หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการความรู้ด้านการเกษตร

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-RENY-311A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการความรู้ด้านการเกษตร

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้อธิบายถึง ความสามารถในการวางแผนการจัดการความรู้ที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้แผนการจัดการความรู้ ภายใต้การศึกษาวิเคราะห์ชุมชนอย่างเป็นระบบ เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของชุมชน สามารถนำไปดำเนินการจัดการความรู้ ที่เป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นระบบ ตลอดจนสามารถสรุปและรายงานผลการจัดการความรู้ ให้เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด มีข้อมูลถูกต้องครบถ้วน เชื่อถือได้และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          นักส่งเสริมการเกษตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B121 วางแผนการจัดการความรู้ 1. ศึกษา สำรวจ และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องได้ครบถ้วนเชื่อถือได้ ถูกต้องตามข้อกำหนด B121.01 93330
B121 วางแผนการจัดการความรู้ 2. เขียนแผนการจัดการความรู้ได้ B121.02 93331
B122 จัดการความรู้ 1. จัดการความรู้ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน สอดคล้องกับแผนงานที่กำหนด B122.01 93332
B122 จัดการความรู้ 2. บันทึกผลการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง และครบถ้วนตามแผนงานที่กำหนด B122.02 93333
B123 รายงานผลการจัดการความรู้ 1. จัดหมวดหมู่ข้อมูลที่ได้จากการจัดการความรู้อย่างรอบคอบตรงตามความเป็นจริง และถูกต้องตามข้อกำหนด B123.01 93334
B123 รายงานผลการจัดการความรู้ 2. สรุปผลการจัดการความรู้ได้ถูกต้อง ครบถ้วน B123.02 93335
B123 รายงานผลการจัดการความรู้ 3. เขียนรายงานผลการจัดการความรู้ได้ครบถ้วน ถูกต้อง B123.03 93336

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • หลักการส่งเสริมการเกษตร

  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเกษตร


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) การสื่อสาร



(ก2) การประสานงาน



(ก3) การจัดกระบวนการเรียนรู้ (facilitator)



(ก4) การเป็นวิทยากรกระบวนการ



(ก5) การคิดวิเคราะห์/สังเคราะห์



(ก6) การใช้เครื่องมือการจัดการความรู้



(ก7) การเขียนรายงานผลการจัดการความรู้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) เครื่องมือการจัดการความรู้



(ข2) หลักการประสานงาน



(ข3) หลักการและเทคนิคการจัดเวทีชุมชน



(ข4) เครื่องมือในการทำงานกับชุมชน



(ข5) การถอดบทเรียน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



               (ก1) เอกสารรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล



               (ก2) เอกสารสรุปรายงานผลการสำรวจข้อมูล



               (ก3) แผนงานโครงการจัดการองค์ความรู้



               (ก4) บันทึก/รายงานการปฏิบัติงาน



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



               (ข1) ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง



               (ข2) หลักการและวิธีการรวบรวมข้อมูล



               (ข3) หลักการและวิธีการ วิเคราะห์และสรุปรายงาน



               (ข4) การใช้คอมพิวเตอร์ในการสืบค้น วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปจัดทำเอกสารรายงาน



               (ข5) การบันทึก/รายงานการปฏิบัติงาน



               (ข6) การวางแผนการจัดการความรู้



               (ข7) การเขียนแผนงานโครงการจัดการความรู้



               (ข8) การเขียนบันทึก/รายงานการปฏิบัติงาน



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



               เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้



          (ง) วิธีการประเมิน



               - ข้อสอบข้อเขียน



               - การสัมภาษณ์



               - พิจารณาหลักฐานจากผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ



               (ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องสามารถ



                      1) กำหนดแผนการจัดการความรู้ได้อย่างถูกต้อง และเป็นระบบ ภายใต้การศึกษาวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม



                      2) ดำเนินการจัดการความรู้ได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนและกระบวนการจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน



                      3) รายงานผลการจัดการความรู้เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด มีข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน เชื่อถือได้และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง



               (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบ จะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามหน่วยสมรรถนะ



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



               (ข1) ความหมายของการจัดการความรู้



                      การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการในการบริหารจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การระบุความรู้ที่มีอยู่ในองค์การ การจัดเก็บรวบรวมความรู้จากบุคลากร การจัดหมวดหมู่ความรู้ การเผยแพร่ความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมในการเรียนรู้ จนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้และต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในการทำงาน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของงานหรือเป้าหมายของหน่วยงาน



               (ข2) รูปแบบการจัดการความรู้



                      รูปแบบการจัดการความรู้ที่ทำให้องค์กรสามารถสร้าง และจัดการความรู้ภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้



                      1) การค้นหาความรู้ (Knowledge Identification)



                          เป็นการค้นหาว่าองค์กรของเรามีความรู้อะไรอยู่บ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใครและความรู้อะไรที่องค์กรจำเป็นต้องมี เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายการค้นหาความรู้ สามารถใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Knowledge mapping หรือการทำแผนที่ความรู้เพื่อจัดอันดับความสำคัญ ทำให้มองเห็นภาพรวมของคลังความรู้ขององค์กร บุคลากรทราบว่ามีความรู้อะไร และสามารถหาได้จากที่ไหน นอกจากนี้ยังใช้เป็นพื้นฐานในการต่อยอดความรู้ในเรื่องต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ



                      2) การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition)



                          องค์กรจะต้องมีวิธีการดึงดูดความรู้จากแหล่งต่าง ๆ รวบรวมไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาให้เหมาะสม มีการสร้างความรู้ใหม่ การนำความรู้จากภายนอกมาใช้ มีการพิจารณากำจัดความรู้ที่ไม่ได้ใช้ หรือล้าสมัยทิ้งไป เพื่อประหยัดทรัพยากรในการจัดเก็บ หัวใจสำคัญคือ การกำหนดเนื้อหาของความรู้ที่ต้องการและแสวงหาความรู้ดังกล่าวให้ได้



                      3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)



                          องค์กรต้องจัดความรู้ที่มีอยู่ให้เป็นระบบ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ และเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว มีการแบ่งประเภทความรู้อย่างเหมาะสม ตามลักษณะของงานวางโครงสร้างของความรู้ขององค์กร



                      4) การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)



                          ต้องมีการประมวลความรู้ให้อยู่ในรูปแบบ และภาษาที่เข้าใจง่ายใช้ภาษาเดียวกันปรับปรุงเนื้อหาให้มีความสมบูรณ์สอดคล้องต้องการของผู้ใช้



                      5) การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)



                          ความรู้ที่ได้มานั้นต้องถูกนำออกมาใช้ประโยชน์ การเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้นั้นสามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ



                          - การป้อนความรู้ (Push) การส่งข้อมูลความรู้ให้กับผู้รับ โดยผู้รับไม่ได้ร้องขอ หรือเรียกว่า Supply based เช่น หนังสือเวียน การฝึกอบรม



                          - การให้โอกาสเลือกใช้ความรู้ (Pull) คือการที่ผู้รับสามารถเลือกใช้แต่เฉพาะความรู้ที่ตนต้องการ ซึ่งช่วยให้ลดปัญหาการได้รับข้อมูลที่ไม่ต้องการใช้ เรียกอีกอย่างว่า Demand-based เช่น

Web board



                      6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)



องค์กรสามารถนำเครื่องมือในการจัดการความรู้มาใช้ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งใช้หลักการของ SECI ความรู้ชัดแจ้งสามารถนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ เพื่อช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ได้อย่างรวดเร็ว แต่ความรู้ฝังลึกนั้นเกิดการแลกเปลี่ยนได้ยาก ขึ้นอยู่กับทัศนคติ และวัฒนธรรมขององค์กร และต้องเลือกใช้วิธีให้เหมาะสม



                      7) การเรียนรู้ (Learning)



การที่คนในองค์กรสามารถเรียนรู้จากสิ่งต่าง ๆ และสามารถนำความรู้นั้นไปใช้ตัดสินใจในการทำงานโดยการเรียนรู้ และสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เป็นการเพิ่มพูนความรู้ขององค์กรให้มากขึ้นเรื่อย ๆ และถูกนำไปใช้สร้างความรู้



               (ข3) แนวทางการจัดทำแผนการจัดการความรู้



                      แนวทางการจัดทำแผนการจัดการความรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตร จะมีความแตกต่างกันในแต่ละปี ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ นโยบายของผู้บริหาร และภารกิจหน้าที่ แต่การจัดการความรู้ได้นำนโยบาย/แนวทาง และยุทธศาสตร์ขององค์กรมาเป็นเป้าหมายในการปฏิบัติงาน ส่วนการกำหนดแนวทางในการจัดการความรู้ได้กรอบแนวคิดในการใชเครื่องมือ KM ดังนี้



                      1) ส่วนราชการทบทวนภารกิจหน้าที่ นโยบาย/แนวทางและยุทธศาสตร์ แลองค์ความรู้ที่สามารถตอบรับประเด็นยุทธศาสตร์/บทบาท/ภารกิจ



                      2) การจัดทำแผนการจัดการความรู้



                          2.1) กำหนดองค์ความรู้ที่จำเป็นตามภารกิจหน้าที่ นโยบาย/แนวทางและยุทธศาสตร์

โดยนำข้อมูลที่ระบุไว้ในคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณในแต่ละปีมาดำเนินการ



                          2.2) เลือกองค์ความรู้ที่จำเป็นมาจัดทำแผนการจัดการความรู้ และไม่ควรซ้ำกับองค์ความรู้ที่เคยเลือกมาจัดทำแผนการจัดการความรู้ในปีที่ผ่านมาแล้ว



                          2.3) เลือกตัวชี้วัด (KPI) เพื่อวัดผลการจัดการความรู้ อย่างน้อย 1 ตัวชี้วัด



                          2.4) ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน (CEO) และผู้บริหารสูงสุดด้านการจัดการความรู้ (CKO) ของหน่วยงานทบทวนความถูกต้อง และความเหมาะสมพร้อมลงนามรับรองเพื่อแสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารได้ทราบและสนับสนุนการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้



                          2.5) การจัดทำและปฏิบัติตามแผนการจัดการความรู้ ควรมีรายละเอียดเกี่ยวกับ กิจกรรมการจัดการความรู้ต่าง ๆ ตามขั้นตอนการจัดการความรู้อย่างน้อย 7 ขั้นตอนหลัก และกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง 6 องค์ประกอบมาบูรณาการร่วมกัน เพื่อส่งเสริมและผลักดันความเข้าใจในการจัดทำแผนการจัดการความรู้ให้มากยิ่งขึ้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          18.1 ข้อสอบข้อเขียนปรนัย 4 ตัวเลือก                                                              



          18.2 แบบประเมินผลการสัมภาษณ์



          18.3  แบบประเมินผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว



ยินดีต้อนรับ