หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการผลผลิตทางเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว/การเลี้ยง

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-CUGA-299A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการผลผลิตทางเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว/การเลี้ยง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

611 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชสวนและพืชไร่เพื่อการค้าขาย



612 ผู้เลี้ยงสัตว์



613 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงสัตว์      



622 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงล่าสัตว์และวางกับดักสัตว์ต่าง ๆ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะที่ต้องการในการตัดแต่งและทำความสะอาดผลผลิตให้มีความสวยงาม สะอาดไม่มีเศษฝุ่น เศษกิ่งไม้หรือส่วนที่ไม่ใช่ผลผลิตติดอยู่ โดยมีการคัดเลือกและคัดขนาดผลผลิตได้ตรงตามมาตรฐาน และมีการบรรจุหีบห่อผลผลิตได้อย่างเหมาะสม สวยงาม เป็นที่น่าสนใจต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมีการเก็บรักษาผลผลิตให้คงคุณภาพ และมีการขนส่งที่เหมาะสมกับสินค้าเกษตร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม สาขาเกษตรกรปราดเปรื่อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C211 ตัดแต่งผลผลิตสำหรับการจัดจำหน่าย 1. ผลผลิตมีการตัดแต่งสวยงาม C211.01 93213
C211 ตัดแต่งผลผลิตสำหรับการจัดจำหน่าย 2. กำหนดมาตรฐานการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว C211.02 93214
C212 ทำความสะอาดผลผลิตทางการเกษตรพร้อมจำหน่าย 1. คัดเลือกวิธีการทำความสะอาดผลผลิตที่มีมาตรฐาน C212.01 93215
C212 ทำความสะอาดผลผลิตทางการเกษตรพร้อมจำหน่าย 2. ดำเนินการทำความสะอาดผลผลิตเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตรงตามมาตรฐาน C212.02 93216
C213 คัดเลือกผลผลิตทางการเกษตร 1. คัดเลือกวิธีการคัดเลือกและคัดขนาดผลผลิตทางการเกษตรที่มีมาตรฐาน C213.01 93217
C213 คัดเลือกผลผลิตทางการเกษตร 2. ดำเนินการคัดเลือกและคัดขนาดผลผลิตทางการเกษตรตรงตามมาตรฐาน C213.02 93218
C214 บรรจุหีบห่อผลผลิตทางการเกษตร 1. บรรจุภัณฑ์ที่บรรจุผลผลิตทางการเกษตรต้องมีความสวยงามเหมาะสมและเป็นที่น่าสนใจ C214.01 93219
C214 บรรจุหีบห่อผลผลิตทางการเกษตร 2. บรรจุภัณฑ์ที่บรรจุผลผลิตทางการเกษตรตรงตามมาตรฐาน C214.02 93220
C215 เก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตร 1. กำหนดวิธีการเก็บรักษาผลผลิตที่ระบบและคงคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรไว้ C215.01 93221
C215 เก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตร 2. กำหนดวิธีการเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตรที่ตรงตามมาตรฐาน C215.02 93222
C216 ขนส่งผลผลิตสินค้าเกษตร 1. การขนส่งผลผลิตสินค้าเกษตรที่มีความเหมาะสมปลอดภัยและคงคุณภาพกับสินค้า C216.01 93223
C216 ขนส่งผลผลิตสินค้าเกษตร 2. การขนส่งผลผลิตสินค้าเกษตรที่มีมาตรฐานการขนส่งผลผลิต C216.02 93224

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะในการตัดแต่ง        



(ก2) ทักษะการใช้เครื่องมือทำความสะอาด



(ก3) ทักษะการสังเกตถึงความผิดปกติของผลผลิต/ผลิตภัณฑ์        



(ก4) ทักษะในการคัดเลือกผลผลิต/ผลิตภัณฑ์



(ก5) ทักษะในการคิดวิเคราะห์  



(ก6) ทักษะการบรรจุหีบห่อ     



(ก7) ทักษะด้านการใช้อุปกรณ์ในการเก็บรักษา



(ก8) ทักษะด้านการใช้อุปกรณ์ในการเก็บรักษาและขนส่ง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) เทคนิคการตัดแต่งผลผลิต/ผลิตภัณฑ์เพื่อการตลาด



(ข2) เทคนิคการทำความสะอาดผลผลิต/ผลิตภัณฑ์เพื่อการตลาด    



(ข3) เทคนิคการใช้เครื่องมือคัดแยกผลผลิต/ผลิตภัณฑ์



(ข4) วิธีการคัดเลือกผลผลิต/ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด



(ข5) ประเภทและลักษณะในการบรรจุหีบห่อ



(ข6) วิธีการเก็บรักษาผลผลิต/ผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท/ชนิด        



(ข7) วิธีการเก็บรักษาผลผลิตและการขนส่งผลผลิต


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          (ก1) การตัดแต่งและทำความสะอาดได้อย่างถูกต้องและสวยงามเพื่อที่จะสามารถนำไปแปรรูปหรือบรรจุหีบห่อได้ในขั้นตอนถัดไป



          (ก2) สามารถคัดเลือกผลผลิตได้อย่างแม่นยำ



          (ก3) การบรรจุหีบห่อสามารถเก็บผลผลิตได้อย่างมิดชิด



          (ก4) ผลผลิตที่เก็บรักษาคงสภาพได้ไม่เน่าเสีย



          (ก5) ผลผลิตปลอดภัยและคงคุณภาพ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          (ข1) วิธีการตัดแต่งและทำความสะอาดสามารถนำไปใช้ได้จริงและมีประสิทธิภาพสูงสุดมีข้อผิดพลาดน้อย



          (ข2) การกำหนดวิธีการคัดเลือกสามารถนำไปใช้ในฟาร์มได้จริง       



          (ข3) การบรรจุหีบห่อสามารถนำไปใช้ในฟาร์มได้จริง



          (ข4) การเก็บรักษาผลผลิตทำได้อย่างสมบูรณ์ผลผลิตไม่เน่าเสียและผลผลิตพร้อมที่จะนำออกไปจำหน่าย



          (ข5) วิธีการขนส่งผลผลิตที่เป็นไปตามมาตรฐานการขนส่ง



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้      



(ง) วิธีการประเมิน



          - การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น



          - การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก การประเมินทักษะการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          (ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสามารถในการตัดแต่งทำความสะอาด คัดเลือก มีบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลผลิต เลือกใช้วิธีการเก็บรักษาผลผลิตที่ถูกต้อง และขนส่งผลผลิตได้ตรงตามมาตรฐาน



          (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          - ตัดแต่งผลผลิตสำหรับการจัดจำหน่าย คือ การนำเอาส่วนที่ไม่มีคุณภาพออกจากผลผลิต โดยใช้วิธีการตัด ตกแต่งผลผลิตให้อยู่ในสภาพที่สวยงาม ดูสะอาดน่ารับประทาน



          - ทำความสะอาดผลผลิตคือ การนำส่วนที่ปนเปื้อนมากับผลผลิตออกเช่นฝุ่นเชื้อโรคหนอนแมลงหรือสารเคมีต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดีขึ้นมองเห็นได้ชัดเจนดูสะอาดน่ารับประทานและไม่ทำให้ผลผลิตเสื่อมคุณภาพเร็ว



          - คัดเลือกผลผลิตคือ วิธีการเลือกผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพดีตรงตามความต้องการของตลาดเข้าสู่กระบวนการบรรจุหีบห่อ หรือกระบวนการแปรรูป      



          - บรรจุหีบห่อผลผลิตทางการเกษตรคือ การนำเอาวัสดุเช่นกระดาษพลาสติกแก้วโลหะไม้ประกอบเป็นภาชนะหุ้มห่อสินค้าเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยมีความแข็งแรงสวยงามได้สัดส่วนที่ถูกต้องสร้างภาพพจน์ที่ดี



          - เก็บรักษาผลผลิตคือ การดูแลผลผลิตทางการเกษตรให้อยู่ในสภาพสด ใหม่ พร้อมที่จะนำออกจำหน่ายสู่ผู้บริโภค โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ห้องที่ใช้ในการเก็บรักษาเป็นต้น 



          - ขนส่งผลผลิตคือ การเคลื่อนย้ายผลผลิตสินค้าเกษตรเพื่อนำไปจำหน่าย หรือนำไปแปรรูปโดยผลผลิตนั้น ๆ ต้องมีการเสียหายน้อยที่สุด และการขนส่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการตัดแต่งผลผลิตสำหรับการจัดจำหน่าย



1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



2) การสัมภาษณ์



3) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



18.2 เครื่องมือประเมินการทำความสะอาดผลผลิตทางการเกษตรพร้อมจำหน่าย



1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



2) การสัมภาษณ์



3) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



4) ปฏิบัติงานจริง



18.3 เครื่องมือประเมินการคัดเลือกผลผลิตทางการเกษตร



1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



2) การสัมภาษณ์



3) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



18.4 เครื่องมือประเมินการบรรจุหีบห่อผลผลิตทางการเกษตร         



1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



2) การสัมภาษณ์



3) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)      



18.5 เครื่องมือประเมินการเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตร  



1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



2) การสัมภาษณ์



3) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



18.6 เครื่องมือประเมินการขนส่งผลผลิตสินค้าเกษตร



1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



2) การสัมภาษณ์



3) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ