หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-XWYB-310A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความสามารถในการวางแผนศึกษาวิเคราะห์ชุมชน ที่กำหนดแนวทาง วิธีการ และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ให้ผู้นำท้องถิ่น สมาชิกชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง เข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการ จากนั้นนำแผนไปดำเนินงานรวบรวมข้อมูล บันทึกและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และความครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิเคราะห์ชุมชน แล้วสรุปและรายงานผลการศึกษาอย่างถูกต้องและเชื่อถือได้ ผลที่ได้จากหน่วยสมรรถนะนี้คือ แผนการวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม และรายงานสรุปผลการศึกษาวิเคราะห์ชุมชน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B111 วางแผนวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม 1. กำหนดแนวทาง วิธีการและเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วม B111.01 93323
B111 วางแผนวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม 2. เขียนแผนการวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม B111.02 93324
B112 ดำเนินการวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม 1. ศึกษาวิเคราะห์ชุมชนอย่างถูกต้องครบถ้วน และสอดคล้องกับแผนงานที่กำหนด B112.01 93325
B112 ดำเนินการวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม 2. บันทึกข้อมูลจากการดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามแผนงานที่กำหนด B112.02 93326
B113 รายงานผลการวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม 1. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการดำเนินงาน B113.01 93327
B113 รายงานผลการวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม 2. สรุปผลการดำเนินงานได้ครบถ้วน ตรงตามความเป็นจริง B113.02 93328
B113 รายงานผลการวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม 3. เขียนรายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วมได้ครบถ้วน ถูกต้องเชื่อถือได้ และมีองค์ประกอบตามที่กำหนด B113.03 93329

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • หลักการส่งเสริมการเกษตร

  • ความรู้พื้นฐานด้านการเกษตร


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะการวางแผนศึกษาวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม



(ก2) ทักษะการเขียนแผนการศึกษาวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม



(ก3) ทักษะการใช้แนวทาง วิธีการ และเครื่องมือสำรวจ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วม



(ก4) ทักษะการสืบค้นและทบทวนข้อมูลมัธยภูมิหรือข้อมูลมือสอง



(ก5) ทักษะการบันทึกและตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูล ที่ได้จากการรวบรวมและวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม



(ก6) ทักษะการเขียนรายงานสรุปผลการศึกษาวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม



(ก7) ทักษะการสื่อสารและการประสานงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เรื่องการศึกษาวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม



(ข2) ความรู้เรื่องการจัดทำแผนศึกษาวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม



(ข3) ความรู้เรื่องการใช้แนวทาง วิธีการ และเครื่องมือ ในการสำรวจ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วม



(ข4) ความรู้เรื่องการบันทึกและตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูล ที่ได้จากการรวบรวมและวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม



(ข5) ความรู้เรื่องการเขียนรายงานสรุปผลการศึกษาวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



               (ก1) เอกสารรับรองประสบการณ์เกี่ยวกับการส่งเสริมการเกษตรไม่น้อยกว่า 3 ปีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือจากหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้



               (ก2) เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงานศึกษาวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม จากหัวหน้างาน/ผู้ประกอบการ หรือจากหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้



               (ก3) เอกสารรายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม



               (ก4) ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้วเกี่ยวกับการใช้แนวทาง วิธีการ และเครื่องมือในการศึกษาวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



               (ข1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา



               (ข2) หลักฐานรับรองการผ่านการฝึกอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



               เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้                                                                              



          (ง) วิธีการประเมิน          



               - ข้อสอบข้อเขียน



               - การสัมภาษณ์



               - ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว


15. ขอบเขต (Range Statement)

          การวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วมระดับชั้นคุณวุฒิที่ 4 เป็นการวางแผนที่ระบุแนวทาง วิธีการ และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน เข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการศึกษาวิเคราะห์ การนำแผนไปดำเนินงานจนได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิเคราะห์ชุมชน แล้วสรุปและรายงานผลการศึกษาอย่างถูกต้องและเชื่อถือได้



          (ก) คำแนะนำ



               (ก1) ผู้เข้ารับการประเมิน ต้องให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนวิเคราะห์ชุมชน ที่ระบุแนวทางและวิธีการที่ให้โอกาสแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน เข้ามีส่วนร่วมในขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการศึกษาวิเคราะห์



               (ก2) ผู้เข้ารับการประเมิน ต้องให้ความสำคัญกับการเลือกใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่เป้าหมาย



               (ก3) ผู้เข้ารับการประเมิน ต้องให้ความสำคัญกับการตรวจสอบ และทบทวนข้อมูลที่รวบรวมและบันทึกได้ทุกครั้ง และในทุกโอกาสที่กระทำได้ เพื่อความมั่นใจว่าข้อมูลมีความถูกต้องสมบูรณ์ และครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิเคราะห์ชุมชนแล้ว



               (ก4) ผู้เข้ารับการประเมิน ต้องให้ความสำคัญกับการรายงานสรุปผลการศึกษาวิเคราะห์ชุมชน

ตามรูปแบบที่กำหนดหรือที่ได้รับการยอมรับ และสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ได้จริง



               (ก5) ผู้เข้ารับการประเมิน ควรเก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ ทั้งบทสรุป รายงาน ข่าวสาร ภาพกิจกรรมของปฏิบัติ การศึกษาวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม เพื่อการอ้างอิงให้ได้รับความเชื่อถือเกี่ยวกับงานและผลงานที่ตนได้กระทำ มิใช่การกล่าวอ้างอย่างเลื่อนลอย ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือทางวิชาการและวิชาชีพ



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



               (ข1) การวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม



                      การวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม หมายถึง กระบวนการที่กระทำอย่างเป็นระบบมีการวางแผนและการจัดการที่ดี เพื่อรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล แปลความข้อมูล นำเสนอข้อมูลในสภาพความเป็นจริงของชุมชนในมิติต่าง ๆ ด้วยการเข้ามีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน เพื่อการเรียนรู้ร่วมกันและก้าวหน้า ทำให้ตระหนักและเข้าใจชุมชนอย่างกว้างขวาง ครอบคลุม และลึกซึ้ง ในประเด็นหรือหัวข้อเรื่อง คำถามหรือปัญหาที่สนใจจะหาคำตอบหรือสนใจศึกษา จนได้ผลสรุปตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนั้น



               (ข2) แนวทาง วิธีการ และเครื่องมือ ที่จะใช้ในการสำรวจ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วม



                      แนวทาง วิธีการ และเครื่องมือ ที่จะใช้ในการสำรวจ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมหมายถึง แนวทาง วิธีการ และเครื่องมือ ที่จะใช้ในการสำรวจชุมชน ด้วยการเข้ามีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน ในกระบวนการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการแปลความข้อมูล และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล จนได้ข้อมูลครบถ้วนเสร็จสิ้นตามวัตถุประสงค์ ซึ่งแนวทาง วิธีการ

และเครื่องมือดังกล่าว ต้องกำหนดให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย และพื้นที่เป้าหมาย



                      แนวทางและวิธีการพื้นฐานที่ใช้ในการสำรวจชุมชน เช่น การจัดการประชุมทั่วไปหรือเวทีชาวบ้านหรือเวทีประชาคม (Meeting) การสังเกตการณ์ (Observation) การสัมภาษณ์ผู้รู้ (Key Informant Interview: KII) การจัดกลุ่มเสวนา (Focus Group Discussion/Dialogue: FGD) และการสัมภาษณ์แบบ

กึ่งมีโครงสร้าง (Semi-structured Interview: SSI) เป็นต้น



                      เครื่องมือใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ชุมชน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์โดยเฉพาะ ยกตัวอย่าง



                      (1) เพื่อทราบสภาพทั่วไปของชุมชนเป้าหมายเครื่องมือที่มีให้เลือกใช้ เช่น การทบทวนข้อมูลทุติยภูมิ การบันทึกประวัติของหมู่บ้าน การทำแผนที่หมู่บ้านและทรัพยากร การเดินไปรอบ ๆ หมู่บ้านกับผู้นำหมู่บ้านและชาวบ้าน เป็นต้น



                      (2) เพื่อทราบสภาพของหมู่บ้านและครัวเรือนในมิติต่าง ๆ เครื่องมือที่มีให้เลือกใช้ เช่น การทำแผนที่ความเคลื่อนไหวของคนในหมู่บ้าน การทำแผนภาพสถาบัน และความสัมพันธ์ของสถาบันในหมู่บ้าน

การทำแผนภาพการใช้ชีวิตประจำวันของครัวเรือน การทำแผนภาพ การวิเคราะห์การครองชีพของครัวเรือน การจัดอันดับฐานะความเป็นอยู่ของครัวเรือนในหมู่บ้าน เป็นต้น



                      (3) เพื่อทราบสภาพการทำการเกษตรของชุมชน เครื่องมือที่มีให้เลือกใช้ เช่น การทำปฏิทินฤดูกาล ปฏิทินการเพาะปลูก ปฏิทินการเลี้ยงสัตว์ ปฏิทินการทำประมง/เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นต้น



                      (4) เพื่อทราบปัญหาการทำกินในชุมชน เครื่องมือที่มีให้เลือกใช้ เช่น การทำต้นไม้ปัญหาการทำก้างปลา เป็นต้น



                      (5) เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกชุมชน การทำ TOWS Matrix เพื่อจัดวางยุทธศาสตร์ชุมชน



                      แนวทาง วิธีการ และเครื่องมือที่ยกมาแสดงข้างต้น และที่มิได้ยกมาแสดงในที่นี้ เป็นการมุ่งเน้นวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ความรู้ความจริงของปรากฏการณ์หรือเรื่องใด ๆ ที่ศึกษา และความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ หรือเรื่องนั้นกับสภาพแวดล้อมตามความเป็นจริงในธรรมชาติในทุกมิติ มีการวิเคราะห์เชิงปริมาณเข้าประกอบตามวัตถุประสงค์ และความจำเป็นแก่กรณี ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรจึงต้องสนใจใฝ่ศึกษาในรายละเอียด และเรียนรู้วัตถุประสงค์เฉพาะ หลักและวิธีปฏิบัติในขั้นตอนต่าง ๆ ของเครื่องมือนั้น ๆ จนเข้าใจ และทำได้อย่างชำนิชำนาญ จึงจะทำให้การนำแนวทาง วิธีการ และเครื่องมือไปใช้ได้ผลดีและราบรื่น สามารถแปลความหรือตีความหมายข้อมูล สรุปผลได้อย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ



               (ข3) แผนการวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม



                      แผนการวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม หมายถึง เอกสารที่แสดงถึงวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ชุมชน และรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ที่จะกระทำ โดยระบุแนวทาง วิธีการ และเครื่องมือที่จะใช้ในการวิเคราะห์ชุมชน ด้วยการเข้ามีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน ในขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการศึกษาวิเคราะห์และด้วยการทำงานเป็นคณะหรือเป็นทีมสำรวจ เพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ชุมชน รูปแบบของแผนประกอบด้วย (ไม่ได้เรียงลำดับ และองค์ประกอบอาจเพิ่มหรือลดได้) ชื่อแผน ชื่อผู้รับผิดชอบแผน ชื่อหน่วยงานที่สังกัด หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ ผลที่คาดว่าจะได้รับ ขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรมที่จะกระทำ วิธีการดำเนินงาน แนวทาง วิธีการ และเครื่องมือที่จะใช้ สถานที่หรือพื้นที่เป้าหมาย ทรัพยากรที่ต้องการใช้ งบประมาณ ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในการดำเนินงาน การบริหารจัดการความเสี่ยง ฯลฯ ผู้ปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตร พึงจัดทำแผนตามรูปแบบ และข้อกำหนดของหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่ให้ทุน แล้วนำเสนอต่อบุคคลหรือหน่วยงาน เพื่อขอรับความเห็นชอบต่อไป



               (ข4) ศึกษาวิเคราะห์ชุมชน



                      ศึกษาวิเคราะห์ชุมชน หมายถึง การนำแผนการวิเคราะห์ชุมชนมาดำเนินการ หรือปฏิบัติการอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และสอดคล้องกับแผนงานที่กำหนด อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ชุมชนมีลักษณะของความยืดหยุ่นให้เหมาะสมแก่สถานการณ์ เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาวบ้าน

เป็นความพยายามเข้าใจถึงวิธีการคิดและการกระทำ ตลอดจนภูมิปัญญาชาวบ้าน ดังนั้น แผนการทำงานที่วางไว้ในชั้นต้น จึงสามารถทบทวน ปรับเปลี่ยน เพิ่มหรือลดรายละเอียดได้ในระหว่างปฏิบัติงานภาคสนาม เพื่อให้เหมาะกับเงื่อนไข และสภาพความเป็นจริงของชุมชน และเหมาะกับกลุ่มคนที่เข้าร่วมกิจกรรมการวิเคราะห์ชุมชนด้วย



                      ในการดำเนินการศึกษา สำรวจและวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม หากกระทำได้ควรจัดทีมงานที่ ประกอบด้วยผู้มีความชำนาญเฉพาะทางในสาขาต่าง ๆ เข้าร่วมกันทำงาน โดยใช้เทคนิควิชาการเฉพาะด้านเข้าร่วมกัน และสนับสนุนการประสานงานกับนักวิชาการจากภายนอกเพื่อเข้ามาสนับสนุนในพื้นที่ (หากต้องการ) ทีมงานจะวางตัวคนทำงานในแต่ละส่วน มี (1) ผู้พูดคุยซักถามชาวบ้าน (2) ผู้คอยจดประเด็นที่ได้เรียนรู้ลงบนกระดาษ ขนาดโปสเตอร์หรือใหญ่กว่า (ที่ชาวบ้านจะเห็นและอ่านได้ง่าย) (3) ผู้จดบันทึกรายละเอียดในสมุดหรือกระดาษบันทึก และ (4) ผู้อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ผู้พูดคุยซักถามชาวบ้านนั้น ปกติจะผลัดเปลี่ยนเวียนกันตามความเชี่ยวชาญของแต่ละคนในทีมโดยกำหนดวิธีปฏิบัติว่าใครจะถามเรื่องอะไร แต่ละหัวข้อหลักให้มีคนถามคนเดียวและถามทีละประเด็น พยายามซักหรือตะล่อมให้ได้ข้อมูลชัดเจนทีละประเด็น อย่าถามคละหรือวกวน อย่าทำงานอย่างอื่นในขณะซักถามพูดคุยกับชาวบ้าน คนอื่น ๆ ที่ไม่ได้ถามก็จะช่วยบันทึก หรือทำงานอย่างอื่นตามที่จะตกลงกัน



               (ข5 ) บันทึกข้อมูล



                      บันทึกข้อมูล หมายถึง การบันทึกข้อมูลที่รวบรวมได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามแผนงานที่กำหนด การบันทึกข้อมูลในการสำรวจชุมชน ต้องจัดข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง

จากสิ่งที่สังเกตได้ จากเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และความคิดเห็นของผู้บันทึก แยกไว้เป็นสัดเป็นส่วน ไม่ให้ปะปนกัน นอกจากนี้จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยนำเสนอข้อมูลเข้าที่ประชุมหรือเวทีชาวบ้าน เพื่อตรวจสอบกับที่ประชุมให้มั่นใจว่าข้อมูลตรงตามความเป็นจริง และครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว จึงจะเดินทางออกจากชุมชนหลังเสร็จสิ้นภารกิจในแต่ละวัน



               (ข6) วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้



                      การวิเคราะห์ข้อมูลในการสำรวจชุมชน โดยปกติจะกระทำไปในช่วงเดียวกับการรวบรวมข้อมูล และมีการตีความหมายข้อมูลที่ได้ กับตรวจสอบกับชาวบ้าน หลังกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละวัน

ว่าถูกต้องตรงตามความเป็นจริงแล้ว หากมีการวิเคราะห์ภายหลังการสำรวจ จะนำข้อมูลที่บันทึกได้มาจัดกระทำในรูปแบบที่เหมาะสมแก่การวิเคราะห์ ซึ่งโดยปกติในการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ไม่จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ



               (ข7) สรุปผลการดำเนินงาน



                      สรุปผลการดำเนินงาน หมายถึง การสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ตอบโจทย์หรือประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วน ตรงตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิเคราะห์ชุมชน



               (ข8) เขียนรายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ชุมชน



                      เขียนรายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ชุมชน หมายถึง การเขียนรายงานสรุปผลที่ชัดเจน ตรงตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิเคราะห์ชุมชน และในขอบเขตที่ศึกษาได้ครบถ้วน ถูกต้อง เชื่อถือได้ และมีองค์ประกอบตามที่หน่วยงานกำหนด (หากมี) การเขียนสรุปผลที่ดีควรเขียนบอกเล่าในรูปประโยคสั้น ๆ แจ่มชัด รัดกุม ตอบโจทย์หรือปัญหาที่กำหนด และตรงตามความเป็นจริง นอกจากนี้ ควรตรวจสอบความถูกต้องในการพิมพ์ การสะกดการันต์ การเว้นวรรคและติดกันให้ถูกต้องด้วย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          18.1 ข้อสอบข้อเขียนปรนัย 4 ตัวเลือก                                                              



          18.2 แบบประเมินผลการสัมภาษณ์



          18.3  แบบประเมินผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว



ยินดีต้อนรับ