หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาเกษตรกรแกนนำ

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-TKWA-314A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาเกษตรกรแกนนำ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ และความจำเป็นที่แท้จริงของเกษตรกรแกนนำ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม วางแผนการพัฒนา จัดทำโครงการพัฒนา รวมถึงรายงานสรุปผล และรายงานการติดตามประเมินผลการพัฒนาเกษตรกรแกนนำ เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด สามารถแก้ปัญหา ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรแกนนำได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          นักส่งเสริมการเกษตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B211 วางแผนพัฒนาเกษตรกรแกนนำ 1. ศึกษา สำรวจ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคัดเลือกสรรหา และการพัฒนาเกษตรกรแกนนำโดยใช้วิธีการและเครื่องมือศึกษาวิเคราะห์ที่เหมาะสม B211.01 93337
B211 วางแผนพัฒนาเกษตรกรแกนนำ 2. ระบุบทบาทหน้าที่ ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรแกนนำ B211.02 93338
B211 วางแผนพัฒนาเกษตรกรแกนนำ 3. จัดทำแผนการพัฒนาตามหลักการและขั้นตอนการพัฒนาเกษตรกรแกนนำ B211.03 93339
B212 พัฒนาเกษตรกรแกนนำ 1. เตรียมก่อนการดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการพัฒนาเกษตรกรแกนนำและสอดคล้องกับแผนงานที่กำหนด B212.01 93340
B212 พัฒนาเกษตรกรแกนนำ 2. การดำเนินการเป็นไปตามแผนปฏิบัติงาน ถูกต้องตามหลักการและกระบวนการพัฒนาเกษตรกรแกนนำ B212.02 93341
B212 พัฒนาเกษตรกรแกนนำ 3. บันทึกสรุปรายงานผลการปฏิบัติงานถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน B212.03 93342
B213 รายงานผลการพัฒนาเกษตรกรแกนนำ 1. ข้อมูลที่ได้จากการดำเนินงานได้มีการวิเคราะห์อย่างรอบคอบถูกต้องตามหลักการและกระบวนการพัฒนาเกษตรกรแกนนำ B213.01 93343
B213 รายงานผลการพัฒนาเกษตรกรแกนนำ 2. สรุปผลดำเนินงานเป็นไปตามหลักการและกระบวนการพัฒนาเกษตรกรแกนนำข้อมูลที่ได้จากการสรุปถูกต้องสมบูรณ์ เชื่อถือได้และนำไปใช้ประโยชน์ได้ B213.02 93344
B213 รายงานผลการพัฒนาเกษตรกรแกนนำ 3. รายงานผลการพัฒนาเป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด มีข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วนเชื่อถือได้และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง B213.03 93345
B214 ติดตามและประเมินผลการพัฒนาเกษตรกรแกนนำ 1. ออกแบบวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักการติดตามและประเมินผลได้ข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง เชื่อถือได้ B214.01 93346
B214 ติดตามและประเมินผลการพัฒนาเกษตรกรแกนนำ 2. ติดตามและประเมินผลตามที่ได้ออกแบบไว้ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน B214.02 93347
B214 ติดตามและประเมินผลการพัฒนาเกษตรกรแกนนำ 3. สรุปผลการดำเนิการได้ถูกต้อง สมบูรณ์ และนำไปใช้ประโยชน์ได้ B214.03 93348
B214 ติดตามและประเมินผลการพัฒนาเกษตรกรแกนนำ 4. รายงานการติดตามและประเมินผลและได้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์และเป็นไปได้ B214.04 93349
B215 ให้คำปรึกษาแนะนำเกษตรกรแกนนำ (บทบาทในการให้คำแนะนำหลังการพัฒนา) 1. ให้คำปรึกษาแนะนำทางเลือกที่เป็นไปได้แก่เกษตรกรแกนนำในการตัดสินใจแก้ปัญหาและสนองตอบความต้องการที่แท้จริง B215.01 93350
B215 ให้คำปรึกษาแนะนำเกษตรกรแกนนำ (บทบาทในการให้คำแนะนำหลังการพัฒนา) 2. ติดตามผลที่เกิดขึ้น จากการให้คำปรึกษาแนะนำ B215.02 93351

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • หลักการส่งเสริมการเกษตร

  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเกษตร


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) การสืบค้นและรวบรวมข้อมูล



(ก2) การทำงานร่วมกับผู้นำเกษตร



(ก3) การสื่อสาร



(ก4) การรับรู้และเข้าใจ



(ก5) การประสานงาน



(ก6) การคิดวิเคราะห์/สังเคราะห์



(ก7) การเขียนรายงานผลการวิเคราะห์และโครงการพัฒนาเกษตรกรแกนนำ



(ก8) การสรรหา สร้าง และพัฒนาผู้นำ



(ก9) บทบาทหน้าที่ของเกษตรกรแกนนำ



(ก10) หลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม



(ก11) หลักและวิธีการวิเคราะห์/สังเคราะห์



(ก12) หลักการสร้างและทำงานร่วมกับผู้นำเกษตร



(ก13) การจัดกิจกรรม



(ก14) การติดตามและประเมินผล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) การสรรหา สร้าง และพัฒนาผู้นำ



(ข2) หลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม



(ข3) การสื่อสาร



(ข4) หลักและวิธีการวิเคราะห์/สังเคราะห์



(ข5) หลักการสร้างและทำงานร่วมกับผู้นำเกษตร



(ข6) การจัดกิจกรรม



(ข7) การติดตามและประเมินผล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



               (ก1) รายละเอียดโครงการพัฒนาเกษตรกรแกนนำ   



               (ก2) แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์



               (ก3) เอกสารรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล



               (ก4) แผนงานโครงการพัฒนาเกษตรกรแกนนำ



               (ก5) บันทึก/รายงานการปฏิบัติงาน



               (ก6) บันทึก/รายงานการผลการติดตามและประเมินผล



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



               (ข1) ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง



               (ข2) หน่วยกิตที่ผ่านจากหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากทางราชการ



               (ข3) หลักการและวิธีการจัดทำแบบสำรวจรวบรวมข้อมูล     



               (ข4) หลักการและวิธีการสำรวจรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และสรุปรายงาน



               (ข5) การใช้คอมพิวเตอร์ในการสืบค้น วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปจัดทำเอกสารรายงาน



               (ข6) การใช้สถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล



               (ข7) การวิเคราะห์/สังเคราะห์



               (ข8) การวางแผนการพัฒนาเกษตรแกนนำ



               (ข9) การเขียนแผนงานโครงการพัฒนา กิจกรรมพัฒนา



               (ข10) การเขียนบันทึก/รายงานการปฏิบัติงาน



               (ข11) การประเมินและติดตามผล



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



               เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ 



          (ง) วิธีการประเมิน



               - ข้อสอบข้อเขียน



               - การสัมภาษณ์



               - ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ



               (ก1) ผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องมีความสามารถ



                      1) วิเคราะห์สถานการณ์ที่เป็นอยู่ สถานการณ์ที่ต้องการให้เป็น และความจำเป็นในการพัฒนาแกนนำ ครอบคลุมตามความเป็นจริง



                      2) จัดทำแผนการพัฒนาเกษตรกรแกนนำได้ครอบคลุมตามบทบาทหน้าที่ และหลักการและขั้นตอนพัฒนาเกษตรกรแกนนำ



                      3) ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการพัฒนาเกษตรกรแกนนำได้อย่างถูกต้องตามหลักการ วิธีการ สามารถนำผลการติดตามและประเมินผลไปปรับใช้ในการพัฒนาต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ



                      4) ดำเนินการพัฒนาเกษตรกรแกนนำให้เป็นไปตามแผน



                      5) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาเกษตรกรแกนนำได้อย่างถูกต้องตามหลักการ วิธีการ สามารถนำผลการติดตามและประเมินผลไปปรับใช้ในการพัฒนาต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ



               (ก2) เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



               (ข1) บทบาทของผู้นำเกษตรกรที่ควรเป็น



                      บทบาทของผู้นำเกษตรกรที่ควรเป็น ด้วยสภาพของการทำการเกษตร และการส่งเสริมการเกษตร ในปัจจุบันบทบาทของเกษตรกรแกนนำที่มีต่อการส่งเสริมการเกษตร ควรเป็นดังนี้



                      บทบาททางด้านการสนับสนุนการผลิตเกษตรกรแกนนำ ควรมีบทบาทในการสนับสนุนการผลิตดังนี้



                           1) ให้ความช่วยเหลือในด้านการวางแผนการผลิต



                           2) หาแหล่งปัจจัยการผลิตที่มีความเป็นธรรมให้แก่เกษตรกร เช่น หาแหล่งสินเชื่อที่คิดดอกเบี้ยในอัตราที่เป็นธรรมให้แก่เกษตรกรกู้



                           3) ชักชวนให้เกษตรกรในท้องถิ่นปรับปรุงปัจจัยพื้นฐานทางการเกษตร เช่น ทำคันคูทดน้ำและระบายน้ำ สร้างแหล่งเก็บน้ำ ปรับปรุงถนนที่ใช้ในการคมนาคมขนส่ง



                           4) กระตุ้นให้เกิดการรวมกลุ่มเกษตรกร เพื่อให้มีพลังกลุ่มในการต่อรองขอความเป็นธรรมในเรื่อง ต่าง ๆ รวมทั้งการร่วมกันลงทุนจัดซื้อปัจจัยการผลิตที่จำเป็น เพื่อลดต้นทุน หรือจัดสร้างยุ้งฉางเก็บรักษา ผลผลิตเพื่อลดความเสี่ยงของผลผลิต



                      บทบาททางด้านการถ่ายทอดความรู้ เกษตรกรแกนนำควรเป็นผู้แทนของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ในการถ่ายทอดความรู้ทางการเกษตร และที่เกี่ยวข้องให้แก่เกษตรกรในท้องถิ่นดังนี้



                           1) เป็นตัวอย่างในการนำความรู้ที่ได้รับจากการส่งเสริมมาปฏิบัติ เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่เกษตรกร ในท้องถิ่น



                           2) ถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ให้เกษตรกรในท้องถิ่นได้รับทราบและ กระตุ้นให้เกิดการยอมรับเพื่อนำไปปฏิบัติ



                           3) ให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกร เมื่อเกษตรกรในท้องถิ่นประสบปัญหาจน ไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้



                           4) รวบรวมข้อมูลทางการเกษตร และที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นแล้วเสนอให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรได้รับทราบ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการส่งเสริมการเกษตร และการพัฒนาการเกษตรต่อไป



                      บทบาทด้านการประสานงานเกษตรกรแกนนำควรมีบทบาทในการประสานงานด้านต่าง ๆ ดังนี้



                           1) ประสานงานให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและเกษตรกรในท้องถิ่นมีความเข้าใจและความ สัมพันธ์อันดีต่อกัน



                           2) ประสานความสัมพันธ์กับเกษตรกรภายในท้องถิ่นตนเอง และเกษตรกรในท้องถิ่นอื่น



                           3) ประสานกับบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพเกษตร เช่น ประสานกับพ่อค้าคนกลาง หรือผู้จำหน่ายปัจจัยการผลิต เพื่อให้เกษตรกรในท้องถิ่นได้รับความเป็นธรรมในการติดต่อธุรกิจ



                           4) ประสานกับเจ้าหน้าที่ในสังกัดหน่วยราชการอื่น หรือพนักงานของรัฐวิสาหกิจและเอกชนที่เข้ามา ทำหน้าที่ทางด้านการเกษตรในท้องถิ่น



                      บทบาททางด้านการพัฒนาเกษตรกรแกนนำ ควรมีบทบาทในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ดังนี้



                           1) เสนอแนะและร่วมพัฒนาท้องถิ่น โดยเฉพาะทางด้านทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการประกอบอาชีพเกษตร



                           2) เสนอแนะและช่วยสนับสนุนการพัฒนาเกษตรกรในท้องถิ่น เช่น เปิดโอกาสสนับสนุนให้เกษตรกร ที่มีความเหมาะสมได้มีโอกาสเป็นผู้นำเกษตรกรและหมุนเวียนกันไป



                           3) พัฒนาและฝึกฝนตนเองให้มีความรู้ความสามารถในด้านอาชีพ และการเป็นผู้นำอยู่เสมอ



                           4) ช่วยสนับสนุนส่งเสริมและพัฒนากระบวนการกลุ่มในท้องถิ่น ให้ได้กลุ่มที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพในการทำงานอย่างต่อเนื่อง



                           5) ร่วมวางแผนและจัดทำโครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านการเกษตร หรือพัฒนาเกษตรกรในท้องถิ่น รวมทั้งการช่วยติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรในท้องถิ่น เพื่อแก้ไขและพัฒนา ปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น



                      บทบาทตามกฎหมาย นอกจากเกษตรกรแกนนำที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งต้องมีบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบไปตามตำแหน่งงานที่กำหนดไว้ตามระเบียบ หรือข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานแล้ว เกษตรกรแกนนำที่ได้รับการคัดเลือกจากเกษตรกรในบางหน่วยงาน ยังได้มีการกำหนดบทบาทไว้ในระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานอีกด้วย ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างบทบาทของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ซึ่งกำหนดโดยกรมส่งเสริมการเกษตรไว้ดังนี้



                      บทบาทภารกิจอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน



                           1) จัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรของหมู่บ้าน



                           2) ร่วมกับกรรมการหมู่บ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับหมู่บ้าน



                           3) ประสานงานในการถ่ายทอดความรู้ และการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในหมู่บ้าน



                           4) ติดตามสถานการณ์การเกษตรในหมู่บ้าน และรายงานเหตุการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วนต่อหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง กล่าวได้ว่าบทบาทสำคัญของผู้นำเกษตรกรในการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรคือการปฏิบัติงาน ส่งเสริมการเกษตร ด้วยการเป็นตัวกลางในการเผยแพร่ความรู้และข้อมูลข่าวสารทางเกษตรจากแหล่งความรู้ และข้อมูลไปสู่เกษตรกรในท้องถิ่น และนำปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นมาพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางแก้ไขปรับปรุง



               (ข2) การศึกษาวิเคราะห์ชุมชนเพื่อคัดเลือก สรรหา เกษตรกรแกนนำ



                      การศึกษาวิเคราะห์ชุมชนเพื่อคัดเลือก สรรหา เกษตรกรแกนนำภายใต้คุณสมบัติต่าง ๆ เช่น การเป็นนำการเปลี่ยนแปลง มีความสามารถในการเรียนรู้ มีมนุษยสัมพันธ์ มีภาวะผู้นำ และมีทักษะในการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น



                      การคัดเลือกเกษตรกรแกนนำ มีหลักในการคัดเลือกเกษตรกรแกนนำในการส่งเสริมการเกษตร



                           1) คำนึงถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการคัดเลือก



                           2) กำหนดคุณสมบัติของเกษตรกรแกนนำที่ต้องการ



                           3) ความโปร่งใสและยุติธรรม



                           4) การเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่



                      เกณฑ์การคัดเลือกประกอบด้วย



                           1) เกณฑ์ทั่วไป เช่น จำนวนที่ต้องการ ระยะเวลาการปฏิบัติงานในหน้าที่ การพ้นสภาพ



                           2) เกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับตัวเกษตรกรแกนนำ เช่น ลักษณะทางร่างกาย อารมณ์ อุปนิสัย ความสามารถ ภาวะ ผู้นำ ความพร้อม



                      วิธีการคัดเลือก



                      การคัดเลือกเกษตรกรแกนนำทำได้หลายวิธี โดยการสังเกต การใช้กระบวนการกลุ่ม การใช้วิธีสังคมมิติการใช้เครื่องมืออื่น ๆ เช่น แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ เป็นต้น



               (ข3) กระบวนการพัฒนาเกษตรกรแกนนำ



                      กระบวนการพัฒนาเกษตรกรแกนนำ ประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมายในการพัฒนา การจัดทำแผนพัฒนา การดำเนินงานส่งเสริมพัฒนา การวัดและประเมินผลการพัฒนา



                      การพัฒนาเกษตรกรแกนนำ มีหลักการ คือ



                           1) ดำเนินการอย่างมีระบบและต่อเนื่อง



                           2) มีการติดตาม ให้การสนับสนุนช่วยเหลือแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานของเกษตรกรแกนนำ



                           3) ไม่ก่อให้เกิดปัญหาความแตกแยกในท้องถิ่น



                      วิธีการพัฒนาเกษตรกรแกนนำประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่



                           1) ขั้นเตรียมการ



                               จัดทำแผนการพัฒนาโดยการวิเคราะห์ความต้องการการพัฒนา การจัดทีมงาน เนื้อหา วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ ฯลฯ



                           2) ขั้นดำเนินการ



                               พัฒนาโดยการให้ความรู้ ผ่านวิธีการต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้รู้ การเรียนรู้ตามอัธยาศัย



                           3) ขั้นติดตามและประเมินผลการพัฒนา



                               สร้างเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ติดตามความก้าวหน้า ประเมินการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมถึงความพึงพอใจในประเด็นต่าง ๆ ของการพัฒนา



               (ข4) เครื่องมือในการพัฒนาเกษตรกร



                      เครื่องมือในการพัฒนาเกษตรกร ประกอบด้วยหลายเครื่องมือ ทั้งการจัดฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การจัดแปลงสาธิต เป็นต้น โดยประกอบด้วยกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้



                      การเขียนโครงการพัฒนา ประกอบด้วย ชื่อโครงการ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ หลักสูตร วิธีการและเทคนิค เป็นต้น



                      การเขียนรายงานการพัฒนา ประกอบด้วย บทนำ วิธีการดำเนินงาน ผลการวิเคราะห์ สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ



                      กรอบแนวคิดการติดตามและประเมินผลโครงการถ่ายทอด ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของการติดตามและประเมินผล กิจกรรมการประเมิน ตัวชี้วัดและเกณฑ์ เครื่องมือที่ใช้ในการติดตามและประเมินผล สถิติที่ใช้ และผู้รับผิดชอบ เป็นต้น



                      เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น



                      รูปแบบรายงานการติดตามและประเมินผลการถ่ายทอด ประกอบด้วย บทนำ วิธีการดำเนินงาน ผลการวิเคราะห์ สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ



               (ข5) แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพให้เกษตรกรแกนนำ



                      แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพให้เกษตรกรแกนนำ เกษตรกรแกนนำส่วนใหญ่อยู่ในวัยกลางคน แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพ จะเน้นการพัฒนาในเรื่องของทักษะการบริหารคน โดยให้มีทักษะในการเป็นผู้นำ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม การสร้างแรงจูงใจ ทักษะทางการคิดเชิงกลยุทธ์ นอกจากนั้น กลุ่มคนเหล่านี้ถือได้ว่ามีสมรรถนะทั้งการงานและการบริหารคนมาระดับหนึ่ง ดังนั้นหนึ่งในแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะคือ การเป็นผู้นำขององค์กรที่จะเกี่ยวข้องกับการมีวิสัยทัศน์ การคิดเชิงระบบ และเชิงกลยุทธ์ การเข้าใจในองค์รวมขององค์กร


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          18.1ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก



          18.2 การสัมภาษณ์ตามหน่วยสมรรถนะ



          18.3 พิจารณาหลักฐานจากผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว



ยินดีต้อนรับ