หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาความรู้ใหม่ นวัตกรรม จากภูมิปัญญาเดิม

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-LNNJ-304A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาความรู้ใหม่ นวัตกรรม จากภูมิปัญญาเดิม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

611 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชสวนและพืชไร่เพื่อการค้าขาย



612 ผู้เลี้ยงสัตว์



613 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงสัตว์      



622 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงล่าสัตว์และวางกับดักสัตว์ต่าง ๆ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรู้ใหม่นวัตกรรมจากภูมิปัญญาเดิม ต่อยอดความรู้จากฐานความรู้เดิมหรือจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างต่อเนื่อง และสามารถนำไปใช้ได้จริง โดยความรู้ใหม่ที่ได้ต้องได้รับมาตรฐานที่รับรองผลงานของเกษตรกร รวมถึงการจัดหมวดหมู่องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมทางการเกษตรเพื่อนำมารวบรวมและจัดแบ่งข้อมูลให้เป็นกลุ่มอย่างเป็นระบบและจัดการแหล่งข้อมูลให้ถูกเก็บรวบรวมไว้ที่ศูนย์กลางเพื่อตอบสนองต่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม สาขาเกษตรกรปราดเปรื่อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
มาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C421 ต่อยอดความรู้จากฐานความรู้เดิม 1. คิดค้นความรู้ใหม่ที่ต่อยอดจากของเดิม C421.01 93272
C421 ต่อยอดความรู้จากฐานความรู้เดิม 2. วิเคราะห์ความรู้และข้อมูลคิดอย่างเป็นระบบ C421.02 93273
C421 ต่อยอดความรู้จากฐานความรู้เดิม 3. ผ่านการรับมาตรฐานที่รับรองผลงานของเกษตรกร C421.03 93274
C422 จัดหมวดหมู่องค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมทางการเกษตร 1. ศึกษาข้อมูลในการจัดทำฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ C422.01 93275
C422 จัดหมวดหมู่องค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมทางการเกษตร 2. จัดการแหล่งข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ที่ศูนย์กลาง C422.02 93276

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะการตัดสินใจ 



(ก2) ทักษะการสื่อสาร



(ก3) ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ



(ก4) ทักษะการใช้ภาษา 



(ก5)  ทักษะการใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) วิธีการในการประมวลความรู้



(ข2) การวิเคราะห์ข้อมูล



(ข3)  การจัดการความรู้ (KM)



(ข4) การจำแนกข้อมูล



(ข5) หลักการในการถ่ายทอดความรู้



(ข6) การสืบค้นช่องทางในการเข้าถึงความรู้



(ข7) รูปแบบในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้



(ข8) การพัฒนาองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น



(ข9) การพัฒนาองค์ความรู้สู่การต่อยอด



(ข10) ประเภทขององค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น



(ข11) หลักการจัดการข้อมูล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          (ก1) แบบบันทึกผลความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง



          (ก2) แบบบันทึกผลการจัดหาความรู้ใหม่เพิ่มเติมจากฐานความรู้เดิม



          (ก3) ภาพกิจกรรมการจัดหมวดหมู่องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมทางการเกษตร



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          (ข1) รายงานผลความรู้ใหม่ที่มาจากฐานความรู้เดิมที่ผ่านการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ



          (ข2) สามารถอธิบายวิธีการจัดหมวดหมู่องค์ความรู้ได้อย่างชัดเจน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้      



(ง) วิธีการประเมิน




  • การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  • การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • การสัมภาษณ์ การประเมินทักษะการปฏิบัติงานจะควบคู่ไปกับการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน  (Port Folio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          (ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ต้องสามารถประมวลและกลั่นกรองความรู้ได้ถูกต้อง มีช่องทางให้ผู้อื่นเข้าถึงองค์ความรู้และภูมิปัญญาที่หลากหลาย สามารถเผยแพร่ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในและภายนอก



          (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้       



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  • ต่อยอดความรู้คือ การคิดค้นความรู้ใหม่เพิ่มเติมบนฐานความรู้เดิมที่มี โดยต้องผ่านการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและความรู้ใหม่ที่ต่อยอดควรได้รับมาตรฐานที่รับรองผลงานของเกษตรกร

  • จัดหมวดหมู่ คือ การศึกษาข้อมูลองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมทางการเกษตร เพื่อนำมารวบรวมและจัดแบ่งข้อมูลให้เป็นกลุ่มอย่างเป็นระบบและจัดการแหล่งข้อมูลให้ถูกเก็บรวบรวมไว้ที่ศูนย์กลางเพื่อตอบสนองต่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือในการประเมินการต่อยอดความรู้จากฐานความรู้เดิม



1) แบบสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก



2) การสอบสัมภาษณ์



3) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



18.2 เครื่องมือในการประเมินการจัดหมวดหมู่องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมทางการเกษตร



1) แบบสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก     



2) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)         



ยินดีต้อนรับ