หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ให้คำปรึกษา แนะนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-ATE-7-017ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ให้คำปรึกษา แนะนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

9999อาชีพนักเทคโนโลยีการเกษตร



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการให้คำปรึกษาแนะนำการใช้งานหรือการพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตรเป็นการให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ที่ประสบปัญหาทางเทคนิคการนำเทคโนโลยีไปใช้โดยวิเคราะห์ปัญหาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาพร้อมทั้งแนวทางหรือทางเลือกเพื่อประกอบการตัดสินใจแก่ผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อให้บรรลุความต้องการ หรือเป็นการให้คำแนะนำ ปรึกษาแก่ผู้ที่ต้องการพัฒนาต่อยอดหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยี          ผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้พัฒนาต้นแบบเทคโนโลยี และนวัตกรรม จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมนั้น ๆ การวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ รวมถึงสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์สภาพปัญหา หรือความต้องการพัฒนาเทคโนโลยี ก่อนให้คำปรึกษาแนะนำแก่บุคคลเป้าหมาย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักเทคโนโลยีการเกษตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A531 วางแผนการให้คำปรึกษา แนะนำ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร 1. วิเคราะห์ปัญหาการใช้และความต้องการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของกลุ่มเป้าหมายถูกต้องตามหลักการ A531.01 93148
A531 วางแผนการให้คำปรึกษา แนะนำ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร 2. วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดทำแนวทางแก้ไขปัญหาการใช้งานเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร ถูกต้องข้อมูล เที่ยงตรง น่าเชื่อถือ A531.02 93149
A531 วางแผนการให้คำปรึกษา แนะนำ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร 3. จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร ที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ A531.03 93150
A532 ดำเนินการให้คำปรึกษา แนะนำ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร 1. จัดเตรียมข้อมูลเอกสาร วัสดุ-อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักรที่จำเป็นสำหรับการแก้ไขปัญหาการเกษตรอย่างครบถ้วนและพร้อมใช้งาน A532.01 93151
A532 ดำเนินการให้คำปรึกษา แนะนำ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร 2. ให้คำปรึกษา แนะนำโดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ตามหลักวิชา A532.02 93152
A532 ดำเนินการให้คำปรึกษา แนะนำ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร 3. ติดตามประเมินผลการให้คำปรึกษาแนะนำการใช้เทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ A532.03 93153
A532 ดำเนินการให้คำปรึกษา แนะนำ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร 4. สรุปผลการให้คำปรึกษาแนะนำ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร A532.04 93154

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะและความเชี่ยวชาญทางเนื้อหาวิชาการที่เกี่ยวข้อง



(ก2) ทักษะและความเชี่ยวชาญทางเทคนิคทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง



(ก3) ทักษะการวางแผนและทำงานอย่างเป็นระบบ



(ก4) ทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อการตัดสินใจ



(ก5) ทักษะการสำรวจและเก็บข้อมูลเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี



(ก6) ทักษะการสังเกต และวิเคราะห์ปัญหา



(ก7) ทักษะการทำ focus group



(ก8) ทักษะการสื่อสาร



(ก9) ทักษะการให้คำปรึกษา



(ก10) ทักษะการนำเสนอผลงาน



(ก11) ทักษะการเข้าใจปัญหา สาเหตุของปัญหา และความต้องการของผู้รับคำปรึกษา



(ก12) ทักษะการแสวงหาแนวทางการปรับเปลี่ยนวิธีคิดของผู้รับคำปรึกษา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการใช้เทคโนโลยี



(ข2) การวิเคราะห์ปัญหาของผู้ใช้เทคโนโลยี



(ข3) การวิเคราะห์การใช้เทคโนโลยีของกลุ่มเป้าหมาย



(ข4) การใช้เครื่องมือในการสำรวจปัญหา



(ข5) การใช้กระบวนการวิเคราะห์ปัญหา



(ข6) การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม



(ข7) ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเทคโนโลยี และนวัตกรรม



(ข8) หลักและเทคนิคการสาธิตการสาธิต



(ข9) หลักและเทคนิคการสาธิตการให้คำปรึกษา



(ข10) หลักและวิธีการติดตาม และประเมินผล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



               (ก1) หลักฐาน / หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้



               (ก2) แฟ้มสะสมผลงาน



               (ก3) ภาพถ่ายกิจกรรมการให้คำปรึกษา แนะนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร



               (ก4) หนังสือเชิญเป็นวิทยากร



               (ก5) แผนงานการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



               (ข1) เกียรติบัตร วุฒิบัตร หรือใบรับรองการฝึกอบรมหรือเอกสารรับรองจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ



               (ข2) เกียรติบัตร รางวัลที่ได้รับจากการประกวดเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมทางการเกษตร



               (ข3) แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน



               (ข4) แบบบันทึกผลการสอบสัมภาษณ์



               (ข5) แบบรวบรวม / แฟ้มสะสมผลการปฏิบัติงาน



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



               (ค1) ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับการให้คำปรึกษา แนะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร



               (ค2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง



                      - ความรู้ และทักษะที่เกี่ยวข้อง



                      - วิธีการปฏิบัติงาน กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง



                      - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



          (ง) วิธีการประเมิน



               - การสอบข้อเขียน



               - การสัมภาษณ์



               - แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ



               N/A



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



               การให้คำปรึกษาแนะนำปัญหาการใช้งานหรือการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรเป็นการให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ที่ประสบปัญหาทางเทคนิคในการนำเทคโนโลยีไปใช้โดยวิเคราะห์ปัญหาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาพร้อมทั้งแนวทางหรือทางเลือกเพื่อประกอบการตัดสินใจแก่ผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อให้บรรลุความต้องการ หรือเป็นการให้คำแนะนำ ปรึกษาแก่ผู้ที่ต้องการพัฒนาต่อยอดหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยี



               (ข1) การให้คำปรึกษา หมายถึง กระบวนการให้ความช่วยเหลือ ติดต่อสื่อสารกันด้วยวาจาและกิริยาท่าทาง ที่เกิดจากสัมพันธภาพทางวิชาชีพของบุคคลอย่างน้อย 2 คน คือ ผู้ให้และผู้รับคำปรึกษา



                      การให้คําปรึกษามีข้อปฏิบัติ 10 ประการที่ที่ปรึกษาจะต้องถือปฏิบัติเพื่อสร้างความศรัทธาและความไว้วางใจโดยถือเป็นหลักสําคัญของการให้การปรึกษา ซึ่ง Roger (1976) ได้กล่าวไว้ดังนี้



                              1) สร้างความไว้วางใจโดยคำนึงถึงการรักษาความลับของผู้รับคำปรึกษา



                              2) สามารถสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงทุกด้านของผู้รับคำปรึกษา



                              3) แสดงความรู้สึกต่อปัญหาของผู้รับคำปรึกษาอย่างเหมาะสม



                              4) แสดงความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (Empathy)



                              5) สามารถสื่อความคิดเห็นของตนได้อย่างชัดเจน ไม่คลุมเครือ



                              6) มีทัศนคติเชิงบวก เป็นมิตรให้ความสนใจและเข้าใจผู้อื่น



                              7) ยอมรับและเคารพในความเป็นบุคคลของผู้อื่น



                              8) มีความเป็นตัวของตัวเอง



                              9) ไวต่อความรู้สึกของผู้อื่น (Sensitive)



                              10) ไม่ใช่ประสบการณ์เดิมของตนมาตัดสินผู้อื่น



                      การที่จะบรรลุถึงจุดมุ่งหมายของการให้คำปรึกษาจําเป็นต้องมีทักษะในการให้คำปรึกษา ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของที่ปรึกษาในการเลือกใช่เทคนิคและวิธีการเพื่อดึงศักยภาพของผู้รับคำปรึกษามาใช่ในการนําเข้าสู่ปัญหา หาแนวทางในการแก้ปัญหา และเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม



                      เทคนิคที่จําเป็นสําหรับที่ปรึกษาประกอบด้วยเทคนิคการให้คําปรึกษาเทคนิคการ Coaching และเทคนิคการสัมภาษณ์  ปัจจุบันเทคนิคการใช้โทรศัพท์และการเขียนรายงานเพื่อช่วยในการให้คําปรึกษาเป็นส่วนสําคัญในการให้คําปรึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ



               (ข2) เทคนิคการให้คำปรึกษาสามารถทําให้การให้คําปรึกษาบรรลุถึงเป้าหมายและสร้างเสริมให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างที่ปรึกษากับผู้รับคำปรึกษา ซึ่งแสดงถึงกระบวนการการให้คําปรึกษาที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้



                              1) เทคนิคการนําเข้าสู่การสนทนา (Opening the Interview) การเริ่มต้นให้คําปรึกษา

จําเป็นต้องอาศัยทักษะในการนําหรือเริ่มสนทนา (Leading Skill) ที่ปรึกษาควรสร้างบรรยากาศของการเริ่มต้นการให้คําปรึกษาให้อบอุ่นและเป็นกันเอง อาจใช้เทคนิคในการนำเข้าสู่การสนทนา ดังนี้



                                        1.1) นำเข้าสู่การสนทนาโดยตรง (Direct Leading) เป็นการกระตุ้นให้การสนทนาดําเนินต่อไป ช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาได้ขยายความถึงเรื่องราวที่กําลังสนทนาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาให้เข้าใจถึงเรื่องราวที่ตนกําลังพูดได้แจ่มชัดยิ่งขึ้น



                                        1.2) นําสนทนาให้เข้าประเด็น (Focusing) บางครั้ง ผู้รับคำปรึกษาอาจเกิดความสับสนในเรื่องที่กำลังสนทนาเกี่ยวกับปัญหาของผู้รับคำปรึกษา ต้องช่วยให้ประเด็นที่กำลังพูดคุยชัดเจน หรือเจาะจงไปที่ปัญหานั้น



                              2) เทคนิคการตั้งคําถาม (Questioning) ที่ปรึกษาสามารถใช้คําถามเพื่อให้ได้ข้อมูลด้านต่าง ๆ เพิ่มเติม คําถามที่ดีจะเป็นคําถามปลายเปิดที่เป็นกลางช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาได้เข้าใจถึงปัญหาคําถามปลายปิดที่จะนําไปสู่คําตอบว่า "ใช่ - ไม่ใช่" "จริง - ไม่จริง"เป็นคําถามที่จะตัดการสนทนาหรือการบอกเล่าอย่างละเอียดจากผู้รับคำปรึกษา



                              3) เทคนิคการการซักถาม (Probing) เป็นการป้อนคําถามตรง ๆ หลาย ๆ คําถามติดต่อกันเพื่อดึงเอาคําตอบจากผู้รับคำปรึกษาวิธีการซักถามอาจใช้ได้ผลเมื่อผู้รับคำปรึกษาพยายามหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึงจุดสําคัญของปัญหาการใช่การซักถามจะทําให้ที่ปรึกษาได้คําตอบอย่างรวดเร็ว



                              4) เทคนิคการใช่ความเงียบ (Silence) การเงียบเพื่อคอยฟังคําตอบเป็นการกระตุ้นให้ผู้รับคำปรึกษา ต้องแสดงความคิดเห็นออกมา ที่ปรึกษาจะแสดงท่าทีของความสนใจและให้ผู้รับคำปรึกษาทราบว่าตั้งใจรอฟังเรื่องราวอยู่



                              5) เทคนิคการทบทวนประโยค (Paraphrasing) หมายถึงการพูดซ้ำประโยคที่ผู้รับคำปรึกษาพูดมาแต่ใช้ถ้อยคําน้อยลง แต่ยังคงความหมายเดิม เป็นการบอกให้ผู้รับคำปรึกษาเข้าใจถึงประเด็นสําคัญในเรื่องที่ตนกําลังพูดอยู่ และทราบว่า ที่ปรึกษาเข้าใจเรื่องราวที่ผู้รับคำปรึกษาพูดและยังคงติดตามรับฟังเรื่องราวของผู้รับคำปรึกษา



                              6) เทคนิคการสร้างความกระจ่าง (Clarification) เป็นเทคนิคที่ที่ปรึกษาพยายามสะท้อนความคิดของผู้รับคำปรึกษา โดยการใช้คําพูดของที่ปรึกษาทวนข้อความหรือข้อมูลที่ผู้รับคำปรึกษาให้ เพื่อตรวจสอบว่าสิ่งที่ที่ปรึกษาเข้าใจถูกต้องตรงกับผู้รับคำปรึกษาหรือไม่ การสรุปเรื่องราวหรือสิ่งที่สังเกตได้  อาจทําให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดความกระจ่างแจ้งและเข้าใจประเด็นปัญหาที่แท้จริงได้



                              7) เทคนิคการสะท้อนความรู้สึก (Reflection of Feeling) เป็นการนําเอาข้อความและคําพูดของผู้รับคำปรึกษา ตีความหมายและพูดออกมาในเชิงของความรู้สึกที่แฝงอยู่ในเนื้อหานั้นจะช่วยผู้รับคำปรึกษาได้รับรู้และเข้าใจถึงความรู้สึกที่แท้จริงของตนเอง จะทำให้การให้คําปรึกษาดําเนินไปอย่างราบรื่นและตรงเป้าหมาย



                              8) เทคนิคการสรุป (Summarizing) ในระหว่างการให้คําปรึกษา อาจสนทนากันหลายเรื่องพร้อม ๆ กัน และอาจเกิดความสับสน ที่ปรึกษาต้องพยายามรวบรวมสิ่งที่พูดกันให้เป็นประโยคเดียว โดยครอบคลุมเนื้อเรื่องต่าง ๆ ที่ได้สนทนามาแต่ละตอนของการสนทนา การสรุปจะช่วยให้คู่สนทนาเข้าใจเรื่องราวที่กําลังสนทนากันได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาได้สํารวจความคิดหรือความรู้สึกของตนเอง หรือนําไปสู่การสนทนาในเรื่องอื่นต่อไป



                              9) เทคนิคการตีความ (Interpreting) เป็นกระบวนการที่ที่ปรึกษาอธิบายความหมายของเหตุการณ์ให้ผู้รับคำปรึกษาได้เข้าใจปัญหาในด้านอื่นที่อาจยังไม่ได้มองมาก่อน ที่ปรึกษาเสนอกรอบแนวคิด (Frame of Reference) ใหม่  ให้ผู้รับคำปรึกษาได้พิจารณาปัญหาของตนเองจะช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาเข้าใจถึงปัญหาของตนเองได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น



                              10) เทคนิคการชี้แนะ (Suggesting) เป็นเทคนิคในการเสนอความคิด หรือวิธีการแก้ไขปัญหาแบบอ้อม ๆ เพื่อจูงใจให้ผู้รับคำปรึกษาคิดแก้ไขปัญหา หรือรับเอาวิธีนั้นไว้ใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป



                              11) เทคนิคการแสดงความเห็นชอบ (Approval) เป็นกลวิธีหนึ่งที่จะให้กําลังใจแก้ผู้รับคำปรึกษาที่จะดําเนินวิธีการแก้ไขปัญหาต่อไป ที่ปรึกษาสามารถใช้คําพูด หรือกิริยาท่าทางที่จะแสดงใหผู้รับคำปรึกษาได้รับรู้ว่าที่ปรึกษาเห็นชอบด้วยกับวิธีการของผู้รับคำปรึกษา



                              12) เทคนิคการให้ความมั่นใจ ( Assurance) เมื่อผู้รับคำปรึกษาแสดงทัศนะหรือโครงการต่อที่ปรึกษาและที่ปรึกษามั่นใจว่าทัศนะ หรือโครงการนั้นถูกต้อง และได้ผลดีจริง ที่ปรึกษาจะแสดงออกเพื่อเป็นการให้ความมั่นใจแกผู้รับคำปรึกษา



                              13) เทคนิคการเผชิญหน้า (Confrontation) ที่ปรึกษาจะบอกถึงความรู้สึกและความคิดเห็นของตนเองต้อผู้รับคำปรึกษาอย่างตรงไปตรงมา



                              14) เทคนิคการท้าทาย (Challenge) เป็นเทคนิคหนึ่งที่จะกระตุ้นใหผู้รับคำปรึกษาต้องใช้ความตั้งใจมากขึ้นในการแก้ปัญหา



                              15) เทคนิคการแสดงการไม่ยอมรับ (Rejection) ที่ปรึกษาจะใช้เมื่อเห็นว่า ผู้รับคำปรึกษาแสดงความคิดเห็นที่ผิดไปจากความเป็นจริง หรือแสดงออกถึงความคิดที่เพ้อฝันมากเกินไป ที่ปรึกษาจะแสดงการไม่ยอมรับเพื่อดึงให้ผู้รับคำปรึกษาเปลี่ยนแปลงแนวความคิดใหม่



               (ข3) ข้อมูลที่วิเคราะห์ เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหา การใช้เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม เงื่อนไข ปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อหาสาเหตุและกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับผู้ใช้เทคโนโลยีซึ่งมีความหลากหลายและซับซ้อนของปัญหาที่แตกต่างกัน



               (ข4) สถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ หมายถึง สถานการณ์ที่ปัญหาเกิดเฉพาะหน้าในระหว่างการให้คำแนะนำปรึกษา การแก้ไขปัญหาตามแผนในพื้นที่จริงซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยไม่คาดคิดหรือไม่ทราบล่วงหน้ามาก่อนการติดตามประเมินผล เป็นการติดตามผลการให้คำแนะนำ ปรึกษา การแก้ไขปัญหาแก่ผู้ใช้เทคโนโลยีและหรือผู้ที่ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านความเข้าใจและผลของการนำสู่การปฏิบัติ



               (ข5) ทักษะการให้คำปรึกษา คือ ความสามารถหรือความชำนาญในการสื่อสารทั้งการใช้ภาษาท่าทางและภาษาพูดซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ให้คำปรึกษาในการช่วยเหลือ ให้คำแนะนำและแก้ไขปัญหาการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรม แก่ผู้รับคำปรึกษาให้มีความไว้วางใจมีทัศนคติที่ดีต่อผู้ให้คำปรึกษาและการปรึกษา



                      ทักษะการให้คำปรึกษาเป็นทักษะพื้นฐานเบื้องต้นในการสื่อสารจะประกอบด้วยทักษะ ดังต่อไปนี้



                              1) ทักษะการใส่ใจ (Attending Skill)มีการแสดงความกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือแสดงความสนใจ เห็นความสำคัญ และให้เกียรติผู้รับคำปรึกษา โดยใช้ภาษาพูดที่ต่อเนื่อง และเป็นเรื่องเดียวกันกับที่ผู้รับคำปรึกษาได้พูดให้ฟังในขณะนั้นแสดงการรับรู้และเข้าใจในทัศนะและแนวคิดของผู้รับคำปรึกษา แสดงท่าทางที่สื่อถึงความเข้าใจและยอมรับความคิดและความรู้สึกของผู้รับคำปรึกษา



                              2) ทักษะการนำ (Leading Skill)เป็นการที่ผู้ให้คำปรึกษาพูดนำผู้รับคำปรึกษาไปในทิศทางที่ผู้ให้คำปรึกษาคิดว่าจะทำให้ผู้รับคำปรึกษาได้ประโยชน์สูงสุดในการมาขอรับคำปรึกษาเปิดประเด็นปัญหาของผู้รับคำปรึกษา ใช้คำถามเพื่อให้ผู้รับคำปรึกษาแสดงความคิดเห็น หรือรายละเอียด



                              3) ทักษะการถาม (Question Skill)โดยใช้คำถามแบบเปิด เพื่อเปิดโอกาสผู้รับคำปรึกษาได้บอกถึงเรื่องราวต่าง ๆ ที่ต้องการจะปรึกษาอย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้ข้อมูล และแนวทางการแก้ปัญหา มีการสังเกตและฟังอย่างตั้งใจ สรุป/ทวนซ้ำประเด็นที่ต้องการข้อมูลและรายละเอียดตั้งคำถามรวบรวมข้อมูลของผู้รับคำปรึกษาไว้



                              4) ทักษะการสะท้อนกลับ (Reflection Skill)เป็นการบอกความเข้าใจของผู้ให้คำปรึกษาที่มีต่อสิ่งที่ผู้รับคำปรึกษารับรู้หรือสนใจที่เป็นปัจจุบันขณะให้คำปรึกษาสังเกตกริยาท่าทางของผู้รับคำปรึกษาและเนื้อหาที่ผู้รับคำปรึกษาให้ความสำคัญมีการใช้คำพูดที่ชัดเจนเข้าใจได้ง่ายสะท้อนสิ่งที่ผู้รับคำปรึกษากำลังรู้สึกหรือรับรู้



                              5) ทักษะการซ้ำความ หรือการทวนความ (Paraphrasing Skill)เป็นการที่ผู้ให้คำปรึกษาพูดซ้ำทวนซ้ำในเรื่องที่ผู้รับคำปรึกษาได้พูดไปแล้วโดยคงสาระสำคัญของเนื้อหาหรือความรู้สึกไว้ตามเดิมแต่ใช้คำพูดน้อยลงเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน



                              6) ทักษะการให้กำลังใจ เป็นการแสดงความสนใจเข้าใจในสิ่งที่ผู้รับคำปรึกษาพูดและสนับสนุนให้เขาพูดต่อไปโดยทวนซ้ำคำสำคัญ ๆ ใช้คำพูดกระตุ้นให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดความมั่นใจมีกำลังใจที่จะคิดหรือดำเนินการต่อไป



                              7) ทักษะการสรุปความ (Summarizing Skill) เป็นการรวบรวมใจความสำคัญทั้งหมดของความคิด ความรู้สึกของผู้รับคำปรึกษาที่เกิดขึ้นในระหว่างให้คำปรึกษาโดยใช้คำพูดสั้น ๆ ให้ได้ใจความสำคัญทั้งหมดย้ำประเด็นสำคัญให้มีความชัดเจนช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาเข้าใจเรื่องราวที่กำลังสนทนาได้อย่างถูกต้องตรงกันและได้ใจความที่ชัดเจนเสริมในส่วนสำคัญที่ผู้รับคำปรึกษามิได้กล่าวถึง หรือขาดหายไป



                              8) ทักษะการให้ข้อมูล (Giving Information Skill) เป็นการสื่อสารทางวาจาเกี่ยวกับข้อมูลหรือรายละเอียดต่าง ๆ ที่จำเป็นชี้แนะแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหา ให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ แก่ผู้รับคำปรึกษา ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องตรวจสอบความรู้และความต้องการเกี่ยวกับเรื่องที่จะให้ข้อมูลจากผู้รับคำปรึกษาก่อนให้ข้อมูล และควรตรวจสอบว่าข้อมูลที่ให้นั้น ผู้รับคำปรึกษาเข้าใจถูกต้องหรือไม่



                              9) ทักษะการให้คำแนะนำ (Advising Skill) เป็นการชี้แนะแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้รับคำปรึกษา จะต้องให้คำแนะนำเมื่อพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่าเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นสำหรับผู้รับคำปรึกษา ควรให้โอกาสผู้รับคำปรึกษาพิจารณาว่าวิธีปฏิบัตินั้นเป็นที่พอใจ เหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้หรือไม่หรือถามความคิดเห็นที่มีต่อคำแนะนำนั้นผู้ให้คำปรึกษาต้องตระหนักว่าผู้รับคำปรึกษาจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติเอง



                              10) ทักษะการชี้ผลที่ตามมา (Pointing Outcome Skill) เป็นการชี้ให้ผู้รับคำปรึกษาได้เห็นผลที่อาจตามมาจากการคิด การตัดสินใจ การวางแผนและการปฏิบัติทั้งข้อดีและประโยชน์ที่จะได้รับเป็นการสนับสนุนให้ผู้รับคำปรึกษากล้าตัดสินใจหรือปฏิบัติตาม และข้อเสียที่อาจจะเกิดขึ้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          18.1 เครื่องมือประเมินการวางแผนให้คำปรึกษา แนะนำเทคโนโลยี และนวัตกรรรมการเกษตร



                  1) การสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



                  2) การสัมภาษณ์



                  3) แฟ้มสะสมผลงาน ประกอบด้วยหลักฐานจากผลงานเชิงประจักษ์ ได้แก่



                      - คู่มือ หรือเอกสารการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร



          18.2 เครื่องมือประเมินการดำเนินการให้คำปรึกษา แนะนำเทคโนโลยี และนวัตกรรรมการเกษตร



                  1) การสัมภาษณ์



                  2) แฟ้มสะสมผลงาน ประกอบด้วยหลักฐานจากผลงานเชิงประจักษ์ ได้แก่



                      - รายงานผลการติดตาม และประเมินการผลการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร



                      - รายงานผลการรวบรวมปัญหา และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร



ยินดีต้อนรับ