หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนากระบวนการเตรียมการผลิตสินค้าเกษตรอย่างเป็นระบบ

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-SFA-4-001ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนากระบวนการเตรียมการผลิตสินค้าเกษตรอย่างเป็นระบบ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

611 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชสวนและพืชไร่เพื่อการค้าขาย



612 ผู้เลี้ยงสัตว์



613 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงสัตว์      



622 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงล่าสัตว์และวางกับดักสัตว์ต่าง ๆ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะในการศึกษาหาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และวางแผนตัดสินใจด้วยข้อมูลการผลิตที่มีความถูกต้อง มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้และจัดเก็บข้อมูลการผลิตอย่างเป็นระบบ รวมทั้งกำหนดเป้าหมายของฟาร์มที่มีความเป็นไปได้ วัดได้ และมีความชัดเจนเพื่อนำมาวางแผนการผลิตและดำเนินการตามแผนการผลิตที่ครอบคลุมระบบการผลิตติดตามและประเมินการดำเนินงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม สาขาเกษตรกรปราดเปรื่อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C111 วางแผนการพัฒนากระบวนการเตรียมการผลิตสินค้าเกษตร 1. การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามหลักการและกระบวนการได้ข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง เชื่อถือได้และเป็นปัจจุบัน C111.01 93185
C111 วางแผนการพัฒนากระบวนการเตรียมการผลิตสินค้าเกษตร 2. วางแผนการดำเนินงานพัฒนากระบวนการเตรียมการผลิตสินค้าเกษตรเป็นไปตามหลักการและกระบวนการวิจัยและพัฒนา C111.02 93186
C111 วางแผนการพัฒนากระบวนการเตรียมการผลิตสินค้าเกษตร 3. จัดทำแผนงานโครงการที่มีองค์ประกอบสำคัญตามที่กำหนด ครบถ้วนถูกต้อง ชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้ C111.03 93187
C112 ดำเนินการพัฒนากระบวนการเตรียมการผลิตสินค้าเกษตร 1. เตรียมการก่อนการดำเนินงานเป็นไปตามหลักการและกระบวนการสอดคล้องกับแผนงานโครงการที่กำหนด C112.01 93188
C112 ดำเนินการพัฒนากระบวนการเตรียมการผลิตสินค้าเกษตร 2. ดำเนินงานพัฒนากระบวนการเตรียมการผลิตสินค้าเกษตรเป็นไปตามแผนปฏิบัติงานถูกต้องตามหลักการและกระบวนการวิจัยด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม C112.02 93189
C112 ดำเนินการพัฒนากระบวนการเตรียมการผลิตสินค้าเกษตร 3. บันทึก/สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน C112.03 93190
C113 สรุปรายงานผลการพัฒนากระบวนการเตรียมการผลิตสินค้าเกษตร 1. ข้อมูลที่ได้จากการดำเนินงานได้มีการวิเคราะห์อย่างรอบคอบถูกต้องตามหลักการและกระบวนการ C113.01 93191
C113 สรุปรายงานผลการพัฒนากระบวนการเตรียมการผลิตสินค้าเกษตร 2. สรุปผลดำเนินการเป็นไปตามหลักการและกระบวนการข้อมูลที่ได้จากการสรุปถูกต้อง สมบูรณ์เชื่อถือได้และนำไปใช้ประโยชน์ได้เหมาะสมกับพื้นที่/กลุ่มเป้าหมาย C113.02 93192
C113 สรุปรายงานผลการพัฒนากระบวนการเตรียมการผลิตสินค้าเกษตร 3. รายงานผลการพัฒนากระบวนการเตรียมการผลิตสินค้าเกษตรเป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดมีข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน เชื่อถือได้และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง C113.03 93193

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะการรับรู้และเข้าใจ



(ก2) ทักษะการสื่อสาร



(ก3) ทักษะการสังเกต



(ก4) ทักษะการทำงานเป็นทีม



(ก5) ทักษะการใช้สื่อสังคมออนไลน์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ระบบการผลิต



(ข2) ข้อมูลการตลาด



(ข3) คิดวิเคราะห์



(ข4) มาตรฐานด้านการผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว



(ข5) การตั้งเป้าหมาย



(ข6) คุณลักษณะของเป้าหมายฟาร์ม



(ข7) การทำแผนการผลิตทางการเกษตร



(ข8) การเขียน



(ข9) การเขียนโครงการ



(ข10) วิธีการติดตามและประเมินผลการดำเนินการ



(ข11) การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          (ก1) แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์



          (ก2) เอกสารรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล



          (ก3) เอกสารสรุปรายงานผลการสำรวจข้อมูล



          (ก4) แผนงานโครงการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเกษตร



          (ก5) บันทึก/รายงานการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          (ข1) หลักการและวิธีการจัดทำแบบสำรวจรวบรวมข้อมูล



          (ข2) หลักการและวิธีการสำรวจรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และสรุปรายงาน



          (ข3) การใช้คอมพิวเตอร์ในการสืบค้น วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปจัดทำเอกสารรายงาน



          (ข4) การบันทึก/รายงานการปฏิบัติงาน



          (ข5) การวางแผนการวิจัยและพัฒนา



          (ข6) การเขียนแผนงานโครงการวิจัยและพัฒนา



          (ข7) การเขียนบันทึก/รายงานการปฏิบัติงาน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้      



(ง) วิธีการประเมิน



          - การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น



          - การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก การประเมินทักษะการปฏิบัติงานจะควบคู่ไปกับการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          (ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความละเอียดรอบคอบมีความสามารถในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ มีวิสัยทัศน์สามารถวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องในการทำแผนการผลิตรวมทั้งออกแบบการติดตามและประเมิน รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปและให้ข้อเสนอแนะ      



          (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้  



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          - ข้อมูลที่สำรวจ ได้แก่ สภาพปัญหา สถิติการเกษตรและความต้องการของตลาด ข้อมูลของพืช/สัตว์ที่จะผลิต ปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวข้อง



          - วิธีการศึกษาสำรวจรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การศึกษาสภาพจริง การสืบค้นข้อมูลทางจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจากอินเทอร์เน็ต



          - องค์ประกอบที่สำคัญของแผนงานโครงการประกอบด้วย เหตุผลความจำเป็น วัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีการระยะเวลาและสถานที่ดำเนินงาน ประมาณการค่าใช้จ่าย ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและแนวทางแก้ไข ผู้รับผิดชอบ ฯลฯ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการวางแผนการพัฒนากระบวนการเตรียมการผลิตสินค้าเกษตร      



1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



2) การสัมภาษณ์



3) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



18.2 เครื่องมือประเมินการดำเนินการพัฒนากระบวนการเตรียมการผลิตสินค้าเกษตร       



1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



2) การสัมภาษณ์



3) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



18.3 เครื่องมือประเมินการสรุปรายงานผลการพัฒนากระบวนการเตรียมการผลิต



1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



2) การสัมภาษณ์



3) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ