หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการของเสียทางการเกษตร

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-IHWC-306A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการของเสียทางการเกษตร

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

611 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชสวนและพืชไร่เพื่อการค้าขาย



612 ผู้เลี้ยงสัตว์



613 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงสัตว์      



622 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงล่าสัตว์และวางกับดักสัตว์ต่าง ๆ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียทางการเกษตร โดยมีการศึกษาวิธีการพร้อมการประเมินสถานการณ์การจัดการของเสียทางการเกษตร วิธีการบำบัด/กำจัดของเสียทางการเกษตรที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน มีการวางแผนการดำเนินการจัดการของเสียทางการเกษตรที่สามารถนำไปใช้ได้จริง พร้อมทั้งประเมินผลการจัดการของเสียทางการเกษตร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
 สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม สาขาเกษตรกรปราดเปรื่อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 โดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C521 วางแผนการจัดการของเสียทางการเกษตร 1. ศึกษาวิธีการในการจัดการของเสียทางการเกษตรที่ถูกต้อง C521.01 93289
C521 วางแผนการจัดการของเสียทางการเกษตร 2. ประเมินสถานการณ์การจัดการของเสียทางการเกษตรที่เป็นปัจจุบัน C521.02 93290
C521 วางแผนการจัดการของเสียทางการเกษตร 3. วางแผนการดำเนินการจัดการของเสียทางการเกษตรที่สามารถนำไปใช้ได้จริง C521.03 93291
C522 ดำเนินการบำบัด/กำจัดของเสียทางการเกษตร 1. เตรียมของเสียก่อนการบำบัด/กำจัด C522.01 93292
C522 ดำเนินการบำบัด/กำจัดของเสียทางการเกษตร 2. ดำเนินการบำบัด/กำจัดของเสียทางการเกษตรอย่างเป็นระบบตามแผนที่ได้วางไว้ C522.02 93293
C523 ประเมินผลการจัดการของเสียทางการเกษตร 1. วางแผนการประเมินผลการจัดการของ เสียทางการเกษตร C523.01 93294
C523 ประเมินผลการจัดการของเสียทางการเกษตร 2. ดําเนินการประเมินผลการจัดการของเสีย ทางการเกษตร C523.02 145917

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะการสืบค้นความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง



(ก2) ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) แนวทางการจัดการของเสียทางการเกษตร



(ข2) การจำแนกของเสียทางการเกษตร



(ข3) การประเมินผล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          (ก1) แผนการดำเนินการบริหารจัดการของเสียทางการเกษตร 



          (ก2) แผนการดำเนินการนำของเสียทางการเกษตรไปใช้ประโยชน์    



          (ก3) ภาพกิจกรรมการดำเนินการตามกิจกรรมต่าง ๆ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          (ข1) สามารถอธิบายแนวทางการบริหารจัดการของเสียทางการเกษตรได้



          (ข2) สามารถอธิบายวิธีการบำบัด/กำจัดของเสียทางการเกษตรที่ถูกต้องและเป็นระบบ



          (ข3) สามารถอธิบายแนวทางการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน        



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้      



(ง) วิธีการประเมิน



          - การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น



          - การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก



          - การสัมภาษณ์ การประเมินทักษะการปฏิบัติงานจะควบคู่ไปกับการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          (ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีตระหนักถึงการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ทรัพยากรเกษตรและสิ่งแวดล้อมสามารถสร้างและพัฒนากิจกรรมให้มีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถควบคุมและเผยแพร่กิจกรรมให้เหมาะสม



          (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้       



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          - ของเสียทางการเกษตรคือของเสียที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรทุกกิจกรรมซึ่งประกอบไปด้วยสารที่มีอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมซึ่งมีความเข้มข้นเกินกว่าค่ามาตรฐานน้ำทิ้งอุตสาหกรรมหากขาดการจัดการที่เหมาะสมแล้วจะเกิดปัญหาต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้ของเสียอันตรายทางการเกษตรเช่นภาชนะบรรจุสารกำจัดแมลงและสารกำจัดวัชพืชซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายสิ่งมีชีวิต



          - การดำเนินการบำบัด/กำจัดเป็นการศึกษาวิธีการ /รูปแบบ/ขั้นตอนในการบำบัด/กำจัดของเสียทางการเกษตรที่ถูกต้องพิจารณาว่าสิ่งไหนเป็นของเสียทางการเกษตรที่อาจจะส่งผลอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมพร้อมดำเนินการจัดการ/คัดแยกของเสียที่ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะด้านในการกำจัดหรือกำจัดโดยวิธีพิเศษได้แก่สารเคมีทางการเกษตรน้ำเสียจากกการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรเป็นต้นซึ่งจะพบว่าของเสียบางประเภทสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกซึ่งวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรบางประเภทเป็นแหล่งเก็บกักพลังงานจากธรรมชาติรูปแบบหนึ่งและสามารถนำพลังงานที่เก็บไว้มาผลิตพลังงานได้วัสดุหรือสารอินทรีย์ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นพลังงานได้เช่นเศษไม้ปลายไม้จากอุตสาหกรรมไม้มูลสัตว์ของเสียจากโรงงานแปรรูปทางการเกษตรและของเสียจากชุมชนเป็นต้น



          - ประเมินผลการจัดการของเสียทางการเกษตร เป็นการประเมินผลการดำเนินการในการบำบัด/กำจัดของเสียทางการเกษตรว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่โดยการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับแผนที่กำหนดไว้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือในการประเมินการวางแผนการจัดการของเสียทางการเกษตร



1) แบบสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก



2) การสอบสัมภาษณ์



18.2 เครื่องมือในการประเมินการดำเนินการบำบัด/กำจัดของเสียทางการเกษตร



1) แบบสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก      



2) การสอบสัมภาษณ์ 



18.3 เครื่องมือในการประเมินการประเมินผลการจัดการของเสียทางการเกษตร



1) แบบสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก     



2) การสอบสัมภาษณ์ 



3) พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ