หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการกระบวนการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-SFA-5-005ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการกระบวนการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

611 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชสวนและพืชไร่เพื่อการค้าขาย



612 ผู้เลี้ยงสัตว์



613 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงสัตว์      



622 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงล่าสัตว์และวางกับดักสัตว์ต่าง ๆ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะที่ต้องการในการศึกษามาตรฐานที่เหมาะสมกับการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรจัดเตรียมพื้นที่และจัดหาวัตถุดิบที่ดีมีมาตรฐาน (โครงสร้างพื้นฐาน) รวมทั้งควบคุมการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรให้มีมาตรฐาน และออกแบบและเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม โดยสามารถตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรให้ได้มาตรฐาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม สาขาเกษตรกรปราดเปรื่อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C221 วางแผนการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร 1. การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามหลักการและกระบวนการได้ข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้อง C221.01 93225
C221 วางแผนการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร 2. วางแผนการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรให้เป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง C221.02 93226
C222 ดำเนินการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรตามกรรมวิธี 1. จัดเตรียมสถานที่ในการผลิตให้มีความสะอาดและมีการจัดแบ่งบริเวณให้เป็นสัดส่วนตามลำดับขั้นตอนการผลิตพร้อมที่จะใช้งานตลอดเวลา C222.01 93227
C222 ดำเนินการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรตามกรรมวิธี 2. เตรียมสถานที่เพียงพอที่จะติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต C222.02 93228
C222 ดำเนินการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรตามกรรมวิธี 3. ทำความสะอาดอุปกรณ์ต่าง ๆ (ทำความสะอาดเช็ดหรือตากแดดให้แห้งสนิททุกครั้ง)ทั้งก่อนและหลังการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร C222.03 93229
C222 ดำเนินการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรตามกรรมวิธี 4. ออกแบบและติดตั้งเครื่องมือและเครื่องใช้ต่าง ๆให้สะดวกต่อการใช้งานและบำรุงรักษา C222.04 93230
C222 ดำเนินการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรตามกรรมวิธี 5. คัดเลือกใช้วัตถุต้องคำนึงถึงแหล่งที่มาชนิดปริมาณคุณภาพการเสื่อมเสียตลอดจนการเก็บรักษาวัตถุดิบ C222.05 93231
C222 ดำเนินการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรตามกรรมวิธี 6. เพิ่มมูลค่าทางการเกษตรเป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด C222.06 93232
C222 ดำเนินการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรตามกรรมวิธี 7. ออกแบบบรรจุภัณฑ์มีความเหมาะสมกับผลผลิตและถูกต้องตามหลักมาตรฐาน C222.07 93233
C223 จัดการหลังการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร 1. ขนส่งผลผลิตสินค้าเกษตรที่มีความเหมาะสมปลอดภัยและคงคุณภาพกับสินค้า C223.01 93234

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะในการทำความสะอาดสถานที่ในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร



(ก2) ทักษะในการจัดเตรียมอุปกรณ์



(ก3) ทักษะในการคิดวิเคราะห์   



(ก4) ทักษะในการคัดเลือกวัตถุดิบ



(ก5) ทักษะในการออกแบบบรรจุภัณฑ์



(ก6) ทักษะในการสืบค้น



(ก7) ทักษะในการแก้ไขปัญหา   



(ก8) ทักษะในการตัดสินใจ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) การจัดเตรียมสถานที่



(ข2) การจัดเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง      



(ข3) การเลือกใช้วัตถุดิบ



(ข4) การบรรจุภัณฑ์ที่ถูกต้องและเหมาะสมกับผลผลิต



(ข5) มาตรฐานการผลิตทางการเกษตร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          (ก1) ภาพสถานที่ที่จะใช้ในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรมีความสะอาดและพร้อมที่จะใช้ในการปฏิบัติขั้นตอนถัดไป



          (ก2) อุปกรณ์ที่ใช้ในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานอยู่ตลอดเวลา



          (ก3) ภาพผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ   



          (ก4) ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์มีความน่าสนใจต่อผู้บริโภค



          (ก5) ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์สามารถใส่ผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสมสวยงาม



          (ก6) ตัวอย่างผลผลิตไม่มีสารปนเปื้อนและปลอดภัยต่อผู้บริโภค



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          (ข1) สถานที่ที่จะใช้ในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรมีความพร้อมและเพียงพอต่อผลผลิตที่มีอยู่   



          (ข2) บรรจุภัณฑ์ที่ใช้มีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์



          (ข3) เอกสารการรับรองผลผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้      



(ง) วิธีการประเมิน




  • การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  • การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    การประเมินทักษะการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          (ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสามารถในการศึกษามาตรฐานที่เหมาะสมกับการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร จัดเตรียมพื้นที่และจัดหาวัตถุดิบที่ดีมีมาตรฐาน (โครงสร้างพื้นฐาน) ควบคุมการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรให้มีมาตรฐาน ออกแบบและเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม และสามารถตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน



          (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          - วางแผนการเพิ่มมูลค่าคือการศึกษาการนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรสภาพจากลักษณะเดิมไปเป็นกระบวนการผลิตไม่ซับซ้อนซึ่งอาจจะเป็นการแปรสภาพตามธรรมชาติให้ต่างไปจากเดิมเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคอาจจะเป็นการสร้างแบรนด์สินค้าหรือการทำบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ ๆ



          - ดำเนินการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรคือกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรเช่นการจัดเตรียมสถานที่เตรียมพื้นที่เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ผลผลิตวัตถุดิบบรรจุภัณฑ์บรรจุหีบห่อเป็นต้น



          - จัดการหลังการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรคือกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการวางแผนการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร



1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



2) ปฏิบัติงานจริง     



3) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



18.2 เครื่องมือประเมินการดำเนินการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร



1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



2) ปฏิบัติงานจริง     



3) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



18.3 เครื่องมือประเมินการจัดการหลังการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร



1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



2) ปฏิบัติงานจริง     



3) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ