หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนากระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-SFA-4-002ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนากระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

611 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชสวนและพืชไร่เพื่อการค้าขาย



612 ผู้เลี้ยงสัตว์



613 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงสัตว์      



622 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงล่าสัตว์และวางกับดักสัตว์ต่าง ๆ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะการศึกษามาตรฐานที่เป็นสากลและเหมาะสมกับการผลิตการจัดเตรียมพื้นที่ และจัดหาวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตที่ดีมีมาตรฐานการควบคุมกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้รวมทั้งตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน และประกันคุณภาพผลผลิต

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม สาขาเกษตรกรปราดเปรื่อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C121 วางแผนการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าเกษตร 1. การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามหลักการและกระบวนการได้ข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง เชื่อถือได้และเป็นปัจจุบัน C121.01 93194
C121 วางแผนการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าเกษตร 2. วางแผนการดำเนินงานพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าเกษตรเป็นไปตามหลักการและกระบวนการวิจัยและพัฒนา C121.02 93195
C121 วางแผนการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าเกษตร 3. แผนงานโครงการมีองค์ประกอบสำคัญตามที่กำหนด ครบถ้วน ถูกต้องชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้ C121.03 93196
C122 ดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตตามมาตรฐาน 1. เตรียมการดำเนินงานเป็นไปตามหลักการและกระบวนการสอดคล้องกับแผนงานโครงการที่กำหนด C122.01 93197
C122 ดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตตามมาตรฐาน 2. ดำเนินงานพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าเกษตรเป็นไปตามแผนปฏิบัติงานถูกต้องตามหลักการและกระบวนการวิจัยด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม C122.02 93198
C122 ดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตตามมาตรฐาน 3. บันทึก/สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน C122.03 93199
C123 สรุปรายงานผลการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าเกษตร 1. ข้อมูลที่ได้จากการดำเนินงานได้มีการวิเคราะห์อย่างรอบคอบถูกต้องตามหลักการและกระบวนการ C123.01 93200
C123 สรุปรายงานผลการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าเกษตร 2. สรุปผลดำเนินการเป็นไปตามหลักการและกระบวนการข้อมูลที่ได้จากการสรุปถูกต้อง สมบูรณ์ เชื่อถือได้และนำไปใช้ประโยชน์ได้เหมาะสมกับพื้นที่/กลุ่มเป้าหมาย C123.02 93201
C123 สรุปรายงานผลการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าเกษตร 3. รายงานผลการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าเกษตรเป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดมีข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน เชื่อถือได้และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง C123.03 93202

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะการสืบค้น



(ก2) ทักษะการใช้สื่อสังคมออนไลน์



(ก3) ทักษะการสังเกต



(ก4) ทักษะการสื่อสาร



(ก5) ทักษะการคัดเลือกวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตที่ดีมีมาตรฐาน   



(ก6) ทักษะการรับรู้และเข้าใจ  



(ก7) ทักษะการแก้ปัญหา        



(ก8) ทักษะการตัดสินใจ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) มาตรฐานการผลิตทางการเกษตร



(ข2) การคิดวิเคราะห์



(ข3) การกำหนดมาตรฐานและวิธีการวัดผลการปฏิบัติงาน



(ข4) การวัดผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริง



(ข5) การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับมาตรฐาน



(ข6) มาตรฐานการผลิตทางการเกษตร



(ข7) การประกันคุณภาพผลผลิต


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          (ก1) ข้อมูลมาตรฐานการผลิตที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน



          (ก2) วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตดีมีมาตรฐานและเหมาะสมกับการผลิต



          (ก3) การกำหนดกระบวนการผลิตมีมาตรฐาน



          (ก4) ผลผลิตไม่มีสารปนเปื้อนและปลอดภัยต่อผู้บริโภค



          (ก5) ใบรับรองการผลิตตามมาตรฐานต่าง ๆ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          (ข1) เอกสารข้อมูลมาตรฐานการผลิตที่ผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์



          (ข2) คู่มือกำหนดกระบวนการผลิตมีมาตรฐาน



          (ข3) เอกสารการรับรองมาตรฐาน



          (ข4) เอกสารการรับรองผลผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



          - การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น



          - การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก การสัมภาษณ์ การประเมินทักษะการปฏิบัติงานจะควบคู่ไปกับการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          (ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมคุณภาพการผลิตให้มีมาตรฐานที่ดีได้และตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งการวิเคราะห์และสังเคราะห์มีความละเอียดรอบครอบช่างสังเกตและมีเหตุมีผล     



          (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  • ข้อมูลที่ศึกษา และสำรวจ ได้แก่มาตรฐาน GAP Organic ThailandGlobal GAP เป็นต้น

  • การจัดเตรียมพื้นที่ โดยการเตรียมพื้นที่ จัดหาวัตถุดิบ และปัจจัยการผลิตมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและมีมาตรฐาน และสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้

  • วิธีการศึกษาสำรวจรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การศึกษาสภาพจริง การสืบค้นข้อมูลทางจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจากอินเทอร์เน็ต

  • องค์ประกอบที่สำคัญของแผนงานโครงการประกอบด้วย เหตุผลความจำเป็น วัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีการระยะเวลาและสถานที่ดำเนินงาน ประมาณการค่าใช้จ่าย ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและแนวทางแก้ไข ผู้รับผิดชอบ ฯลฯ

  • การพัฒนากระบวนการผลิตตามมาตรฐานประกอบด้วย จัดเตรียมพื้นที่ และวัตถุดิบปัจจัยการผลิตที่ดีมีมาตรฐานการคัดเลือกเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับกระบวนการผลิตตามมาตรฐานพัฒนาการผลิตตามมาตรฐานควบคุมการผลิตให้มีมาตรฐานตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน และประกันคุณภาพผลผลิต


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการวางแผนการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าเกษตร



             1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



             2) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



             3) สัมภาษณ์



18.2 เครื่องมือประเมินการดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตตามมาตรฐาน



             1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



             2) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



             3) สัมภาษณ์



18.3 เครื่องมือประเมินการสรุปรายงานผลการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าเกษตร



             1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



             2) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



             3) สัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ