลักการ รูปแบบ แนวปฏิบัติของการทดสอบในไร่นา



(ข6) ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดเกณฑ์วัดและประเมินผลการทดสอบในไร่นา



(ข7) ความรู้เกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง



(ข8) ความรู้เกี่ยวกับการวางโครงการ



(ข9) ความรู้เกี่ยวกับหลักและเทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



                (ก1) เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงานสำรวจและประเมินชุมชนแบบมีส่วนร่วมจากหัวหน้างาน/ผู้ประกอบการ



                (ก2) เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงานวิจัยทดสอบในไร่นาแบบมีส่วนร่วมจากหัวหน้างาน/ผู้ประกอบการ



                (ก3) ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว                                



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



                (ข1) ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการวิจัยทดสอบในไร่นาแบบมีส่วนร่วม



                (ข2) ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน



                (ข3) ผลการสอบสัมภาษณ์                                    



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



                เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้                     



          (ง) วิธีการประเมิน                             



                - การสอบข้อเขียน



                - การสัมภาษณ์



                - ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



N/A



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



(ข1) ประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน



                              ประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน หมายถึง การรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของชุมชนที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของนักส่งเสริมการเกษตร ในด้านการเกษตรและด้านต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน แล้วนำมาจำแนกแยกแยะสิ่งที่พบ เพื่อทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นเกี่ยวกับลักษณะของชุมชน สภาพที่เป็นอยู่หรือกำลังเป็นไปของชุมชน ในการทำการเกษตรและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัญหาที่เกิดขึ้น และผลกระทบต่อเกษตรกรและชุมชน



(ข2) คัดเลือกชุมชนเป้าหมายตามเกณฑ์ที่กำหนด



                              คัดเลือกชุมชนเป้าหมายตามเกณฑ์ที่กำหนด หมายถึง การคัดเลือกชุมชนที่สำรวจพบปัญหาที่ต้องแก้ไข ปรับปรุง ให้การทำการเกษตรเกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจำแนกชุมชนตามชนิดของสินค้าเกษตร ตามลักษณะของพื้นที่ ตามปัญหาที่เกิดขึ้น หรือตามเกณฑ์การคัดเลือกที่กำหนดขึ้นบนพื้นฐานของสภาพที่เป็นจริงของชุมชน และเกษตรกร แล้วใช้เกณฑ์นั้นคัดเลือกเพื่อให้ได้ชุมชนเป้าหมาย ที่อยู่ในวิสัยและความสามารถของนักส่งเสริมที่จะดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรมได้ ด้วยความร่วมมือของภาคี ซึ่งอาจเป็นบุคคล หน่วยงาน องค์กร สถาบัน ที่เกี่ยวข้องและสนใจเข้าร่วมสร้างความสำเร็จ เนื่องจากปัญหาของชุมชนและการทำการเกษตรมีความหลากหลายและซับซ้อน มีการเปลี่ยนแปลงที่คาดและไม่คาดเกิดขึ้นอยู่เสมอ จึงมักไม่อาจแก้ไขให้สำเร็จลุล่วงได้โดยบุคคลหรือหน่วยงานใดเพียงลำพัง ต้องร่วมมือกันจึงจะสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเกษตรกรเอง ต้องมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเกษตร เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และประโยชน์ที่จะได้รับร่วมกัน



(ข3) ปัญหาการทำการเกษตรของเกษตรกร



                              ปัญหาการทำการเกษตรของเกษตรกรปัญหา หมายถึง อุปสรรค ข้อขัดข้องที่เกิดขึ้นและมีผลอย่างสำคัญในการทำให้วัตถุประสงค์หรือสภาพที่พึงปรารถนาไม่บรรลุผลสำเร็จ ดังนั้นปัญหาการทำการเกษตรจึงเป็นปัญหาในระบบการผลิต การจัดการ การแปรรูป การจำหน่าย และอื่น ๆ ตามห่วงโซ่คุณค่า ในการดำเนินงานส่งเสริมให้เกิดสัมฤทธิ์ผล จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้ปัญหาที่แท้จริงของเกษตรกร ทั้งในสภาพความเป็นจริงของปัญหา สาเหตุของปัญหา และผลที่เกิดขึ้น



(ข4) แนวทางและวิธีการแบบมีส่วนร่วม



                              แนวทางและวิธีการแบบมีส่วนร่วม หมายถึง แนวทาง วิธีการ เครื่องมือ ที่นักส่งเสริมการเกษตรสมควรใช้ เพื่อเปิดโอกาสและสนับสนุนให้เกษตรกรเข้ามีส่วนร่วมอย่างสำคัญในกระบวนการวิเคราะห์และประเมิน ทำให้ทราบและเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำการเกษตร และเรื่องต่าง ๆ

ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน



(ข5) ความต้องการที่แท้จริงของเกษตรกร



                              ความต้องการที่แท้จริงของเกษตรกรหมายถึง ความต้องการของเกษตรกรที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการประกอบการเกษตรให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นความต้องการที่จำเป็นที่หากไม่ได้รับการสนองตอบแล้ว จะส่งผลให้การประกอบการเกษตรเกิดปัญหาและไม่บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์



(ข6) จัดอันดับความสำคัญของปัญหาและความต้องการของเกษตรกรตามเกณฑ์ที่กำหนด



                              จัดอันดับความสำคัญของปัญหาและความต้องการของเกษตรกรตามเกณฑ์ที่กำหนดปัญหา และความต้องการของเกษตรกรมีอยู่อย่างหลากหลาย และมีน้ำหนักความรุนแรงหรือความสำคัญต่อการทำการเกษตรให้บรรลุผลสำเร็จมากน้อยต่างกัน จึงจำเป็นต้องกลั่นกรองและจัดอันดับความสำคัญของปัญหาและความต้องการของเกษตรกร ให้ได้ปัญหาและความต้องการที่มีความสำคัญในอันดับสูงและรอง ๆ ลงมา เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจแก้ปัญหาที่มีความสำคัญ และสอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรต่อไป ในการจัดอันดับความสำคัญของปัญหา และจัดอันดับความสำคัญของความต้องการของเกษตรกร มีองค์ประกอบหรือตัวที่ใช้วัดหรือประเมินแตกต่างกัน จำเป็นต้องกำหนดเกณฑ์ขึ้นอย่างชัดเจน เป็นระบบ และสามารถนำไปใช้ได้จริง ในสภาพความเป็นจริงของเกษตรกรและชุมชน



(ข7) ภูมิปัญญา องค์ความรู้เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร



                              ภูมิปัญญา ในที่นี้หมายถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน (Local wisdom/ Indigenous knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ความสามารถของชาวบ้านหรือชุมชน ที่ได้เรียนรู้และสั่งสมสืบทอดต่อ ๆ กันมา โดยทางตรงและทางอ้อม ส่วนใหญ่โดยทางวาจา ภูมิปัญญาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ทำให้ชุมชนอยู่รอดจนถึงปัจจุบัน



                              องค์ความรู้ (Body of knowledge) หมายถึงความรู้ที่สะสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ มีการกลั่นกรอง วิเคราะห์ สังเคราะห์ จนตกผลึก แล้วนำมาบูรณาการกันเป็นความรู้ในระดับสูงขึ้น หรือเป็นกรอบความคิดที่จะอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม สามารถเผยแพร่ ถ่ายทอด และนำมาใช้ประโยชน์ได้ ช่วยให้บุคคลสามารถดำรงชีวิตได้อยู่รอดปลอดภัยมีความเจริญก้าวหน้า และผาสุก



                              เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยขน์ในทางปฏิบัติ เทคโนโลยีเป็นการทำและการใช้ความรู้ ทักษะ ฝีมือ เพื่อแก้ปัญหา หรือทำหน้าที่ใดหรือสิ่งใดโดยเฉพาะ เพื่อประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษยชาติ ทำให้การดำรงชีวิตง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น และการจัดการสภาพแวดล้อมดีขึ้น



                              นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง ความเชื่อ ความคิด แบบแผนพฤติกรรม วิธีการ การปฏิบัติ เครื่องมือ หรือสิ่งใดก็ตาม ที่บุคคล กลุ่มบุคคล หรือสังคม รับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ อาจใหม่ทั้งหมดหรือใหม่บางส่วนก็ได้ นวัตกรรมมีทั้งที่สังเกตเห็นได้และไม่ได้



                              ภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร หมายถึง ภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวโยงกับการเกษตร สามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ

การแก้ปัญหา การปรับปรุง การพัฒนาระบบการเกษตรให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นักส่งเสริมการเกษตรพึงมีความรู้ในภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร เพื่อนำมาใช้ประกอบกันด้วยความชาญฉลาด ให้สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาระบบการเกษตร โดยลดอัตราความเสี่ยง และเพิ่มผลิตภาพการเกษตรได้



                              นักส่งเสริมการเกษตรควรมีข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร และรู้ว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมนั้น ๆ เป็นเช่นไร มีคุณสมบัติอะไรบ้าง (ทั้งที่ดีและไม่ดี) มีประโยชน์อะไรบ้างทางการเกษตร หากจะนำไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือปรับปรุงการประกอบการเกษตรให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างประสิทธิภาพ

มีข้อกำหนดหรือมีเงื่อนไขอะไรที่สำคัญ ที่ผู้ใช้ประโยชน์พึงตระหนักรู้และระมัดระวัง เพื่อเป็นการลดความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสให้การนำไปใช้ประโยชน์บรรลุผลตามที่ต้องการได้



(ข8) เลือกภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตรตามเกณฑ์ที่กำหนด



                              เลือกภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตรตามเกณฑ์ที่กำหนด หมายถึง การกำหนดเกณฑ์และใช้เกณฑ์นั้นในการเลือกภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร เพื่อนำไปทดสอบตามหลักวิชาการทางวิทยาศาสตร์การเกษตรให้เห็นจริงได้ ในบริบทนิเวศการเกษตรของชุมชน สามารถแก้ปัญหาการเกษตรในชุมชนได้ พัฒนาระบบการเกษตรให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เกษตรกรยอมรับ และนำไปปรับใช้ให้การเกษตรกรรมเกิดความยั่งยืนได้



(ข9) การทดสอบในไร่นา



                              การทดสอบในไร่นา เป็นการวิจัยทางการเกษตรอย่างหนึ่ง ที่ใช้ไร่นาหรือที่ทำกินของเกษตรกรเป็นที่ทดลอง (On-farm research or experimentation or trial) เพื่อพิสูจน์ทราบว่า ภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร อย่างใดอย่างหนึ่งหรือบางอย่างประกอบกัน ที่ได้มีผลจากการทดลองในสถานีวิจัยหรือผลจากการทดลองใช้ของเกษตรกรในที่ใดแล้ว ว่าเกิดผลดีต่อการเกษตรในเรื่องใดหรือส่วนใดนั้น มีความเหมาะสมที่จะใช้ในชุมชนท้องถิ่นเป้าหมายหรือไม่ เป็นการดำเนินการเฉพาะพื้นที่ ซึ่งนักส่งเสริมการเกษตรพึงเข้าใจถึงความหมาย รูปแบบ หลักการ กระบวนการดำเนินงาน เทคนิคการทดสอบในไร่นา กับมีทักษะและประสบการณ์ในการทำวิจัยทดสอบในไร่นา เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนทดสอบ ที่เมื่อนำไปดำเนินงานตามแผนแล้ว จะช่วยให้เกิดความมั่นใจในกระบวนการ และผลที่เกิดขึ้นจากการทดสอบ ว่าสิ่งที่ตนนำมาส่งเสริมเผยแพร่แนะนำแก่เกษตรกรนั้น มีความเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของพื้นที่ และสอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรแล้ว รวมทั้งมีความเป็นไปได้อย่างมากที่จะประสบผลสำเร็จ ด้วยเหตุผลและหลักฐานที่เกษตรกรได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองร่วมในกระบวนการทดสอบ ถือเป็นประสบการณ์ตรงที่เกษตรกรสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณายอมรับปรับใช้ของตน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์



(ข10) เกณฑ์เลือกเกษตรกร



                              เกณฑ์เลือกเกษตรกร หมายถึง เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการเลือกเกษตรกร เพื่อเข้าร่วมในการดำเนินงานทดสอบ โดยใช้ที่ทำกินของเกษตรกรเป็นแปลงทดลองหรือทดสอบ (Treatment plot) และ/หรือแปลงควบคุม (Control plot) ตามหลักทฤษฎีการวิจัยทดสอบในไร่นา ทั้งนี้ ด้วยความสมัครใจและความพร้อมของเกษตรกรเป็นสำคัญ ประกอบกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ที่กำหนดขึ้น เพื่อความมั่นใจในเบื้องต้นว่าจะทำให้การดำเนินงานทดสอบในไร่นาบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ ในสภาพความเป็นจริงของพื้นที่ชุมชน



(ข11) วัตถุประสงค์ของการทดสอบในไร่นา



                              วัตถุประสงค์ของการทดสอบในไร่นาหมายถึง ผลที่ต้องการให้บรรลุ วัตถุประสงค์ต้องระบุเป็นข้อความที่รัดกุม เพื่อครอบคลุมสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้น และเพื่อให้สามารถวัดและประเมินผลได้ หลักการเขียนวัตถุประสงค์ที่ดีมักใช้ SMART Model คือ Specific (เจาะจง) Measurable (วัดได้) Attainable (บรรลุผลได้) Reality (ในสภาพความเป็นจริง) Timeframe (ตามกรอบเวลา) วัตถุประสงค์ของการทดสอบในไร่นาแสดงถึงเจตจำนงของนักส่งเสริมการเกษตรหรือผู้วิจัยว่าจะศึกษาเรื่องอะไร และต้องการให้ได้ข้อค้นพบอะไรจากการวิจัยทดสอบในไร่นา



(ข12) โจทย์หรือประเด็นปัญหาที่ต้องการคำตอบอย่างชัดเจน



                              โจทย์หรือประเด็นปัญหาที่ต้องการคำตอบอย่างชัดเจน เพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของการทดสอบในไร่นา สมควรนำวัตถุประสงค์มาตั้งโจทย์หรือประเด็นคำถามที่ต้องการคำตอบ

จากการดำเนินงานทดสอบ เพื่อให้การทดสอบเจาะจง ตรงตามวัตถุประสงค์ และได้คำตอบในทุกประเด็นคำถามอย่างชัดเจน เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกษตรกรและชุมชนสนใจและสมัครใจเข้าร่วมงานทดสอบ เพื่อประโยชน์ที่จะได้รับร่วมกัน



(ข13) พื้นที่สำหรับการทดสอบ



                              พื้นที่สำหรับการทดสอบหมายถึง พื้นที่ไร่นาหรือที่ทำกินของเกษตรกร ที่จะใช้ในการดำเนินงานทดสอบ ซึ่งต้องเป็นพื้นที่ตัวแทนสภาพปัญหา ตัวแทนลักษณะเชิงนิเวศการเกษตร ที่จำแนกให้ได้พื้นที่และเกษตรกรที่มีลักษณะเป็นแบบเดียวกัน (Homogeneous group) ตามหลักทฤษฎีการวิจัยทดสอบ ในไร่นา



(ข14) ผู้เกี่ยวข้องในการทดสอบในไร่นา



                              ผู้เกี่ยวข้องในการทดสอบในไร่นา หมายถึง ผู้มีส่วนร่วมโดยตรงหรือโดยอ้อมในกระบวนการทดสอบในไร่นา ซึ่งได้แก่เกษตรกรเป็นหลัก และผู้สนับสนุนทางวิชาการ อาทิ นักวิชาการ/นักวิจัยทางการเกษตร นักเศรษฐศาสตร์การเกษตร นักส่งเสริมการเกษตร และทางการบริหารจัดการ อาทิ บุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร สถาบัน ภายในหรือภายนอกชุมชนท้องถิ่น ที่มีความสนใจเข้าร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะเป็นผู้ใด จำนวนเท่าใดนั้น อยู่ในดุลพินิจของนักส่งเสริมที่รับผิดชอบโครงการทดสอบ



(ข15) บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ



                              บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบหมายถึง บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ของแต่ละคนแต่ละฝ่าย ที่ต้องระบุอย่างชัดเจนและเป็นที่เข้าใจของผู้เข้ามีส่วนร่วมในการทดสอบในไร่นา เพื่อให้

การดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่มีความก้าวหน้า มีการใส่ใจทำงานในหน้าที่รับผิดชอบ มีการร่วมมือประสานงานกัน ช่วยเหลือสนับสนุนกัน และมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน



 



(ข16) แนวทางและวิธีดำเนินการทดสอบในไร่นาอย่างเป็นระบบ



                              แนวทางและวิธีดำเนินการทดสอบในไร่นาอย่างเป็นระบบเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบ การทดสอบในไร่นา ตามหลักวิชาการ หลักการบริหารโครงการวิจัย หลักการส่งเสริมการเกษตร มีรายละเอียดของกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงานทดสอบในไร่นาที่ต้องกำหนดชัดเจนเป็นระบบ เป็นโครงสร้างที่แสดงแนวทางและขั้นตอนในการดำเนินงานทดสอบ โดยระบุทรัพยากรหรือปัจจัยนำเข้า (Input) ที่ต้องใช้ในกระบวนการดำเนินงาน (Process) การบริหารจัดการ (Management) เพื่อให้บรรลุผลที่คาดว่าจะได้รับ (Output) โดยมีการ ติดตามกำกับดูแล การประเมินผล การให้คำปรึกษาแนะนำ การช่วยเหลือสนับสนุน การจัดเวทีเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน (Interactive learning through action) ระหว่างเกษตรกร นักส่งเสริม นักวิชาการ/นักวิจัยการเกษตร นักเศรษฐศาสตร์การเกษตร และผู้มีส่วนร่วม ตามช่วงเวลาต่าง ๆ ตลอดระยะของการทดสอบในไร่นา ซึ่งอาจผสานแนวทางโรงเรียนเกษตรกร (Farmer Field School-FFS) เข้าเสริมสร้างการเรียนรู้ให้ชัดเจนเห็นชัดยิ่งขึ้นก็ได้



(ข17) แนวทางและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ



                              การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นกระบวนการที่มีระบบและมีขั้นตอน มีการกำหนดเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การตอบแบบสอบถาม การตอบแบบทดสอบ การจัดกลุ่มเสวนาหรือสนทนา (Focus group discussion/dialogue- FGD) การประเมินโดยเกษตรกร (Farmer assessment) เป็นต้น มีการกำหนดวิธีการบันทึกข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้อ' และความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูล เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือเกี่ยวกับเรื่องที่ทดสอบ ทางด้านวิทยาศาสตร์การเกษตร เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์หรือพฤติกรรมศาสตร์ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่พบในช่วงการทดสอบ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวโยงกัน เป็นข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ที่จะนำมาจัดกระทำในรูปแบบที่เหมาะสมแก่การวิเคราะห์ต่อไป



(ข18) แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการทดสอบ



                              แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการทดสอบหมายถึง การวางแนวทางวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ทุกระยะของการทดสอบ มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ และ/หรือการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ แล้วตีความหรือแปลความผลการวิเคราะห์สรุปผลการวิเคราะห์ เพื่อตอบโจทย์หรือประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วน ตรงตามวัตถุประสงค์ของการทดสอบ และอยู่ในขอบเขตของการทดสอบในไร่นาที่จะดำเนินการนั้น



(ข19) ข้อเสนอโครงการทดสอบในไร่นาตามรูปแบบที่กำหนด



                              ข้อเสนอโครงการทดสอบในไร่นาตามรูปแบบที่กำหนดหมายถึง การเขียนรายละเอียดที่จำเป็นของสิ่งที่จะกระทำในการทดสอบในไร่นาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ข้อเสนอโครงการมีความสำคัญช่วยให้มั่นใจในเบื้องต้น ว่ามีแนวทางในการสร้างความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ภายในกรอบเวลาที่ระบุ โดยป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในการดำเนินงานไว้ล่วงหน้า เป็นการป้องกันและลดความผิดพลาดในการดำเนินงาน รูปแบบของข้อเสนอโครงการมีความแตกต่างกันไป ตามที่กำหนดโดยหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่ให้ทุน รูปแบบข้อเสนอโครงการทดสอบในไร่นามีองค์ประกอบสำคัญ

(ไม่ได้เรียงลำดับ สามารถปรับได้ และองค์ประกอบอาจเพิ่ม/ลดได้) ประกอบด้วย ชื่อโครงการ ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ ชื่อหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ระยะเวลาดำเนินงาน หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของโครงการ ผลที่คาดว่าจะได้รับ ขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรมที่จะกระทำ วิธีการดำเนินงาน สถานที่หรือพื้นที่เป้าหมาย ทรัพยากรที่ต้องการ งบประมาณ ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

ในการดำเนินงาน การบริหารจัดการความเสี่ยง ฯลฯ นักส่งเสริมการเกษตรพึงจัดทำข้อเสนอโครงการตามรูปแบบ และข้อกำหนดของหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่ให้ทุน แล้วนำเสนอต่อบุคคลหรือหน่วยงานตามขั้นตอนและกรอบเวลาที่กำหนด เพื่อขอรับความเห็นชอบต่อไป


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1.  



18.1 ข้อสอบข้อเขียนปรนัย 4 ตัวเลือก



18.2 แบบประเมินผลการสัมภาษณ์



18.3 แบบประเมินผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว



ยินดีต้อนรับ