หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารความเสี่ยงในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-ATE-7-020ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารความเสี่ยงในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

9999อาชีพนักเทคโนโลยีการเกษตร



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการกำหนดกลไกและกระบวนการจัดการความเสี่ยงเพื่อให้สามารถควบคุมเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้สามารถจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ลักษณะและประเภทของความเสี่ยงในการบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรสามารถระบุความเสี่ยงฯและกำหนดแนวทางการดำเนินงานจัดการความเสี่ยงฯกำหนดกลไกที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยงฯกำหนดวิธีการจัดการความเสี่ยงฯ เลือกทางเลือกในการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม และกำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินการจัดการความเสี่ยงฯ เพื่อให้สามารถหลีกเลี่ยง ควบคุม หรือลดความเสี่ยงในการบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรลงได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักเทคโนโลยีการเกษตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A631 วางแผนการบริหารความเสี่ยงในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร 1. วิเคราะห์ความเสี่ยงตามหลักการและกระบวนการ A631.01 93178
A631 วางแผนการบริหารความเสี่ยงในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร 2. กำหนดนโยบายหรือเป้าหมายการบริหารความเสี่ยงที่ชัดเจน A631.02 93179
A631 วางแผนการบริหารความเสี่ยงในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร 3. จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงตามหลักการ A631.03 93180
A632 ดำเนินการบริหารความเสี่ยงในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร 1. ควบคุมการบริหารความเสี่ยงให้เป็นไปตามแผนการดำเนินการ A632.01 93181
A632 ดำเนินการบริหารความเสี่ยงในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร 2. ประเมินผลการดำเนินงานบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ A632.02 93182
A632 ดำเนินการบริหารความเสี่ยงในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร 3. สรุปและกำหนดแนวทางการพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยง A632.03 93183
A632 ดำเนินการบริหารความเสี่ยงในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร 4. จัดทำรายงานผลการบริหาร ความเสี่ยงตามรูปแบบที่กำหนด โดยมีข้อมูลครบถ้วน A632.04 93184

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อการตัดสินใจ



(ก2) ทักษะการวางแผนและทำงานอย่างเป็นระบบ



(ก3) ทักษะการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ



(ก4) ทักษะการบริหารความเสี่ยง



(ก5) ทักษะการประเมินความเสี่ยง



(ก6) ทักษะการจัดการความเสี่ยง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ความเสี่ยง



(ข2) ความรู้เกี่ยวกับหลักการบริหารความเสี่ยง



(ข3) ความรู้เกี่ยวกับมาตราฐานการยอมรับระดับความเสี่ยง



(ข4) ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยง



(ข5) ความรู้เกี่ยวกับหลักการประเมินผลการบริหารความเสี่ยง



(ข6) ความรู้เกี่ยวกับการเขียนรายงานผลการบริหารความเสี่ยง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



               (ก1) แฟ้มสะสมผลงาน



               (ก2) รายงานผลงานการบริหารความเสี่ยงในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



               (ข1) เกียรติบัตร วุฒิบัตร หรือใบรับรองการฝึกอบรมหรือเอกสารรับรองจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ



               (ข2) แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน



               (ข3) แบบบันทึกผลการสอบสัมภาษณ์



               (ข4) แบบรวบรวม / แฟ้มสะสมผลการปฏิบัติงาน



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



               (ค1) ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงในงานในงานเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร



               (ค2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง



                      - ความรู้ และทักษะที่เกี่ยวข้อง



                      - วิธีการปฏิบัติงาน กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง



                      - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



          (ง) วิธีการประเมิน



               - การสอบข้อเขียน



               - การสัมภาษณ์



               - แฟ้มสะสมงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ



               N/A



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



               (ข1) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องความเสี่ยงในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร

เป็นการระบุเหตุการณ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่เป็นความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบให้เกิดความเสียหายแก่ตนเองและหรือองค์กรหรือกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของตนเองและหรือองค์กรหรือกระทบต่องานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ข้อมูลปัญหาในการบริหารงาน ความเสียหายที่เกิดขึ้นและจัดลำดับความเสียหาย วิเคราะห์สาเหตุและความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ คน เครื่องมือ กระบวนการทำงาน การบริหารจัดการ โดยมีการระบุ ผลกระทบหรือความเสียหายที่เกิดหรืออาจจะเกิดขึ้นจากภายใน ภายนอกที่เป็นสาเหตุของความเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยง และประเภทความเสี่ยง ในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร



               (ข2) วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง เป็นการวิเคราะห์ความเสี่ยงว่าโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยและมีผลกระทบต่องานหรือองค์กรรุนแรงเพียงใด เพื่อจะได้จัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นว่าเหตุการณ์ใดที่เคยเกิด หรืออาจจะเกิดในงานพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรมีความเสี่ยงมากน้อยกว่ากัน ซึ่งอาจจะจัดระดับความเสี่ยงออกเป็นความเสี่ยงระดับสูง ปานกลางหรือต่ำ

โดยพิจารณาจากโอกาสหรือความเป็นไปได้ ความถี่ที่เหตุการณ์ความเสี่ยงนั้นจะเกิดและมีความรุนแรงที่จะมีผลกระทบต่องานและองค์กร



               (ข3) กำหนดนโยบายหรือเป้าหมายในการบริหารความเสี่ยง เป็นการกำหนดแนวทางและเป้าหมายการบริหารความเสี่ยงที่เคยเกิด หรืออาจจะเกิดในงานพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรเพื่อกำหนดแผนบริหารและการดำเนินการให้สอดคล้องบรรลุผลสำเร็จตามที่คาดหวัง

โดยนโยบายนั้นจะต้องมีความชัดเจนและสามารถเข้าใจได้ เป้าหมายที่กำหนดจะต้องสามารถวัดได้และสามารถบรรลุผลสำเร็จได้ มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กร มีการกำหนดระยะเวลาที่ต้องการบรรลุผลสำเร็จ



               (ข4) แผนบริหารความเสี่ยงฯ คือ แผนการดำเนินงานที่กำหนดแนวทางการดำเนินงาน จัดการความเสี่ยงที่เคยเกิด หรืออาจจะเกิดในงานพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร ครอบคลุมในด้านการจัดการความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ ประกอบด้วย การระบุความเสี่ยงฯ วิธีการจัดการความเสี่ยงฯ ทางเลือกที่เหมาะสม และผู้รับผิดชอบ



               (ข5) ควบคุมการบริหารความเสี่ยงฯ โดยการกำหนดผู้รับผิดชอบในระดับต่าง ๆ ในการควบคุมให้การบริหารความเสี่ยงในการงานพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรเป็นไปตามระยะเวลาดำเนินการในแผน



               (ข6) เฝ้าระวังความเสี่ยงฯที่อาจเกิดขึ้น เป็นการให้เฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบ ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในงานพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรและรายงานต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทราบตามลำดับเพื่อดำเนินการแก้ไขโดยทันที หากสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่คาดการณ์



               (ข7) ประเมิน ผลการดำเนินงาน เป็นการประเมินผลการบริหารความเสี่ยงในงานพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรเพื่อให้มั่นใจว่าการบริหารความเสี่ยงฯเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม และบรรลุเป้าหมายที่กำหนด โดยจะต้องมีการวิเคราะห์ระดับการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น และกำหนดแนวทางการพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงในงานพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป



               (ข8) รายงานผลบริหารความเสี่ยง เป็นเอกสารที่มีการรวบรวม ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ในทุกกระบวนการของการบริหารความเสี่ยงในงานพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรมาใช้ รวมทั้งผลการประเมิน ปัญหา อุปสรรคและแนวทางการพัฒนาการบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป ตามรูปแบบที่หน่วยงานกำหนด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          18.1 เครื่องมือประเมินการวางแผนการบริหารความเสี่ยงในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร



                  1) การสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



                  2) การสัมภาษณ์



                  3) แฟ้มสะสมผลงาน ประกอบด้วยหลักฐานจากผลงานเชิงประจักษ์ ได้แก่



                     - แผนการบริหารความเสี่ยงในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร



          18.2 เครื่องมือประเมินการดำเนินการบริหารความเสี่ยงในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร



                  1) การสัมภาษณ์



                  2) แฟ้มสะสมผลงาน ประกอบด้วยหลักฐานจากผลงานเชิงประจักษ์ ได้แก่



                      - รายงานผลการบริหารความเสี่ยงในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร



ยินดีต้อนรับ