หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการองค์ความรู้ และภูมิปัญญาเดิมในท้องถิ่น

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-HUBI-303A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการองค์ความรู้ และภูมิปัญญาเดิมในท้องถิ่น

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

611 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชสวนและพืชไร่เพื่อการค้าขาย



612 ผู้เลี้ยงสัตว์



613 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงสัตว์      



622 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงล่าสัตว์และวางกับดักสัตว์ต่าง ๆ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้และภูมิปัญญาที่มีอยู่เดิมท้องถิ่น โดยการระบุความรู้และข้อมูลอย่างเป็นระบบ ถูกต้อง และตรงตามวัตถุประสงค์ ข้อมูลและความรู้เป็นปัจจุบัน มาจากแหล่งที่เชื่อถือและสามารถตรวจสอบได้ คัดเลือกองค์ความรู้และภูมิปัญญาที่มีความเหมาะสมและถูกต้อง พร้อมประยุกต์ใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาอย่างเหมาะสม และบูรณาการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม สาขาเกษตรกรปราดเปรื่อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C411 รวบรวมความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 1. สืบค้นข้อมูลและความรู้ที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์เป็นเชิงประจักษ์ C411.01 93253
C411 รวบรวมความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2. ศึกษาข้อมูลและความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ C411.02 93254
C411 รวบรวมความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3. วิเคราะห์ข้อมูลและความรู้อย่างเป็นระบบ C411.03 93255
C412 ศึกษาความรู้ด้านการเกษตรจากภายนอก 1. สืบค้นข้อมูลและความรู้ด้านการเกษตรจากภายนอกที่เป็นปัจจุบัน C412.01 93256
C412 ศึกษาความรู้ด้านการเกษตรจากภายนอก 2. ศึกษาความรู้ใหม่เพิ่มเติมที่ผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์สามารถตรวจสอบได้ C412.02 93257
C413 ประมวลกลั่นกรองความรู้ 1. ศึกษาความรู้ที่มีความถูกต้อง C413.01 93258
C413 ประมวลกลั่นกรองความรู้ 2. ตรวจสอบที่มาขององค์ความรู้ได้ C413.02 93259
C413 ประมวลกลั่นกรองความรู้ 3. สืบค้นเนื้อหาความรู้ที่มีความถูกต้อง C413.03 93260
C413 ประมวลกลั่นกรองความรู้ 4. มีรูปแบบในการประมวลความรู้ที่เหมาะสมกับองค์ความรู้และภูมิปัญญา C413.04 93261
C413 ประมวลกลั่นกรองความรู้ 5. คัดเลือกองค์ความรู้และภูมิปัญญาที่มีความเหมาะสมและถูกต้อง C413.05 93262
C413 ประมวลกลั่นกรองความรู้ 6. ประยุกต์ใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาอย่างเหมาะสม C413.06 93263
C414 สร้างช่องทางการเข้าถึงองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น 1. สืบค้นความรู้ที่เกี่ยวกับการสร้างช่องทางในการเข้าถึงองค์ความรู้มีความถูกต้อง C414.01 93264
C414 สร้างช่องทางการเข้าถึงองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2. เนื้อหาที่นำมาใช้มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบได้ C414.02 93265
C414 สร้างช่องทางการเข้าถึงองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3. สร้างช่องทางการเข้าถึงองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลายอย่างเหมาะสม C414.03 93266
C415 เผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตร ภูมิปัญญาท้องถิ่น 1. สืบค้นความรู้ที่มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน C415.01 93267
C415 เผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตร ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2. ข้อมูลที่เผยแพร่ได้รับการยืนยันจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง C415.02 93268
C416 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเกษตรภูมิปัญญาท้องถิ่นภายในและภายนอก 1. บูรณาการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบทั้งภายในเครือข่ายและนอกเครือข่าย C416.01 93269
C416 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเกษตรภูมิปัญญาท้องถิ่นภายในและภายนอก 2. สืบค้นเนื้อหาที่มีความถูกต้องและสามารถตรวจสอบได้ C416.02 93270
C416 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเกษตรภูมิปัญญาท้องถิ่นภายในและภายนอก 3. ข้อมูลที่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ C416.03 93271

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะการสืบค้นข้อมูลทุติยภูมิ



(ก2) ทักษะการจดบันทึก



(ก3) ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ



(ก4) ทักษะการเขียน



(ก5)  ทักษะการสัมภาษณ์เชิงลึก 



(ก6)  ทักษะการตัดสินใจ



(ก7)  ทักษะการสื่อสาร



(ก8)  ทักษะการใช้ภาษา



(ก9)  ทักษะการใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ



(ก10) ทักษะการอ่าน



(ก11) ทักษะการจำแนก/ คัดเลือกข้อมูล



(ก12) ทักษะการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญา



(ก13) ทักษะการเผยแพร่ความรู้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) การจัดการความรู้ (KM)



(ข2) องค์ความรู้และข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นเดิมที่มี



(ข3) ข้อมูลองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น



(ข4) การประยุกต์และต่อยอดภูมิปัญญา



(ข5) วิธีการในการประมวลความรู้



(ข6) การวิเคราะห์ข้อมูล



(ข7) การจำแนกข้อมูล



(ข8) หลักการในการถ่ายทอดความรู้



(ข9) การสืบค้นช่องทางในการเข้าถึงความรู้



(ข9) รูปแบบในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้



(ข9) วิธีการสร้างช่องทางในการเข้าถึงองค์ความรู้ความรู้



(ข10) วิธีการตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          (ก1) แบบบันทึกข้อมูลและความรู้ที่ถูกต้องเชิงประจักษ์



          (ก2) แบบบันทึกข้อมูลและความรู้เป็นปัจจุบัน



          (ก3) รายงานผลองค์ความรู้ที่นำไปใช้ได้จริง



          (ก4) ภาพกิจกรรมการเผยแพร่องค์ความรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย



          (ก5) แบบบันทึกองค์ความรู้ใหม่ที่เพิ่มเติมจากเดิมและการเข้าใจในองค์ความรู้อย่างถูกต้อง



          (ก6) หนังสือเชิญเป็นวิทยากรบรรยาย



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          (ข1) สามารถศึกษาข้อมูลและความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ



          (ข2) สามารถศึกษาหาความรู้ใหม่เพิ่มเติมที่ผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์และสามารถ ตรวจสอบได้



          (ข3) คู่มือการจัดทำองค์ความรู้ใหม่ที่ได้ผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ



          (ข4) ผลการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้



          (ข5) สามารถเขียนเนื้อหาความรู้ที่ได้ผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้      



(ง) วิธีการประเมิน



          - การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น



          - การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก การสัมภาษณ์ การประเมินทักษะการปฏิบัติงานจะควบคู่ไปกับการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          (ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ต้องสามารถค้นหาความรู้ที่มีอยู่ในตนเองและท้องถิ่นได้ รู้จักแหล่งองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นจากภายในและภายนอก และมีความคิดสร้างสรรค์ในการต่อยอดองค์ความรู้เดิม



          (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้       



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  • ศึกษาความรู้จากภายนอกคือ การศึกษาข้อมูลและความรู้จากแหล่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องนอกเหนือจากความรู้ของตนเอง ซึ่งโดยทั่วไปสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานของตนเองได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นเราสามารถหาข้อมูลจากแหล่งภายนอกนี้ได้จากสื่อต่าง ๆ

    เช่น หนังสือพิมพ์วิทยุโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ต เป็นต้น โดยความรู้ที่ได้รับเพิ่มเติมต้องผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้

  • ประมวลกลั่นกรองความรู้เป็นการศึกษาความรู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่ององค์ความรู้ด้านการเกษตรและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างมีระบบมีการพิจารณา คัดเลือกองค์ความรู้และภูมิปัญญาที่ที่ถูกต้องเหมาะสม

    และสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้

  • ช่องทางการเข้าถึงองค์ความรู้และภูมิปัญญาคือ วิธีการในที่บุคคลอื่นจะเข้าถึงองค์ความรู้และภูมิปัญญาที่ตัวเรามี สามารถทำได้โดย 1) สร้างช่องทางในการเข้าถึงองค์ความรู้ด้วยตนเองเช่นการเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่บุคคลอื่น และ 2) การบูรณาการความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและเอกชนเพื่อให้หน่วยงานเหล่านั้นเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เรามีเช่นการนำองค์ความรู้ที่มีไปเผยแพร่ในเว็บไซต์โดยองค์ความรู้ที่ได้มีความถูกต้องเป็นปัจจุบันและมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือสามารถตรวจสอบได้

  • เผยแพร่ความรู้เป็นการนำองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่รวบรวมได้ไปถ่ายทอดและเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ  (อินเตอร์เน็ตวิทยุโทรทัศน์หนังสือเอกสารฯลฯ)

    การถ่ายทอดโดยตนเอง (การเป็นวิทยากรโดยองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้มีความถูกต้องเป็นปัจจุบันสามารถตรวจสอบได้และข้อมูลที่เผยแพร่ได้รับการยืนยันจากผู้รู้และผุ้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ เป็นการนำองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่รวบรวมได้ไปถ่ายทอด

    ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มบุคคลหน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่อื่น ๆ ที่ใกล้เคียง โดยมีรูปแบบ

    การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีการบูรณาการร่วมกันอย่างเป็นระบบ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือในการประเมินการรวบรวมความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น1) แบบสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก



1) การสอบสัมภาษณ์



18.2 เครื่องมือในการประเมินการศึกษาความรู้จากภายนอก



1) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)       



2) การสอบสัมภาษณ์



18.3 เครื่องมือในการประเมินการประมวลกลั่นกรองความรู้     



1) แบบสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก



2) การสอบสัมภาษณ์



18.4 เครื่องมือในการประเมินการสร้างช่องทางการเข้าถึงองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น    



1) แบบสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก



2) การสอบสัมภาษณ์



3) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)       



18.5 เครื่องมือในการประเมินการเผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตรภูมิปัญญาท้องถิ่น



1) แบบสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก



2) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)       



18.6 เครื่องมือในการประเมินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเกษตรภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใน



1) แบบสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก



2) การสอบสัมภาษณ์



3) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ